กลายเป็นประเด็นให้ตามกันต่อเนื่อง กับธุรกิจออนไลน์และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ “THE iCON GROUP” เป็นจำนวนมาก โดยมี “บอสพอล-วรัตน์พล วรัทย์วรกุล” เป็นประธานบริษัท นอกจากนี้ยังมีดารา นักแสดงชื่อดังมากมาย เป็นพรีเซ็นเตอร์ โดยบางคนก็มีชื่อเป็นถึง CEO ในตำแหน่งต่าง ๆ ปัจจุบันพบผู้เสียหายทยอยเปิดโปงพฤติกรรมของแผนธุรกิจเครือข่ายดังกล่าวเป็นจำนวนมากนั้น
ล่าสุดวันนี้ 11 ตุลาคม 2567 พันตำรวจเอก อุเทน รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกมาให้สัมภาษณ์ หลังจากที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดปฏิบัติการร่วมกันเข้าตรวจค้น โกดังของ The icon group ซึ่งการตรวจค้น เป็นอำนาจของเจ้าพนักงาน สคบ. เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัท ที่มีเพียง 15 รายการ แต่กลับพบว่ามีรายได้ของบริษัท บางปีได้รายได้ไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท รวมถึงหาข้อมูลทางธุรกิจว่าได้รับอนุญาตจาก สคบ. เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ และค้นหาข้อมูลการทำธุรกิจทั้งหมด ว่ามีสต๊อกสินค้าให้ประชาชนนำไปขายหรือเป็นการหลอกอ้างว่ามีผลิตภัณฑ์แล้วให้มาลงทุนกันแน่
- ทนายตั้ม-ทนายแทนคุณ เข้าแจ้งคดีบ. ดิไอคอน เหตุ หลวกลวงประชาชน
- อย. เฉลยแล้ว เม็ดฟู่แบรนด์ดัง ดารารีวิวเพียบ เคยมีประวัติโฆษณาเกินจริง!?
- งานเข้า! ผสห. นับ 10 ราย รวมตัวร้อง ปคบ. ตรวจสอบ ดิไอคอน
วันนี้ได้ส่งสมุดบัญชีธนาคาร จำนวนกว่า 120 บัญชี ให้ ปปง. ตรวจสอบเส้นทางการเงิน ซึ่ง จะเป็นบัญชีตั้งแต่ กลุ่มลูกข่ายดาวน์ไลน์ ดารานักแสดง และผู้บริหาร ไปตรวจสอบ ว่ามีความเชื่อมโยงอย่างไรและเข้าข่ายการฟอกเงินหรือไม่
ทางด้านพันตำรวจเอก อุเทน ระบุว่า ตอนนี้ตำรวจและหน่วยงานเกี่ยวข้องทำงานกันตลอด นับเป็นรายชั่วโมง เพื่อรวบรวมหลักฐาน และยืนยันภายใน 48 ชั่วโมงจะมีการออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างแน่นอน เมื่อถามต้องออกหมายเรียกก่อนหรือไม่ พันตำรวจเอก อุเทน ระบุความผิดมีโทษเกิน 3 ปีสามารถออกหมายจับได้เลยทันที และหมายจับที่ออกอาจจะเป็นกลุ่มผู้บริหารหรือดาราที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดย เข้าองค์ประกอบการกระทำความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นความผิดในมูลฐานฟอกเงิน และความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
ส่วนทรัพย์สินของ กลุ่ม the icon group ส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินขนาดใหญ่ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ไม่สามารถยักย้าย หรือขายต่อได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ตำรวจสามารถยึดอายัดมา เฉลี่ยทรัพย์คืนให้ผู้เสียหายได้ ซึ่งขั้นตอนการเฉลี่ยทรัพย์คืนให้ผู้เสียหายต้องดูขั้นตอนของ ปปง.
พันตำรวจเอก อุเทน ระบุเพิ่มว่า การขายตรงสินค้ามันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ขายตรง คือการนำสินค้าไปขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงอาจจะเป็นการเคาะหน้าบ้านหรือขายตามร้าน และอีกแบบคือ ขายตลาดตรง คือ การทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ใช่เป็นการเคาะประตู ซึ่งธุรกิจทั้ง 2 แบบสามารถทำให้ถูกกฎหมายตามข้อกำหนดของ สคบ. แต่ก็จะมีเส้นบางๆระหว่างธุรกิจคลาดตรงและแชร์ลูกโซ่ คือ ต้องตรวจสอบว่าวิธีจำหน่ายสินค้าเป็นการโปรโมทหรือการระดมทุน ซึ่งเมื่อไหร่ที่มีการระดมทุนจะเข้าข่ายความผิดแชร์ลูกโซ่ หรือ พ.ร.ก. กู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนเป็นความผิดตามมูลฐานการฟอกเงิน
ส่วนที่มีการ รวบรวมผู้เสียหายให้ได้ 200 คนขึ้นไปนั้น พันตำรวจเอก อุเทน มองว่า เป็นการรวบรวมผู้เสียหายให้เข้าหลักเกณฑ์ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษรับเป็นคดีพิเศษ
และล่าสุด มีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์ตั้งแต่เมื่อวานและวันนี้จำนวน 161 คนมูลค่าความเสียหายกว่า 62 ล้านบาท และคาดว่าจะมีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความเพิ่มเกิน 200 คนแน่นอนโดยสามารถเข้ามาแจ้งความได้ที่กองบังคับการปราบปรามได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่หยุดเสาร์-อาทิตย์ รวมถึงตำรวจก็ทำงานร่วมกันตลอดทั้ง บก.ปคบ สคบ. DSI และ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจากกระทรวงการคลัง และ ปปง.ในการทำคดีดังกล่าวโดยเฉพาะ