อาหารรสจัด เป็นที่นิยมของคนไทยมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ยิ่งเผ็ดก็ยิ่งอร่อย พริก จึงกลายเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ขาดไปไม่ได้เลย เพราะถ้าไม่มีพริก ก็คงจะปรุงอาหารให้จัดจ้านถึงใจกันไม่ได้แน่ๆ แต่รู้มั้ยว่า พริกไม่ได้มีดีแค่ความแซ่บนะ แต่ยังดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย
พริกมาจากไหน?
พริกถูกค้นพบครั้งแรกที่อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ตั้งแต่เมื่อราว 7,000 ปีก่อน โดย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส หลังจากนั้นได้มีการนำพริกมาปลูก และเผยแพร่ไปทั่วยุโรป ก่อนจะแผ่ขยายไปทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยของเรานั้น ก็รู้จักและคุ้นเคยกับการปลูกพริกมานานแล้ว
สายพันธุ์ของพริกในประเทศไทย มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 831 สายพันธุ์ และสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ และพริกขี้หนูเม็ดเล็ก
คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของพริก ก็คงไม่พ้นเรื่องความเผ็ด เนื่องจากในพริกมีสารแคปไซซิน (Capsicin) ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดร้อน โดยสารชนิดนี้จะกระจายอยู่ในทุกส่วนของพริก ส่วนที่เผ็ดที่สุดก็คือ รกหรือไส้ของพริก ในขณะที่เปลือก และเมล็ด ที่คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นส่วนที่เผ็ดที่สุด กลับมีสารนี้อยู่น้อยกว่ามาก
สารแคปไซซินนี้ นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ยังมีคุณสมบัติพิเศษตรงที่ สามารถทนความร้อนได้ดี ทำให้ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการทำให้สุก หรือตากแดดจนแห้ง ก็ยังคงความเผ็ดร้อนไว้ได้ดังเดิม
การวัดค่าความเผ็ดของพริก
หน่วยวัดความเผ็ดของพริก เดิมคือ สโควิลล์ (Scoville) โดยพริกขี้หนูสวนของไทยจะมีค่าอยู่ที่ 50,000-100,000 สโควิลล์ ในขณะที่พริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่า เป็นพริกเผ็ดที่สุดในโลก ซึ่งก็คือ พริกฮาบาเนโร วัดค่าได้ถึง 350,000 สโควิลล์ หรือมากกว่านั้น
20 ข้อดีของพริก ที่แซ่บซี๊ดดีต่อสุขภาพ
พริกอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ มากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี แมกนีเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และใยอาหาร เป็นต้น รู้มั้ยว่าพริก 100 กรัม จะมีวิตามินซีสูงถึง 144 มิลลิกรัมเลยทีเดียว จึงเรียกได้ว่า พริกเป็นแหล่งวิตามินชั้นดีเลยล่ะ
- บรรเทาความเจ็บปวดมีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพริก ให้อยู่ในรูปของครีม ขี้ผึ้ง หรือเจล ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ปวดเมื่อยตามตัว งูสวัด สารแคปไซซินในพริก จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ตามธรรมชาติ
- พริกมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยชะลอริ้วรอยก่อนวัย
- กระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมาด้วยสารแคปไซซินในพริก สามารถ ช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และมีความสุขขึ้น
- วิตามินซีในพริกช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกายได้
- ในพริกอุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินซี รวมถึงเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีสรรพคุณในการบำรุงและป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา
- ช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ
- ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
- ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นเมื่อเรากินพริก จะมีน้ำมูกน้ำตาไหลออกมา นั่นเป็นเพราะรสเผ็ด และสารก่อความร้อนในพริก จะช่วยลดปริมาณน้ำมูก และสิ่งกีดขวางในทางเดินระบบหายใจ ทำให้จมูกโล่ง ลดอาการคัดจมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น
- บรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ และช่วยขับเสมหะ
- วิตามินซีในพริกมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร และช่วยสร้างคอลลาเจน และยังมีเบต้าแคโรทีนในพริก สารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์ และช่วยทำลายเซลล์มะเร็งได้
- ควบคุมคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ให้คงที่และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดลดลง
- ลดน้ำตาลในเลือดพริกสามารถช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสได้ ทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดลง
- ลดความเสี่ยงโรคหัวใจพริกจะช่วยลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือด ทำให้เลือดไม่จับตัวเป็นก้อนจนอุดตันหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดและหัวใจ
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
- สารแคปไซซินในพริกช่วยยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือดได้ ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เบต้าแคโรทีนและวิตามินซียังช่วยเพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น ลดอาการหลอดเลือดอุดตันและหลอดเลือดตีบ
- ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนังเช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก งูสวัด เป็นต้น (ในด้านการแพทย์ ได้มีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพริกออกมาในรูปแบบครีมหรือเจล)
- ป้องกันโรคโลหิตจางในพริกมีธาตุเหล็กอยู่ไม่น้อย อีกทั้งยังมีทองแดง ที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี รวมถึงมีกรดโฟลิก ที่ช่วยเสริมให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแข็งแรง
- ช่วยให้เจริญอาหารพริกจะกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย และกระตุ้นปลายประสาทให้สมองส่วนกลางรับรู้ความอยากอาหาร
- ช่วยลดน้ำหนักสาร thermogenic ซึ่งเป็นสารก่อความร้อนในร่างกายที่อยู่ในพริก ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญได้ดี นอกจากนี้ กรดแอสคอร์บิก ยังช่วยเร่งให้ร่างกายเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานได้ จึงทำให้เราลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น
เผลอกินเผ็ดเกินไป อยากแก้เผ็ดควรทำยังไงดี?
หากต้องการลดความเผ็ดร้อนของพริกที่กินเข้าไปแล้วละก็ ควรเลือกกินอาหารที่มีไขมัน หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ เพราะการดื่มน้ำเปล่านั้น จะช่วยเพียงบรรเทาอาการแสบร้อนให้ลดลง แต่ความเผ็ดยังคงอยู่เหมือนเดิม