กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เผย 10 วิธีเช็กว่าคุณหรือคนใกล้ตัว กำลังเป็นโรคเสพติดการพนัน หรือไม่? และวิธีช่วยเหลือผู้ที่ติดพนัน ให้เล่นการพนันน้อยลงได้ การพนันถือว่าพบได้บ่อยในสภาพแวดล้อม การอยู่ในสถานที่ หรือแม้กระทั่งคนรอบตัว ที่เกี่ยวเนื่องกับการพนัน สาเหตุจากสื่อยั่วยุ มีการพนันออนไลน์จากการโฆษณาตามเว็บไซต์ต่างๆ
การติดพนันเป็นเหมือนโรคเสพติดทางสมอง ได้จากสารเคมีในสมอง เกิดจากการแปรเปลี่ยนของปริมาณสารเคมีในสมอง 2 ชนิด คือ “สารโดปามีน” ที่ทำให้รู้สึกสนุกสนาน และตื่นเต้นมีปริมาณมากเกินไปควบคู่กับ “สารซีโรโทนิน” ที่เป็นส่วนช่วยความรู้สึกยับยั้งช่างใจเริ่มมีปริมาณลดลง
- ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า ตอนฝนตก เป็นอันตรายหรือไม่?
- ไขข้อสงสัย? คนสามารถกินอาหารหมา – แมว ได้หรือไม่!?
- วิธีสังเกตและจัดการความโกรธ ที่อาจลุกลามไปสู่ความรุนแรง
ลองตรวจสอบดูว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?
- รู้สึกกระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย เวลาพยายามหยุด หรือลดการเล่นพนัน
- ความสัมพันธ์ การงาน การเรียน หรืออาชีพมีผลกระทบต่อระหว่างบุคคล
- หลังจากเสียเงินพนันแล้ว พยายามที่จะกลับไปเล่น เพื่อเอาเงินคืนบ่อยครั้ง
- เล่นการพนัน เพื่อหาทางออกจากปัญหา หรือจากความรู้สึกไม่สบายใจ
- ต้องให้บุคคลอื่นหาเงินมาช่วย ให้พ้นจากการเป็นหนี้พนัน
- ทำผิดกฎหมาย เช่น ปลอมแปลงเอกสาร ขโมยของ เพื่อให้ได้เงินมาใช้หนี้
- พยายามที่จะควบคุม ลดหรือหยุดการเล่นพนัน แต่ทำไม่สำเร็จ
- พนันด้วยการเพิ่มปริมาณเงินมากขึ้นเรื่อยๆ
- โกหกครอบครัว หรือบุคคลอื่น เพื่อปกปิดการเล่นพนันของตนเอง
- ครุ่นคิดถึงแต่การพนันอย่างมาก
หากมีอาการมากกว่า 5 ข้อ แสดงว่าติดการพนัน แต่หากมี 3 หรือ 4 อาการ จัดว่าเป็นผู้มีปัญหาเกี่ยวกับการพนัน และหากมีเพียง 1 หรือ 2 ข้อ จะจัดเป็นผู้เล่นพนันที่มีความเสี่ยง (at-risk gambler)
สิ่งที่ควรปฏิบัติ
- นึกถึงสิ่งดีๆ หรือศักยภาพในตัวเขา เมื่อพูดคุยถึงการติดการพนันของเขา และผลกระทบที่ตามมา ให้มีสติ ใจเย็น
- ดูแลด้านจิตใจ และสังคมอย่างใกล้ชิด แนะนำให้ทำกิจกรรมที่ได้ระบายความเครียด
- จัดตารางเวลาการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเหมาะสม
- กำหนดขอบเขตการบริหารเงิน ควบคุม ค่าใช้จ่ายของครอบครัว เช่น บัญชีเงินฝาก บัตรเครดิต
- ทำความเข้าใจ อธิบายเกี่ยวกับปัญหาติดพนัน ให้ตระหนักรู้ว่าตัวเองมีความผิดปกติ จำเป็น ต้องได้รับการบำบัดรักษา ก่อนมีปัญหาร้ายแรง
- ติดตามผลว่าเขามีปัญหาทางด้านอารมณ์ หรือไม่ เช่น มีอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว ซึมเศร้า ต้องรีบปรึกษาแพทย์
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
- ตำหนิ บ่น หรือ ตัดเขาออกจากครอบครัว หรือกิจกรรมของครอบครัว
- คาดหวังว่าเขาจะหายจากการติดพนันในทันที เมื่อหยุดเล่นพนัน
- ใช้หนี้แทน แก้ปัญหาหนี้สินให้ หรือประกันตัวเขา เมื่อมีปัญหาหนี้สิน
- ปิดบังหรือไม่ยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาของตัวเอง และครอบครัว
โรคติดพนันรักษาอย่างไร
แนวทางการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavioral therapy) การให้คำปรึกษา (Counseling) หรือการเปลี่ยนแนวคิด (Cognitive Therapy) และการเข้าร่วมกลุ่มเพื่อให้การสนับสนุนและให้กำลังใจในการเปลี่ยน พฤติกรรมการเล่นการพนัน ร่วมกับการรักษาด้วยยา
ที่มา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข