ไพศาล จับตา! ปชช. กระแสต้าน สว. หลังมีไม่ไปประชุม โหวตนายกฯ

Home » ไพศาล จับตา! ปชช. กระแสต้าน สว. หลังมีไม่ไปประชุม โหวตนายกฯ
ไพศาล-ต้านสว-min

ไพศาล พืชมงคล จับตา กระแสต้าน สว. หลัง ไม่ไปประชุม โหวตนายกฯ พร้อมวิเคราะห์ 4 แคนดิเดตนายกฯ ใครมีภาษีดีกว่า

ต่อเนื่องกับกระแสการเมือง และบรรยากาศของการ โหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ซึ่งต้องบอกว่า หลังจากการเปิดสภาฯโหวตนายกรัฐมนตรีนัดแรก เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 66 ได้เสร็จสิ้นลง ก็มีกระแสสังคมมากมายตีกลับไปยังเหล่าสมาชิกวุฒิสภาและผู้แทนราษฎร ที่งดออกเสียงหรือไม่เห็นชอบกับ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจาก พรรคก้าวไกล อย่าง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยนายพิธา นั้นได้รับผลโหวตทั้งหมด เห็นด้วย 324 ไม่เห็นด้วย 182 และงดออกเสียง 199 ซึ่งถือว่าน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงทำให้มีการโหวตครั้งที่ 2 ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 19 ก.ค. 66 ที่จะถึงนี้

วันนี้ (16 ก.ค.66) นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วย รองนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นผ่าน Facebook Paisal Puechmongkol ระบุว่า เรื่อง “สว.ฉาวยังไม่จบ”
1. เพราะความกร่างของ สว. มืออาชีพ 3-4 คนทำให้ สว. เดือดร้อนไปทั่ว เกิดการต่อต้าน สว. ที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับพรรคก้าวไกลอย่างกว้างขวาง และกลายเป็นความขัดแย้งอีกรายการหนึ่งต่อไปอีก
2. ข่าว สว. ขู่ สว. และการแจกกล้วย สว. ไม่ให้โหวตนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ จน สว. คนหนึ่งต้องลาออก และ สว. หลายคนก็ยอมรับว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง แต่ผู้เกี่ยวข้องยังนิ่งเฉยกันอยู่ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นความผิดร้ายแรงตามกฎหมายอาญาและกฎหมาย ป.ป.ช. คือมีโทษจำคุกอัตราสูงและยังผิดรัฐธรรมนูญ เพราะกระทำการเป็นปรปักษ์กับการปกครองประชาธิปไตยและไม่ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อชาติ และประชาชน ตามคำปฏิญาณ ซึ่งต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตลอดชีวิต และผู้มีหน้าที่ในวุฒิสภาต้องทำหน้าที่สอบสวนเพื่อหาตัวผู้ทำความผิดไปลงโทษ เมื่อนิ่งเฉยกันอยู่ภาคประชาชนก็ต้องจัดการร้อง ป.ป.ช. เอาผิดเรื่องนี้ได้ยินข่าวว่าจะมีการร้องให้ ป.ป.ช.ไต่สวนเรื่องนี้ในวันสองวันนี้

ไพศาล-2-min
ภาพจาก Paisal Puechmongkol
  • ทิพานัน รทสช. รวมผู้เสียหายฟ้อง ชี้! คลิป ‘พิธา’ เข้าข่ายยุงยงด้อมส้ม
  • นิด้าโพล เผย!ผลสำรวจ เลือกนายกฯคนที่ 30 หาก พิธา ชวดตำแหน่ง
  • ห้องพักหลอน! เช่าโรงแรมคืนละ 1,200 แถม ศาลพระภูมิ ที่ระเบียง

3. ในกรณี สว. หลายคนได้ทราบการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี อันเป็นเรื่องสำคัญ ย่อมมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่ต้องปฏิบัติ คือการไปประชุมและลงมติให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีหรือไม่ให้ความเห็นชอบ การไม่ไปปฏิบัติหน้าที่จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่สำคัญ ซึ่ง สว. เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการฝ่าฝืนคำปฏิญาณตนที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน จึงเป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางจริยธรรม ซึ่งอาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ มีข่าวว่าภาคประชาชนจะร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำการไต่สวนในเรื่องนี้ เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดไปรับโทษต่อไป
4. สำหรับ สว. บางคนที่ให้สัมภาษณ์หลายครั้งในลักษณะที่ทำให้ประชาชนเข้าใจว่ามี สส. ขาดคุณสมบัติหรือทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ก็เป็นความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 143 มีโทษอาญาสถานหนัก ซึ่งพรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมืองที่เสียหายจะดำเนินคดีอาญากับ สว. ดังกล่าว ดังที่เป็นข่าวดังช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว
5. สว. ชุดปัจจุบันจะหมดวาระในเดือน พ.ค. 67 แต่คดีที่เกี่ยวข้องดังที่ได้ประมวลมาทั้งหมดนี้น่าจะยังไม่จบในปี 2567 และจะเป็นชนักติดตัวที่จะต้องรับผิดชอบไปอีกนาน

“วิเคราะห์ 4 แคนดิเดตนายกฯ เศรษฐา ลุงป้อม อนุทิน และพีระพันธุ์ ใครมีภาษีดีกว่ากัน”

โดยระบุว่าในกรณีที่นายพิธา ไม่ผ่านความเห็นชอบในการโหวตครั้งที่ 2 หรือในกรณีมีผู้เสนอชื่อแคนดิเดตอื่นเข้าแข่งขัน
นายเศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย จะได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แต่อาจไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นนายกฯ เพราะคะแนนไม่ถึง 376 เว้นแต่พรรคเพื่อไทยจะตกลงให้พลังประชารัฐหรือภูมิใจไทยร่วมรัฐบาล นายเศรษฐาก็จะได้รับความเห็นชอบให้เป็นนายกฯ

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ มีโอกาสได้รับความเห็นชอบให้เป็นนายกฯ ด้วยคะแนนเสียงถึง 376 มากที่สุด แต่อาจเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยที่อาจถูกอภิปรายขับไล่หลัง ครม. เข้าถวายสัตย์ เว้นแต่จะดึงพรรคเพื่อไทยเข้าร่วมรัฐบาลได้สำเร็จ การแต่งตั้งให้ ผู้กองธรรมนัส รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นประธานวิป เมื่อ 2 วันก่อน เนื้อหาที่แท้จริงคือ เป็น “ผู้จัดการในการจัดตั้งรัฐบาล” นั้น เป็นจังหวะก้าวที่แหลม
นายอนุทิน ชาญวีรกูล ไม่มีโอกาสได้รับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และไม่มีโอกาสได้คะแนนเสียงเกิน 376 แม้บางกระแสจะอ้างว่า มีข้อมูลใหม่ก็ตาม
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ไม่มีโอกาสที่จะได้เสียงเกิน 376 เป็นนายกรัฐมนตรี และไม่มีโอกาสได้เสียงข้างมากในสภาฯ เว้นแต่จะดึงพรรคพลังประชารัฐและเพื่อไทยเข้าร่วมรัฐบาล แต่เป็นไปได้ยากมาก

“โดยสรุปลุงป้อมมีโอกาสและภาษีดีกว่าใครตามที่ได้ประเมินสถานการณ์มาตั้งแต่ 2 เดือนก่อนแล้ว สถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจ และการลงทุน จะเป็นแรงกดดันอย่างหนักหน่วง ที่ต้องทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยโดยเร็วที่สุด”

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ