12 มีนาคม 2567 วันแรกของเดือนรอมฎอน – ถือศีลอด

Home » 12 มีนาคม 2567 วันแรกของเดือนรอมฎอน – ถือศีลอด
เดือนรอมฎอน 10 มีนาคม 2567-min (1)

เข้าสู่ช่วง ถือศีลอด ของชาวมุสลิม สำนักจุฬาราชมนตรี ประกาศให้วันที่ 12 มีนาคม 2567 เป็นวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ตามปฏิทินฮิจเราะญ์ ศักราช 1455

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักจุฬาราชมนตรี ได้ประกาศให้วันที่ 12 มีนาคม 2567 เป็น วันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1445 โดยได้ระบุข้อความดังต่อไปนี้

ตามที่ได้ประกาศให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1445 ในวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2567 เวลาหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้านั้น ปรากฏว่า ในวันและเวลาดังกล่าว ไม่มีผู้พบเห็นดวงจันทร์

จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า วันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1445 ตรงกับวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567

ลงนามโดยนายอรุณ บุญชม (มูฮัมหมัดญาลาลุดดีน บิน ฮูเซ็น) จุฬาราชมนตรี

  • 6 พิกัด ไหว้ขอความรัก 2567 ใกล้ BTS , MRT เดินทางง่ายสะดวกสบาย ลุยเลย!
  • “ยุค 9” 20 ปีต่อจากนี้ จะเกิดความเปลี่ยนแปลง – การปฏิวัติ
  • “ลูบแล้วรวย!” เคล็ดลับมหามงคล นำเงินเข้ากระเป๋าสตางค์ มีใช้ไม่ขาดมือตลอดยุค 9

และสำหรับใครที่ยังมีข้อสงสัยว่า “เดือนรอมฎอนคืออะไร” มีความสำคัญเกี่ยวข้องอย่างไรกับศาสนาอิสลาม และมีข้อปฏิบัติตนอย่างไรบ้างในช่วงถือศีลอด เพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้นเราไปดูกันค่ะ

เดือนรอมฎอน-12-มีนาคม-2567-min

เดือนรอมฎอน คืออะไร ?

รอมฎอน ถือเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม เป็นระยะเวลา 29-30 วันตามหลักความเชื่อทางศาสนา แท้จริงแล้ว รอมฎอน เป็นชื่อเรียกเดือนที่ 9 ในปฏิทินฮิจเราะห์ หรือปฏิทินจันทรคติของอิสลาม ถือเป็นเดือนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของปี เป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าพระผู้เป็นเจ้าประทาน “พระคัมภีร์อัลกุรอาน” ลงมาให้แก่ “นบีมูฮัมหมัด” ศาสดาของศาสนาอิสลาม เพื่อใช้สั่งสอนและเป็นเครื่องชี้ทางให้แก่อิสลามิกชนทั่วโลก

ชาวมุสลิมทุกคนจึงต้องรักษาศีล อดอาหาร เพื่อฝึกฝนการบังคับตนเองและเพื่อให้เข้าถึงคำสอนของนบีมูฮัมหมัดให้ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมถึงใช้เวลาในการศึกษาพระคัมภีร์อัลกุรอานอย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษเพื่อ เป็นการบูชาพระเป็นเจ้า จนทำให้เดือนนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างในภาษาไทยว่า “เดือนบวช”

ข้อปฏิบัติในการถือศีลอด

สรุปได้มีดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารซุโฮร์ให้ใกล้หมดเวลา และรีบแก้ศีลอดเมื่อเข้าเวลา
  • ไม่พูดนินทา ไม่คิดร้าย ทำใจให้สงบ อ่านอัลกุรอ่าน
  • เคี้ยวอาหารช้าๆ ห้าสิบครั้งต่อคำ ควรทานอาหารไม่อิ่มแน่นมาก
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ หลังรับประทานอาหาร
  • รับประทานอาหารเหมือนปกติ ไม่ควรเพิ่มอาหารมาก
  • เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • ไปละหมาดตะรอเวียะฮ์ (การละหมาดในเดือนรอมฎอน) ทุกๆ วัน อย่างช้าๆ ไม่รีบ
  • แบ่งปันอาหารหรือบริจาคทานให้ผู้ที่ถือศีลอด
  • พยายามเลิกสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น บุหรี่, ชา, กาแฟ ฯลฯ
  • ควรตรวจร่างกายก่อนเข้าเดือนรอมฎอน และหลังจากสิ้นเดือนรอมฎอน

ข้อห้ามขณะถือศีลอด

ข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิบัติ ในช่วงเวลากลางวัน มีดังต่อไปนี้

  • ห้ามกิน/ดื่ม อย่างไรก็ตามน้ำลายกลืนได้ไม่ห้าม
  • ห้ามสูบบุหรี่
  • ห้ามร่วมประเวณี
  • ห้ามทำให้อาเจียน
  • ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก โดยเจตนาง
เดือนรอมฎอน-คืออะไร

ที่มา สำนักจุฬาราชมนตรี

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ