10 โรคร้ายที่เกิดจาก “ต่อมไร้ท่อ” ทำงานผิดปกติ

Home » 10 โรคร้ายที่เกิดจาก “ต่อมไร้ท่อ” ทำงานผิดปกติ
10 โรคร้ายที่เกิดจาก “ต่อมไร้ท่อ” ทำงานผิดปกติ

หลายคนอาจจะไม่ทราบ หรือไม่คุ้นเคยกับ “ต่อมไร้ท่อ” ว่ามันอยู่ในส่วนใดของร่างกาย ทำหน้าที่อะไร จริงๆ แล้วมีอวัยวะหลายส่วนที่อยู่ในเครือข่ายของต่อมไร้ท่อ ซึ่งหากเกิดความผิดปกติของส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็อาจกระทบกับการทำงานของอวัยวะส่วนนั้น หรืออาจจะกระทบไปทั้งร่างกายเลยก็เป็นได้

 

ต่อมไร้ท่อ อยู่ที่ไหนของร่างกาย?

ต่อมไร้ท่อกระจายอยู่ไปทั่วร่างกาย ได้แก่ สมองส่วนไฮโปธาลามัส ต่อมไพเนียล ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์/ต่อมเคียง ไทรอยด์ (ควบคุมการทำงานของแคลเซียม) ต่อมไทมัส (ดูแลระบบภูมิคุ้มกันโรค) ต่อมหมวกไต ตับอ่อน รังไข่ และอัณฑะ

 

 

ต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่อะไร?

ต่อมไร้ท่อเหล่านี้จะทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างฮอร์โมนต่างๆ และควบคุมการทำงานทุกชนิดของร่างกาย  รวมไปถึงการสืบพันธุ์ ตั้งครรภ์ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ด้วย

 

10 โรคร้ายที่เกิดจาก “ต่อมไร้ท่อ” ทำงานผิดปกติ

1. โรคเบาหวาน

– เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อของตับอ่อน

 

2. โรคพีซีโอเอส

หรือกลุ่มอาการที่รังไข่มีถุงน้ำหลายใบ ประจำเดือนมาผิดปกติ ไม่สม่ำเสมอ หรือมากเกินไป

– เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อของรังไข่

 

3. ภาวะนกเขาไม่ขัน

– เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในอัณฑะ

 

4. ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

– เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมไทรอยด์

 

5. โรคอ้วน

– อาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง

 

6. โรคเนื้องอกในสมอง

– เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมหมวกไต หรือต่อมไต้สมอง

 

7. โรคมะเร็งในตับอ่อน

– เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในตับอ่อน

 

8. โรคออโต้อิมมูน หรือโรคภูมิต้านตัวเอง

– เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมไทรอยด์

 

9. โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

– เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมไทรอยด์

 

10. โรคเนื้องอกตับอ่อน

– เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในตับอ่อน

 

คำแนะนำ

เมื่อมีความผิดปกติของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้รีบพบแพทย์ เพราะการตรวจหาความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจเท่านั้น นอกจากนี้โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อมักเป็นโรคเรื้อรัง ที่อาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดภายในช่วงเวลาสั้นๆ ดังนั้นการพบแพทย์ตามเสลาจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ