วันนี้ ไบรท์ ทูเดย์ (Bright Today) จะพามาทำความรู้จัก น้ำกรด ที่แท้จริงแล้ว น้ำกรด เอาไว้ทำอะไรกันแน่ หลังจากที่มีข่าวตามโซเซียลมีเดียใช้ น้ำกรด ในทางที่ผิด ทำร้ายผู้อื่นให้ผิวหนังเกิดความเสียหาย หากมองในทางการใช้งานจริง น้ำกรด ใช้ทำอะไรกันนะ? ออกฤทธิ์แรงแค่ไหน วันนี้มีคำตอบแล้ว!
- กรมสุขภาพจิต เผย “10 สัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตาย” เพราะคนรักของคุณสำคัญ
- สิทธิบัตรทอง 30 บาท ครอบคลุม โรคค่าใช้จ่ายสูง รักษาฟรี!
- แบบมีก็มีด้วย? โรคกลัวกระจก อันตรายไหม มีวิธีรักษาอย่างไร
วันนี้ขอพูดถึง น้ำกรด 2 แบบ ที่มีความอันตรายรุนแรง อย่าง กรดซัลฟิวริก และ กรดไฮโดรฟลูออริก แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กรด กันก่อน
กรด
ซึ่งเป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7% โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัส จากสีน้ำเงินเป็นแดง
ตัวอย่างทั่วไปของกรด กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม)
ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง
คุณสมบัติของกรด
- กรดมีสมบัติกัดกร่อนโลหะ หินปูน หรือเนื้อเยื่อของร่างกาย
- กรดทุกชนิดนำไฟฟ้าได้ดี
กรดซัลฟิวริก Sulfuric Acid
กรดซัลฟิวริก เป็นสารเคมีพื้นฐาน ที่มีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ย ไทเทเนียม โลหะ แบตเตอรี่ สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ รวมทั้งใช้ในการบําบัดน้ำเสีย เป็นต้น
ถึงแม้ว่าเราสามารถผลิต กรดซัลฟิวริก ความเข้มข้น 100% แต่จะมีการสูญเสีย SO3 ที่จุดเดือด ทำให้กรดที่ได้เหลือความเข้มข้นประมาณ 98.3% กรดความเข้มข้น 98% มีเสถียรภาพมากในการเก็บรักษา กรดจะถูกเรียกว่า กรดซัลฟิวริก เข้มข้น (“concentrated” sulfuric acid)
ชื่อเรียก กรดซัลฟิวริก ที่มีความเข้มข้น ดังนี้
- 33.5%, เรียก กรดแบตเตอรี่ (battery acid) ใช้ใน แบตเตอรี่ประเภทตะกั่ว-กรด
- 62.18%, เรียก แชมเบอร์ (chamber) หรือ กรดปุ๋ย (fertilizer acid)
- 77.67%, เรียก โทเวอร์ (tower) หรือ กรดโกลเวอร์ (Glover acid)
- 98%, เรียก กรดซัลฟิวริก เข้มข้น (concentrated)
กรดซัลฟิวริก สามารถละลายผิวหนังชั้นนอกจนเหลือแต่กระดูกสบายๆภายใน3-5นาที และสามารถละลายกระดูกได้เช่นกันแต่จะช้ากว่าเนื้อเยื้อหรือผิวหนัง และ สามารถพบได้ในเขตน้ำพุร้อน บางที่จุดจะมีความเข้มข้นสูง ซึ่งในอดีตเคยมีมนุษย์สูดดมอากาศที่ปนเปื้อนจนทำให้ถึงแก่ความตาย และเคยมีมนุษย์ตกไปในบ่อน้ำจนเสียชีวิตมากมาย ถึงแม้จะมีป้ายเตือนเช่นกัน
กรดไฮโดรฟลูออริก หรือกรดกัดแก้ว
กรดไฮโดรฟลูออริก หรือกรดกัดแก้ว คือ ไฮโดรฟลูออไรด์ที่ละลายในน้ำ เป็นของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน และมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม จัดเป็นกรดอนินทรีย์ที่เป็นกรดอ่อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งในทางภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา ตัวอย่างเช่น นำมาใช้ผลิตสารเคมีที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ (อาทิ teflon freon cryolite และ fluoxetine) ใช้เพื่อกัดและทำความสะอาดพื้นผิวของวัสดุ (เช่น สแตนเลส แก้ว) ใช้ในห้องปฏิบัติการสำหรับการย่อยตัวอย่างและเป็นรีเอเจนท์ในปฏิกิริยาต่าง ๆ
กรดไฮโดรฟลูออริก มีความเป็นอันตรายทั้งทางกายภาพ เคมี และความเป็นพิษของสาร ดังนั้น การใช้งานกรดไฮโดรฟลูออริกอย่างไม่ปลอดภัย อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ส่งผลให้เกิดความบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต รวมทั้งทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
ความอันตรายของ กรดไฮโดรฟลูออริก
จัดเป็นกรดแฮไลด์ชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์กัดกร่อนที่รุนแรง สามารถกัดกร่อนและทำลายผิวหนัง ดวงตา รวมทั้งกระดูกได้ นอกจากนี้ ยังสามารถกัดกร่อนและละลายโลหะ ซิลิกา และแก้วได้ (หากกัดกร่อนโลหะจะให้ผลิตภัณฑ์เป็นก๊าซไวไฟ (ก๊าซไฮโดรเจน) อาจเป็นสาเหตุในการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิดได้) ในกรณีที่สัมผัสโดนกรดหรือกรดเข้าสู่ร่างกายแล้ว กรดไฮโดรฟลูออริกจะกัดกร่อนร่างกายในแบบ local effect ดังรายละเอียด
1. หากกรดสัมผัสโดนผิวหนัง ผิวหนังบริเวณนั้น จะระคายเคือง เจ็บ แสบ มีการบวมพอง ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสเปลี่ยนสี (เป็นสีขาวหรือเทา) อาจเกิดการไหม้และเป็นตุ่ม พุพองได้
2. หากกรดสัมผัสที่ตา จะระคายเคือง เจ็บ แสบ ลูกตาและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ตาจะบวม และอาจทำให้กระจกตาไหม้
3. หากกินหรือกลืนกรดเข้าไป กรดจะทำลายพื้นผิวของอวัยวะต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร (เช่น ปาก หลอดอาหาร กระเพาะ) ทำให้แสบปาก คอและอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และเกิดภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารได้
4. หากสูดดมกรด กรดจะกัดพื้นผิวของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก อาจไอออกมาเป็นเลือด ปอดเกิดภาวะอักเสบ ปอดบวมน้ำ ช็อคและเสียชีวิตได้
กรดไฮโดรฟลูออริกยังจัดเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงมาก ถ้ารับสัมผัสอาจสามารถทำให้เสียชีวิตได้ กรดไฮโดรฟลูออริกสามารถเกิดพิษต่อร่างกายในแบบ systemic effect (เช่น เป็นพิษต่อระบบอิเล็คโตรไลต์ในเลือด) หากสัมผัสกรดไฮโดรฟลูออริกผ่านผิวหนัง ฟลูออไรด์ไอออนจากกรดจะซึมทะลุผ่านชั้นของผิวหนัง จากนั้นจะเข้าจับกับแคลซียมและแมกนีเซียมไอออนบริเวณ deep tissue layer ของร่างกาย ผู้ประสบเหตุจะรู้สึกเจ็บแบบตุบ ๆ (throbbing pain) เนื่องจากโพแทสซียมไอออนจากเซลล์จะเคลื่อนออกไปยัง extracellular space เพื่อเข้าชดเชยการสูญเสียของแคลเซียมและแมกนีเซียมไอออน ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia) ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (hyperkalemia) และภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (hypomagnesemia) ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (heart arrhythmias) ภาวะไตวาย ภาวะตับวาย ลิ้นหัวใจรั่ว และทำให้เสียชีวิตได้
ขอบคุณข้อมูล : ศปอส. และ วิกิพีเดีย
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY