1 เมษายน “April Fool’s Day วันเมษาหน้าโง่” ระวังผิดกฏหมาย

Home » 1 เมษายน “April Fool’s Day วันเมษาหน้าโง่” ระวังผิดกฏหมาย
วันเมษาหน้าโง่ 1 เมษายน ของทุกปี-min

ทำความรู้จัก วันเมษาหน้าโง่ หรือ April Fool’s Day มีประวัติมาอย่างยาวนาน แต่ขอเตือนอย่าเล่นแรงเกิน! ระวังโดนโทษทางกฏหมาย

April Fool’s Day หรือวันที่เรียกกันว่า วันเมษาหน้าโง่ ตรงกับวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่คนมักชอบแกล้งหลอกกันด้วยการแต่งเรื่องมาหลอกให้คนอื่นหลงเชื่อ จากนั้นค่อยเฉลยความจริงในตอนท้าย ซึ่งเรื่องที่เอามาหลอกนั้นจะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายถึงกับเลือดตกยางออก และคนที่ถูกหลอกจะต้องไม่โกรธด้วย เพราะถือว่าวันนี้เป็นวันพิเศษวันหนึ่ง

  • วันเช็งเม้ง 2567 เริ่มวันไหน – ต้องทำอะไรบ้าง? เช็กเลย!
  • เปิด 5 พิกัด! งานคอนเสิร์ตวันสงกรานต์2567 ทั่วกรุงเทพฯ เช็คเลย
  • เช็กให้ชัวร์! วันหยุดเดือนเมษายน 2567 และวันสำคัญต่างๆ

ที่มาและต้นกำเนิดของ April Fool’s Day มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะมีประวัติยาวนานมาตั้งแต่ยุคโรมัน โกหกกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เลยทีเดียว เป็นการละเล่นที่นิยมกันของบางประเทศแถบยุโรป คาดว่ามาจากชาวกรีก โรมัน และยังนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมา วันเมษาหน้าโง่

April Fool’s Day (เอพริลฟูลเดย์) หรือ วันเมษาหน้าโง่ มีข้อมูลพบว่าการเล่นแกล้งกันในวัน April Fool’s Day นั้น เริ่มมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-19 ในแถบประเทศทางยุโรป เช่น กรีก ฝรั่งเศส ซึ่งบางประเทศให้เป็นวันหยุดราชการเพราะตรงกับวันเทศกาลดั้งเดิมในท้องถิ่น มีบันทึกโบราณพบว่าต้นกำเนิดของ “วันเมษาหน้าโง่” เกิดขึ้นใกล้เคียงกับเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นวันที่ 25 มีนาคม และพบว่ามี “เทศกาลคนโง่” ในยุโรปสมัยยุคกลาง ที่จัดขึ้นวันที่ 28 ธันวาคม

อีกหนึ่งทฤษฎีเชื่อว่า April Fool’s Day มีความเชื่อมโยงกับการกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวยุโรปที่เพิ่งเปลี่ยนใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 16 นั้น แต่เดิมในช่วงยุคสมัยกลางวันปีใหม่ของชาวยุโรปคือวันที่ 1 เมษายน ต่อมาในปี ค.ศ. 1592 พระสันตปาปาเกรเกอรี่ได้ประกาศใช้ปฏิทินใหม่สำหรับชาวคริสต์ ทำให้วันปีใหม่ถูกเปลี่ยนไปเป็นวันที่ 1 มกราคม

และเนื่องจากปัญหาด้านการสื่อสารที่ล่าช้าในยุคนั้น ยังคงมีประชาชนบางส่วนที่ไม่รู้ หรือรู้แต่ไม่เชื่อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พวกเขายังจัดงานฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายนตามเดิม ทำให้คนอื่นๆ พากันเรียกพวกเขาว่า ” พวกเมษาหน้าโง่ ” (April Fools) แล้วพยายามกลั่นแกล้งคนพวกนี้โดยส่งข้อความไปหลอก หรือล่อลวงให้หลงเชื่อเรื่องโกหกทั้งหลายว่าเป็นเรื่องจริง

จากการล้อเลียนคนที่ฉลองปีใหม่ผิดวันในประเทศแถบยุโรปในวันที่ 1 เมษายน ต่อยอดสู่วัฒนธรรมการแกล้งโกหกกันในวัน April Fool’s Day ของทุกๆ ปี ซึ่งการเล่นนี้ก็ได้แผ่ขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เช่น แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย บราซิล และสหรัฐอเมริกา ส่วนปัจจุบันก็แพร่มาถึงชาวเอเชียรวมถึงในประเทศไทยด้วย

วันเมษาหน้าโง่-2567-min

วันเมษาหน้าโง่  April Fools’ Day ในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน วันเมษาหน้าโง่ กลายมาเป็นวันที่ผู้คนจะล้อเล่นกันด้วยเรื่องโกหกต่างๆ ทั้งทางคำพูด การแสดงท่าทาง และในโซเซียลมีเดีย โดยจะเล่นโกหกอะไรในวันนี้ ควรจะคำนึงว่า

  • ต้องไม่ทำอันตรายให้ผู้อื่น 
  • ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น 
  • ต้องไม่เกี่ยวกับความเป็นความตาย

สำหรับในประเทศไทยนั้นการโพสต์ข้อมูลข่าวสารเท็จ หรือแชร์ข่าวปลอมนั้นถือเป็นการกระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 2560 มาตรา 14 มีโทษจำคุก 5 ปี หรือปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะฉะนั้นก็ควรเล่นกันแค่พอหอมปากหอมคอและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

วันโกหก ของแต่ละประเทศ

1. วันโกหกประเทศอังกฤษ

ในปี ค.ศ. 1980 บีบีซีประกาศว่า หน้าปัดนาฬิกาบิ๊กเบนเปลี่ยนมาเป็นแบบดิจิทัล ซึ่งนั่นก็คือหนึ่งในประเพณี April Fool’s Day โดยมีนักคติชนวิทยาผู้ศึกษาวัฒนธรรมชาวอังกฤษได้กล่าวว่า ประเพณีในสหราชอาณาจักรมีมานานและจะเฉลยกันตอนเที่ยง เพื่อไม่ให้ถูกเข้าใจผิด คนที่ถูกล้อในวันเมษาหน้าโง่ของอังกฤษ จึงหมายถึงคนที่เล่นแผลงๆ หลังเลยเวลาช่วงเที่ยงขึ้นไปนั่นเอง

2. วันโกหกประเทศไอร์แลนด์

ในไอร์แลนด์ มุก April Fool’s Day จะเป็นการแชร์จดหมายลูกโซ่ ที่ระบุภารกิจที่คนอ่านจดหมายเมื่อเปิดแล้วก็ต้องไปทำต่อไป ลงท้ายด้วยคำว่า “send the fool further” หมายถึง “ส่งให้คนโง่ต่อไป”

3. วันโกหกประเทศโปแลนด์

ในโปแลนด์จะเล่นมุกโกหกในช่วงวันแรกของเดือนเมษายน การแกล้งกันนี้มีมาหลายศตวรรษ จนกระทั่งหน่วยงานราชการ และสถาบันสำคัญจะไม่ออกประกาศที่จริงจังในวันนี้ เพราะเกรงว่าคนทั่วไปจะไม่เชื่อ อิทธิพลนี้ส่งต่อไปยังเมืองต่างๆ ที่มีประวัติศาสตร์ใกล้ชิดกับโปแลนด์

4. วันโกหกประเทศกลุ่มประเทศนอร์ดิก

ชาวเดนมาร์ก ฟินน์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน จะฉลองวันเอพริลฟูลส์เดย์ April Fool’s Day ด้วยการตีพิมพ์เรื่องเท็จ มุกโกหกสักหนึ่งเรื่อง ไว้บนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ แต่ไม่ใช่หัวข้อบนสุด

5. วันโกหกประเทศเยอรมนี

ในวันที่ 1 เมษายน ชาวเยอรมนีมักตะโกนขึ้นมาดังๆ ว่า “วันเมษาหน้าโง่” และปล่อยมุกแกล้งกัน ล่าสุดปี 2021 ค่ายรถยนต์ Volkswagen ก็ได้ทวีตวิดีโอแผนการตลาดในทวิตเตอร์ เปลี่ยนคำว่า Volk- เป็น Volt- สุดท้ายก็เฉลยออกมาภายหลังว่าเป็นเรื่องอำกัน

6. วันโกหกประเทศยูเครน

ยูเครนมีการเฉลิมฉลองวันเอพริลฟูลส์เดย์ April Fool’s Day กันในหลายท้องถิ่น บางพื้นที่มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ด้วยขบวนพาเหรด และตกแต่งเมือง ประดับประดาร้านค้าริมถนน ผู้เข้าร่วมงานแต่งกายด้วยสีสันสนุกสนาน

7. วันโกหกประเทศเลบานอน

ผู้ที่อยากเล่นตลกวันเอพริลฟูลส์เดย์ April Fool’s Day จะพูดคำว่า كذبة أول نيسان ซึ่งแปลว่า “วันแรกของเดือนเมษาที่โกหก” ให้แก่ผู้รับ

8. วันโกหกประเทศกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน

ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาสเปน รวมถึงประเทศฟิลิปปินส์ มีงานเฉลิมฉลองที่คล้ายกับวันโกหกเดือนเมษายน แต่จัดในช่วงปลายเดือนธันวาคม

9. วันโกหกประเทศจีน

แม้ว่าประเทศจีนจะได้รับอิทธิพลวันเอพริลฟูลส์เดย์มาจากฝั่งยุโรป ในแต่ปี ค.ศ. 2003 ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อนักร้องชาวฮ่องกงชื่อดัง เลสลี่ จาง ได้กระโดดตึกเสียชีวิต เนื่องจากข่าวนี้ประกาศออกมาในวันที่ 1 เมษายน ประชาชนจึงยังไม่ปักใจเชื่อกัน ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นความจริง แฟนคลับของเธอจึงใช้วันนี้เป็นวันรำลึกถึงนักร้องที่พวกเขาระลึกถึง

10. วันโกหกประเทศญี่ปุ่น

แบรนด์สินค้าต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น มักออกภาพกราฟิกแคมเปญที่หลงให้ผู้ติดตามผลิตภัณฑ์ชวนเชื่อ เช่น การออกนาฬิการุ่นใหม่ หรือเปลี่ยนคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนที่นิยมให้หน้าตาแปลกๆ ถือว่าเป็นการเล่นมุกโกหกอย่างน่ารักๆ

april-fools-day-min

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ