8 วิธียักยอกเงินบริษัทที่พบเห็นได้บ่อย อาศัยช่องโหว่ หวังรวยทางลัด!

Home » 8 วิธียักยอกเงินบริษัทที่พบเห็นได้บ่อย อาศัยช่องโหว่ หวังรวยทางลัด!
วิธียักยอกเงินบริษัท-min

กลโกงหวังรวยทางลัด! เปิด วิธียักยอกเงินบริษัทที่พบได้บ่อย ตัวอย่างของการฉ้อโกงอย่างแนบเนียนในบริษัท

ณ ปัจจุบันนี้เราจะพบเห็นข่าวการโกงเงิน หรือยักยอกเงินบริษัทจนมีเงินมหาศาล วันนี้ ลงทุนแมน ได้สรุปวิธีที่ ผู้บริหารบริษัท ใช้ยักยอกเงินออกไปจากบริษัทตัวเอง โดยผู้บริหารหรือผู้ที่มีอำนาจสั่งการในบริษัท อาจใช้ช่องทางต่าง ๆ ในการยักยอกเงินจากบริษัทที่ตนเองทำงานให้ โดยวิธีที่พบได้บ่อย ลงทุนแมน มีเสนอมา 8 วิธีด้วยกัน

  • ไขข้อสงสัย! คนเราอดอาหารได้มากที่สุดกี่วัน?
  • เช็กให้ชัวร์! รถดับกลางน้ำท่วมทำยังไงดี? พร้อมเทคนิคขับรถลุยน้ำไม่ให้เครื่องพัง
  • จีนขยายอำนาจ ตำรวจความมั่นคงสแกนมือถือ-แล็ปท็อป คุ้มเข้ม “ความมั่นคงของชาติ”

วิธียักยอกเงินบริษัทที่พบได้บ่อย

1. การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัวจากบริษัท เช่น ค่ารถส่วนตัว ค่าที่พักอาศัย ค่าอาหารการกินเลี้ยง โดยที่ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง หรือเบิกค่าใช้จ่ายเกินจริง

2. การสร้างรายการค่าใช้จ่ายหรือหนี้สินเท็จ แล้วยักยอกเงินออกจากบริษัท เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์หรือเครื่องจักร ค่าจัดซื้อวัตถุดิบ โดยที่ไม่มีการดำเนินการ หรือการส่งมอบวัตถุดิบจริง ๆ

3. การสร้างรายได้ปลอมของบริษัท เช่น ยอดขายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ลูกค้าหนี้การค้าปลอมเพื่อให้ผลประกอบการดูดีเกินจริง แล้วจ่ายผลตอบแทนแก่ตนเอง ในรูปแบบโบนัส เป็นต้น

4. การรับสินบนหรือค่านายหน้าพิเศษ ทั้งในรูปแบบเงินหรือสินทรัพย์ ตลอดจนผลประโยชน์อื่น ๆ จากคู่ค้าของบริษัท และใช้อำนาจของตน ในการเอื้อประโยชน์ให้แก่คู่ค้าดังกล่าว

5. การทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ภายในบริษัท เช่น ให้ข้อมูลการประมูลล่วงหน้า การล็อกสเป็ก และการรับสินบนจากผู้ประมูล

6. การขายทรัพย์สินของบริษัท ให้แก่บริษัทของตนเอง หรือพวกพ้อง ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก หรือแม้แต่โอนให้ฟรี ๆ

7. การจัดตั้งบริษัทลูก หรือบริษัทของตนขึ้น เพื่อรับเงินจากบริษัทแม่ โดยอาจเป็นการรับงานจากบริษัทแม่ หรือขายสินค้า-ทรัพย์สินแก่บริษัทแม่ ในราคาที่สูงเกินจริง เพื่อพร่องเงินออกจากบริษัทแม่

8. การใช้อำนาจหน้าที่ ในการสั่งการหรืออนุมัติให้บริษัท จ่ายเงิน ไปจนถึงการปล่อยกู้เงิน ไปยังบริษัทหรือบุคคลอื่นโดยไม่สมเหตุสมผล

เช่น ปล่อยกู้แก่บริษัทส่วนตัวของผู้บริหาร หรือญาติของผู้บริหาร ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ต่ำมาก ๆ หรือไม่คิดดอกเบี้ยเลย..

โดยวิธีการเหล่านี้ เป็นตัวอย่างของการฉ้อโกง ที่ล้วนเกิดจากการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบของผู้บริหาร ซึ่งมักกลายมาเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทล้มได้ แม้จะใหญ่แค่ไหนก็ตาม..

ที่สำคัญ ยังถือเป็นการกระทำที่ผิดทั้งในแง่ของจรรยาบรรณ และสุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายด้วย โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็มีตัวอย่างของการกระทำเหล่านี้ ออกมาให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ

ซึ่งนักลงทุนก็ควรจะระมัดระวังการลงทุนในบริษัทที่มีผู้บริหาร เหลี่ยมหรือไม่ซื่อสัตย์เช่นนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินลงทุนของเรา ต้องสูญหายไปอย่างน่าเจ็บใจ

ยักยอกเงินบริษัท

ที่มา ลงทุนแมน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ