5 พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ที่อันตรายพอๆ กับการ "สูบบุหรี่"

Home » 5 พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ที่อันตรายพอๆ กับการ "สูบบุหรี่"
5 พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ที่อันตรายพอๆ กับการ "สูบบุหรี่"

อินเดียเป็นประเทศที่มีผู้สูบบุหรี่มากกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลก ในทุกๆ ปี อินเดียเพียงประเทศเดียว มีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่มากถึง 10 ล้านคน ทั้งๆ ที่รู้ว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็ยังพบว่ามีผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ที่เริ่มต้นสูบบุหรี่เป็นเด็กที่อายุต่ำลงเรื่อยๆ และในท้ายที่สุด ก็คงไม่พ้นจุดจบแบบเดียวกัน คือ เผชิญกับปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่

สถานการณ์การสูบบุหรี่ของคนไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทย ในปี 2560 พบว่ามีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 55.9 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่มากถึง 10.7 ล้านคน คิดเป็น 19.1 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด โดยแยกเป็นผู้ที่สูบเป็นประจำจำนวน 9.4 ล้านคน คิดเป็น 16.8 เปอร์เซ็นต์ และเป็นผู้ที่สูบนานๆ ครั้งจำนวน 1.3 ล้านคน คิดเป็น 2.3 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ร่วมกับ “สวนดุสิตโพล” ได้สำรวจ “พฤติกรรมการบริโภคยาสูบของกลุ่มผู้ใช้แรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19” ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้แรงงานนอกระบบ/ในระบบ จำนวน 1,120 ตัวอย่าง เช่น มอเตอร์ไซด์รับจ้าง แท็กซี่ งานบ้าน เกษตร ประมง โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม ห้างร้าน พบว่าสูบบุหรี่กันน้อยลง เนื่องจากรายได้ลดลงสูงถึง 49.12 เปอร์เซ็นต์!

แต่… คนที่ไม่สูบบุหรี่ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจไปว่าตนเองจะปลอดภัย ถึงคุณจะไม่สูบบุหรี่ แต่มีนิสัยหรือพฤติกรรมแย่ๆ ที่อันตรายต่อสุขภาพของคุณได้พอๆ กับการสูบบุหรี่เลยทีเดียว และคนทั่วไปก็มันจะคาดไม่ถึงว่าพฤติกรรมแย่ๆ ดังกล่าวจะทำลายสุขภาพเราได้มากขนาดนี้ Neha Mittal ผู้ร่วมก่อตั้ง OneAbove Health Care ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาเครื่องมือแพทย์คุณภาพสูงราคาย่อมเยา ได้แบ่งปันข้อมูลพฤติกรรมแย่ๆ 5 ข้อที่ทำลายสุขภาพได้มากพอๆ กับการสูบบุหรี่ ดังนี้

  1. ความเหงา

เมื่อความเหงาฆ่าคนได้ไม่ใช่คำพูดเกินจริง มีการวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่าความเหงาเรื้อรังสามารถส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ โดยผลกระทบที่สำคัญจะเกิดกับสมองมากกว่า นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างความเหงาและโรคทางสมอง เช่น ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ ในอินเดีย มีผู้สูงอายุราวๆ 22 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่คนเดียว ในขณะเดียวกัน เด็กๆ ที่ถูกละเลย ขาดการดูแลเอาใจใส่ ก็ส่งผลให้มีภาวะความเหงาเรื้อรังเช่นกัน

สำหรับประเทศไทย พบว่าสถิติผู้สูงอายุที่ต้องใช้ชีวิตคนเดียวตามลำพังนั้นมีมากขึ้น ด้วยปัจจัยอัตราการสูงวัยของประชากรไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ (มส.ผส.) รายงานว่าในปี 2563 ประเทศไทยมีประชากรรวม 66.5 ล้านคน ครัวเรือนที่ผู้สูงอายุอยู่ลำพังคนเดียวมีสูงถึง 1.3 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 6 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ดี ประชากรสูงอายุของประเทศไทยก็ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เมื่อ 50 ปีก่อน ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีจำนวนไม่ถึง 2 ล้านคน แต่ในปี 2563 ผู้สูงอายุได้เพิ่มจำนวนเป็น 12 ล้านคน คิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทำให้ในปี 2565 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และในปี 2576 สัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปของไทยจะมีมากถึง 28 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือเป็นในสังคมสูงวัยระดับสุดยอด และคาดว่าผู้สูงอายุที่ต้องอยู่ตามลำพังคนเดียวก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย

  1. กินอาหารไม่มีประโยชน์

เราทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่าการกินอาหารเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น ถึงกระนั้นหลายคนก็ไม่ได้กินอาหารที่ดีต่อร่างกายทุกวัน และบางคนก็สนใจด้วยซ้ำ โดยเลือกกินอาหารตามใจชอบแทน ทั้งที่รู้ว่าเป็นโทษต่อร่างกายแต่ก็ชอบกิน หลายคนเลือกกินอาหารแปรรูป อาหารขยะ และอาหารที่มีเกลือและน้ำตาลสูง ไม่เพียงเท่านั้น ยังกินผักและผลไม้อีกต่างหาก เป็นสาเหตุของโรคพื้นฐานหลายโรค อย่างโรคอ้วน โรคเบาหวาน และอื่นๆ

ในอินเดีย พบว่าผู้คนบริโภคซีเรียลมากขึ้น อีกทั้งยังกินโปรตีน ผลไม้ และผักในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนในผู้ชายและผู้หญิงมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมือง สำหรับประเทศไทย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรค NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) ปีละกว่า 3.2 แสนคน โดยเสียชีวิตจากมะเร็งทุกชนิดมากที่สุด ตามมาด้วยหลอดเลือดสมอง ปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด และเบาหวาน ตามลำดับ

ข้อมูลพฤติกรรมการกินของคนไทย พบว่าเมนูยอดนิยมบนโลกออนไลน์ ระหว่างกรกฎาคม 2562 – มิถุนายน 2563 อาหารที่คนไทยกล่าวถึงมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอาหารรสจัด แถมยังกินผัก ผลไม้กันน้อยด้วย และนี่เป็นปัจจัยหนึ่งของปัญหาสุขภาพต่างๆ

  1. เฉื่อยชา ขี้เกียจ ไม่กระตือรือร้น

ในปัจจุบัน พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่นั่งหน้าจอเป็นเวลานานหลายชั่วโมง การศึกษาจาก Regensburg University ในเยอรมนี ซึ่งศึกษาในปี 2014 แสดงให้เห็นว่าคนที่นั่งหน้าจอนานๆ ทุก 2 ชั่วโมงจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ 8 เปอร์เซ็นต์ และโอกาสของที่จะเกิดโรคมะเร็งปอด 6 เปอร์เซ็นต์ โดยที่คนกลุ่มนี้ก็ไม่คิดที่จะทำกิจกรรมทางกายภาพอื่นๆ ในระหว่างวันด้วย

ส่วนในประเทศไทย ข้อมูลจาก Thaihealth Watch ร่วมกับสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ รวบรวม
สถิติสถานการณ์สุขภาพคนไทย 10 ปีย้อนหลัง ระหว่างปี พ.ศ.2553-2562 พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ คนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น 2.4 เท่า และคนในเขตเมืองมีแนวโน้มเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ ซึ่งเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือ NCDs ประเภทหนึ่ง สูงขึ้นมากกว่าคนนอกเขตเมือง อันเนื่องมาจากพฤติกรรมนั่งนานและขาดการออกกำลังกาย

  1. อดนอน

การนั่งหน้าจอเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ส่งผลต่อการนอนหลับได้เช่นกัน แสงสีน้ำเงินจากหน้าจอ สัมพันธ์เชื่อมโยงกับปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับดวงตา เช่น ตาล้า ตาพร่ามัว หรือแม้แต่ต้อกระจก ผู้ใหญ่ในอินเดียเกือบ 33 เปอร์เซ็นต์ประสบปัญหาการนอนไม่หลับ อย่างไรก็ดี ปัญหาที่ใหญ่กว่าคือพวกเขากลับคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ

ส่วนคนไทย สถิติพบว่าประชากรราวๆ 30-40 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 19 ล้านคนของคนไทยเป็นโรคนอนไม่หลับ แม้จะรู้สึกง่วงสุดๆ ก็ตาม คนส่วนมากจะมีอาการนอนไม่หลับ 1 หรือ 2 คืน แต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี โดยโรคนอนไม่หลับมักพบในผู้หญิงและผู้สูงอายุ และการที่คนเรานอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ยังเสี่ยงตายเร็วอีกด้วย

  1. ทัศนคติในด้านลบ

การมองโลกในแง่ร้าย หรือมีทัศนคติต่อเรื่องต่างๆ ในด้านลบอยู่เสมอสามารถทำลายชีวิตคนเราได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็รู้ดีว่าพฤติกรรมแบบนี้ไม่ได้ดีต่อสุขภาพจิตเลยแม้แต่น้อย แต่ก็ยังเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยมาก แล้วมันก็เกิดขึ้นเพราะความคิดของตัวเราเอง สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า รวมถึงความเครียดที่ไม่พึงประสงค์ และนำมาซึ่งโรคทางกายอื่นๆ อีกหลายโรค ที่เกิดจากความเครียด

กรมสุขภาพจิตเผยผลสำรวจสุขภาพจิตของคนไทย พบว่าคนไทยมีปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภาวะโรคระบาดเช่นนี้ มีความเครียด อาการซึมเศร้า และความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง

ทั้งหมดนี้คือพฤติกรรมหรือนิสัยที่ทำลายสุขภาพ ซึ่งอันตรายพอๆ กับการสูบบุหรี่เลยทีเดียว ฉะนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว ก็จะมีผลต่อสุขภาพไปในทิศทางที่ดีขึ้น พยายามมองโลกในแง่ดีเพิ่มขึ้นขึ้น สร้างทัศนคติเชิงบวก นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ ใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างสมดุล และพยายามหาวิธีให้ตัวเองมีความสุข คุณจะพบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นทั้งสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ รวมถึงจิตวิญญาณของคุณเอง หากคุณลด ละ เลิก พฤติกรรมแย่ๆ เหล่านี้ได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ