นอกจากอาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกายแล้ว ยังมีอาหารบางชนิดที่ควรงดหรือลดการบริโภคลง เพราะอาจเข้าไปลดประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรคได้ด้วย โดยทางเว็บไซต์ Times of India รวบรวม 5 อาหารควรเลี่ยง เสี่ยงภูมิคุ้มกันโรคลดลง เอาไว้ ดังนี้
- น้ำตาล (ที่เติมเพิ่มเข้าไปเอง)
ลองพยายามจำกัดปริมาณน้ำตาลจากการที่เริ่มเพิ่มเติมลงไปในอาหารด้วยตนเองให้น้อยลง เพราะอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นได้ และยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดการอักเสบของโปรตีน ส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรคแย่ลง
นอกจากนี้ ระดับน้ำตาลในโลหิตที่สูงขึ้น ยังอาจทำร้ายจุลินทรีย์ในลําไส้ ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะไม่สมดุล ซึ่งส่งผลต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันและทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงติดเชื้อได้มากขึ้นด้วย
- เกลือ
เกลือที่อยู่ในอาหาร และขนมกรุบกรอบต่างๆ รวมถึงอาหารแช่แข็ง และเบเกอรี่ต่างๆ สามารถเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเองได้
เกลือยังเข้าไปยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการตอบสนองต่อการอักเสบและเปลี่ยนแปลงแบคทีเรียในลำไส้ ดังนั้นจึงควรจำกัดปริมาณในการรับประทานเกลือในแต่ละวันให้เหมาะสม
- อาหารทอด
อาหารทอดมีกลุ่มโมเลกุลที่เรียกว่า advanced glycation end products (AGEs) หรือ สารที่ทำให้เกิดการแก่อยู่สูง เกิดจากน้ำตาลมีปฏิกิริยากับโปรตีนหรือไขมันระหว่างมีการปรุงผ่านความร้อน เช่น การทอด
การมีสาร AGEs สูง ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และทำให้เซลล์เสียหาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคทำงานได้แย่ลง ทั้งการเกิดการอักเสบ ทำลายกลไกการต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย และส่งผลเสียต่อจุลินทรีย์ดีในลำไส้
ลองลดการบริโภคของทอดอย่างเฟรนช์ฟรายด์ มันฝรั่งทอด ไก่ทอด เนื้อทอดกระทะ เบคอนทอด ปลาทอด และของทอดอื่นๆ เพื่อลดสาร AGEs ในร่างกายให้น้อยลง
- เครื่องคาเฟอีนสูง
สารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่สูงในกาแฟ และชา ทำให้ร่างกายตื่นตัว แต่การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงมากเกินไปอาจรบกวนการนอนหลับ ซึ่งอาจเพิ่มการตอบสนองต่อการอักเสบ และภูมิคุ้มกันลดลง
หากอยากดื่มกาแฟและชาแต่ไม่อยากรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่ไม่มีสารอาหารที่ประโยชน์ต่อร่างกายใดๆ มีแต่น้ำตาลและสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ และไม่ดื่มชาและกาแฟก่อนเข้านอน 6 ชั่วโมง เพื่อให้เหลือปริมาณคาเฟอีนในร่างกายที่อาจทำให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืนได้
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จากการศึกษาหลายชิ้นพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เกินกว่าค่าเฉลี่ยที่สมควรดื่มในแต่ละคน (ผู้หญิงดื่มได้วันละแก้ว ผู้ชายดื่มได้วันละสองแก้ว) และยังอาจส่งผลต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความไวต่อการเจ็บป่วย เช่น โรคปอดบวม และปัญหาทางเดินหายใจอื่นๆ ได้อีกด้วย
นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณอาหารที่ลดประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรคแล้ว ยังควรออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย ถึงจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างขยันขันแข็งจริงๆ