25 ปีที่ทรมาณ ‘ช้างไทย’ กระดูกสันหลังผิดรูป หลังแบกนักท่องเที่ยวชมเมือง

Home » 25 ปีที่ทรมาณ ‘ช้างไทย’ กระดูกสันหลังผิดรูป หลังแบกนักท่องเที่ยวชมเมือง
-ช้างไทย

25 ปีที่ทรมาณ ‘ช้างไทย‘ พลายหลิน-พังบุญช่วย กระดูกสันหลังผิดรูป เพราะทำงานอย่างหนัก ต้องแบกนักท่องเที่ยวชมเมือง

กลายเป็นไวรัลที่ถูกแชร์ไปทั่วโลก สร้างความสะเทือนใจให้แก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างมาก เมื่อ มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า หรือ (Wildlife Friends Foundation Thailand หรือ WFFT) ได้ออกมาเปิดภาพของของป่า 2 ตัว ที่ทางมูลนิธิช่วยเหลือไว้ โดยในภาพจะแสดงให้เห็นการเปรียบเทียบของช้างไทย ที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดนใช้งานเป็นพาหนะให้นักท่องเที่ยวขี่หลัง จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างน่าตกใจ โดยทางมูลนิธิระบุว่า

พลายหลิน

พลายหลิน เป็นช้างไทยที่ถูกใช้งานให้นักท่องเที่ยวขี่มานานถึง 25 ปี แม้ว่าในแต่ละครั้งจะมีข้อจำกัดให้บรรทุกนักท่องเที่ยวได้ไม่เกิน 6 คน แต่ผลจากการถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานเช่นนี้ ทำให้มันอยู่ในภาวะ “กระดูกสันหลังผิดรูป” ก่อนที่จะได้รับการช่วยเหลือมาอยู่ที่มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า

พลายหลิน-2
พลายหลิน
ภาพจาก มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า

จากภาพของ พลายหลิน จะแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า กระดูกสันหลังยุบลงและจมลงไป ซึ่งโดยปกติแล้วกระดูกสันหลังของช้างจะโค้งมนและยกขึ้นสวยงาม นอกจากนี้พลายหลินยังมีรอยแผลเป็นที่เกิดจากการถูกกดทับซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ด้วยเหตุเพราะภาระความหนักอึ้งที่มันต้องแบกรับตลอดช่วงชีวิตการทำงานที่ผ่านมา และเมื่อลองเปรียบเทียบกับภาพของทุ่งเงิน ช้างตัวอื่นที่ได้รับการช่วยเหลือมาอยู่ที่มูลนิธิ จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน

พลายหลิน-vs-ทุ่งเงิน-1
พลายหลิน – ทุ่งเงิน
ภาพจาก มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า

บุญช่วย

ไม่ใช่แค่พลายหลิน บุญช่วย ก็เป็นช้างไทยอีกตัวที่ทางมูลนิธิช่วยเหลือมา จากภาพจะเห็นว่า กระดูกสันหลังของมันก็ได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน ภายหลังจากโดนใช้งานขี่หลังมาเป็นสิบ ๆ ปี ต้องแบกรับน้ำหนักทั้งจากควาญช้าง และกลุ่มนักท่องเที่ยว รวมทั้งม้านั่งหนัก ๆ กลายเป็นแรงกดทับอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแค่เนื้อเยื่อและกระดูกเสื่อม แต่กระดูกสันหลังยังได้รับความเสียหายอย่างถาวร

บุญช่วย-2
บุญช่วย
ภาพจาก มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า

ทอม เทย์เลอร์ ผู้อำนวยการโครงการของมูลนิธิเพื่อสัตว์ป่า ได้กล่าวว่า “แม้จะรู้ดีว่า ช้างจะเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และมีพละกำลังแข็งแกร่ง แต่โดยธรรมชาติ หลังของพวกมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนัก เนื่องจากกระดูกสันหลังของพวกมันยืดสูงขึ้น การกดทับกระดูกสันหลังอย่างต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยว อาจส่งผลให้ร่างกายของพวกมันเสียหายอย่างถาวร ดังที่พลายหลินได้ประสบ” 

ข้อมูลจาก มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า (Wildlife Friends Foundation Thailand หรือ WFFT)

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ