เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 แหล่งข่าวจากแวดวงแพทย์เปิดเผยว่า ที่ประชุมกรรมการแพทยสภาครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีการหยิบยกประเด็นคุณสมบัติของ พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย หรือ “หมอเกศ” สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กลุ่ม 19 (กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ) ขึ้นมาพิจารณา
โดยประเด็นที่เป็นข้อสงสัยคือการที่ พญ.เกศกมล กรอกประวัติว่าเป็น “แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและความงาม” ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญที่ไม่ได้มีการรับรองอย่างเป็นทางการ
ที่ประชุมกรรมการแพทยสภาจึงมีมติตั้งข้อกล่าวโทษ พญ.เกศกมล ตามมาตรา 32 วรรคสาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 พร้อมมอบหมายให้เลขาธิการแพทยสภาดำเนินการตามข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยวิธีพิจารณาจริยธรรมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2563
- หมอเกศ แจงยิบ ข่าว 3 มหาลัย ยัน ไม่เคยพูดว่าเรียบจบ ลั่น “สื่อบิดเบือน”
- ดาวดัง ‘นปโปะ หม่ำๆ’ หมาพันธุ์ คอร์กี้ กินข้าวเฉพาะ เจ้าของร้องเพลงเชียร์!
- ส่องข้อความ มือวางยาไซยาไนด์ 6 ศพ เผย ความหมายชวนฉงน
ขั้นตอนต่อไปคือการนำเรื่องเข้าที่ประชุมกรรมการแพทยสภาในวันที่ 8 สิงหาคมนี้ เพื่อพิจารณาตามรอบการประชุมกรรมการแพทยสภาทุกวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือน
หากที่ประชุมกรรมการแพทยสภาลงมติรับรองข้อกล่าวโทษดังกล่าว ก็จะส่งเรื่องเข้าที่ประชุมอนุกรรมการจริยธรรมเพื่อพิจารณาต่อไป
ขณะที่พล.อ.ท.นพ.อิทธพร เลขาธิการแพทยสภา ระบุว่า 1.แพทยสภาเป็นผู้กำกับดูแล หลักสูตรความเชี่ยวชาญของแพทย์ไทยด้านต่าง ๆ ผ่านราชวิทยาลัยแพทย์และวิทยาลัยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 15 แห่ง และ 1 สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันฯ เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน โดยมีคณะแพทยศาสตร์และสถาบันฝึกอบรมต่างๆเป็นผู้ จัดการเรียนการสอน ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
2. แพทยศาสตร์บัณฑิต ที่จบการศึกษา 6 ปี ถือว่าเป็นแพทย์ทั่วไปยังไม่มีความเชี่ยวชาญใดๆ ต้องเข้าโปรแกรมการฝึกอบรมต่อ แพทย์ประจำบ้าน อีก 3 ถึง 7 ปี จึงเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตามกฎหมาย โดยต้อง สอบผ่านได้รับ บัตรอนุมัติหรือวุฒิบัตรก่อน ถึงจะใช้คำว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ โดยสามารถตรวจสอบ ชื่อและความเชี่ยวชาญ ของแพทย์แต่ละท่าน ได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา www.tmc.or.th หัวข้อตรวจสอบแพทย์
3.ปัจจุบันมีความเชี่ยวชาญ ที่ได้รับวุฒิบัตรและบัตรอนุมัติ ตามกฎหมาย 94 สาขา(2567) เป็นสาขาหลัก 41 สาขาและอนุสาขา 53 สาขา ภายใต้อนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ ของราชวิทยาลัยและสมาคม (ตามเอกสารแนบ) โดยมีระยะเวลาการ อบรม ตั้งแต่ 3-5 ปี ในสาขาหลัก(สีฟ้า) และเรียนต่ออนุสาขา เพิ่มอีก 2 ปี(สีดำ) ปัจจุบันมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กว่า 40,000 คนจากแพทย์ทั่วประเทศ 76,000 คน โดยจบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปีละกว่า 2,000 คน