จากกรณีที่โลกออนไลน์ ออกมาโพสต์ข้อความสอบถามเกี่ยวกับ ปลาตัวหนึ่งที่มีรูปร่างแปลกประหลาด มีลักษณะที่ผิดปกติ ว่า “ปลาอะไรคะ ติดเรือขึ้นมาค่ะ (เรือ ก.เทพเจริญพร 15) ละงู สตูล สรุปจากภาพ น้องคือปลาออร์ฟิชนะคะ(ใช่หรือไม่ ต้องรอผลวิจัยอีกที) แต่ตอนนี้มีพี่นักวิจัยประมงมารับน้องไปวิจัยแล้วนะคะ”
ซึ่งนั่นก็ทำให้ผู้คนออกมาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้ใช้งานคนหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า ออร์ฟิช ปลาพญานาคครับ พบในน่านน้ำไทยเหรอครับ นั่นก็ทำให้เจ้าของโพสต์ออกมาตอบข้อความนี้ว่า ติดเรืออวนดำ ทะเลอันดามันค่ะ
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคอมเมนต์ แต่ก็ต้องมาสะดุดกับคอมเมนต์นี้ที่ว่า “สัญญาณของแผ่นดินไหวรึเปล่านะ” นั่นก็ทำเอาใครหลายๆคนตกใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปีใหม่มานี้ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว , สึนามิ , ไฟไหม้เครื่องบิน , ไฟไหม้ตลาด อีกทั้งยังมีเหตุการณ์คนแทงกันบนรถไฟอีกด้วย
ตามความเชื่อ ‘คนญี่ปุ่น’ กับ ‘ปลาออร์ฟิช’
ปลาออร์ฟิช (Oarfish) ที่คนไทยรู้จักเรียกว่า ปลาพญานาค เป็นปลากระดูกแข็งที่ยาวที่สุด อาศัยอยู่ในน่านน้ำลึกอย่างน้อย 200 เมตร และสามารถเติบโตได้ยาวถึง 10 เมตร ตามความเชื่อญี่ปุ่น เผยว่า การปรากฏตัวของปลาออร์ฟิช เป็นสัญญาณเตือนภัยพิบัติ เนื่องจากพวกมันอาจจะรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนใต้น้ำจากแผ่นดินไหว ไปจนถึงการเกิดสึนามิ
‘ผศ.ดร.ธรณ์’ พูดถึงปลา ‘ออร์ฟิช’
ต่อมา ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “พบปลา Oarfish ที่สตูล ตอนนี้ยืนยันแล้วครับ” ภาพจากคุณ Apiradee Napairee ให้น้องๆ ที่กรมประมงไปถ่ายภาพมา
- ครูมานิตย์ ตอบไม่อาย! เป็นองครักษ์ รบ. ลั่น! อยู่ตรงนี้ได้เพราะ ‘ทักษิณ’
- มัดรวมเหตุการณ์! ‘ญี่ปุ่น’ ความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ ตั้งแต่ต้นปี 2024
- ศิริกัญญา เบรก! โครงการ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ล่องหน ไม่มีร่าง ‘งบประมาณ 67’
Oarfish เป็นปลาน้ำลึก พบทั่วโลก แต่เนื่องจากอยู่น้ำลึก คนจึงไม่คุ้นเคย รูปร่างยังประหลาด บางคนเรียกปลาพญานาค เพราะเคยมีภาพถ่ายทหารอุ้มปลา บอกว่าเป็นแม่น้ำโขง
ภาพนั้นเป็นปลาจริง แต่ถ่ายแถวชายฝั่งอเมริกา ไม่ใช่แม่โขง ในเมืองไทยเท่าที่จำได้ ไม่เคยมีข่าว (ต้องเช็คอีกทีนะครับ) แต่หากถามว่าในโลกหายากขนาดนั้นไหม ? คำตอบคือเจอเรื่อยๆ ครับสมัยไปลงเรือสำรวจญี่ปุ่น ลงอวนน้ำลึกก็จับลูกปลา oarfish ได้เช่นกัน
Oarfish แพร่กระจายทั่วโลก เจอที่สตูลได้อย่างไร ?
Oarfish แพร่กระจายทั่วโลก ที่น่าสงสัยคือเจอที่สตูลได้อย่างไร ? อันดับแรก จับได้ที่ไหน ? ตอนนี้ผมยังไม่ทราบ เอาเป็นว่าแถวอันดามัน (ล่าสุดทราบว่าอยู่ระหว่างเกาะลิบงกับเกาะอาดัง ใกล้ฝั่งมากกว่าเกาะรอก) ทะเลอันดามันน้ำลึกครับ เฉพาะในไทยลึกสุดก็ 2,000 เมตร อาจมี oarfish อยู่แถวนั้น แต่ปกติเราไม่จับปลาน้ำลึก ก็เลยไม่ค่อยรู้จักกัน
อีกอย่างคือ ช่วงนี้น้ำเย็นเข้าอันดามัน ปรากฏการณ์ IOD (เล่าหลายหนแล้ว) มีปลาแปลกๆ เข้ามาตามมวลน้ำเย็น
เมื่อไม่กี่วันก่อนก็มีโมล่าติดอวน ลูกเรือช่วยกันปล่อยไปแล้ว จึงเป็นไปได้ว่า Oarfish ตัวนี้จะเข้ามาตามน้ำ อีกทั้งยังมีขนาดเล็ก (ตัวใหญ่ยาวหลายเมตร ภาพจากอะควอเรี่ยมญี่ปุ่น ที่ผมลงให้ดู ตัวนั้นยาวเกิน 5 เมตร)
เมื่อพิจารณาจากจุดจับได้ เป็นเขตน้ำไม่ลึกมาก คงเป็นปลาวัยรุ่นที่อาจเข้ามาตามมวลน้ำเย็น เท่าที่ทราบ จับได้โดยเรืออวนล้อม หมายถึงปลาขึ้นมาใกล้ผิวน้ำ ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปได้ แต่ไม่เกิดขึ้นบ่อย จากข้อมูลต่างๆ พอสรุปได้ว่า ปลาวัยรุ่นตัวนี้คงมากับน้ำเย็น เหมือนกับโมล่าที่ปรกติก็ไม่ค่อยพบในไทย มหาสมุทรมีปรากฏการณ์แปลกๆ เป็นระยะ แต่ถ้าเรามีข้อมูลเพียงพอ เราอธิบายได้ ไม่สร้างความตระหนกตกใจ
ทราบว่าจะนำมาให้พิพิธภัณฑ์ ถือเป็นเรื่องดี จะได้รู้จักกันมากๆ ครับ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ยังเตรียมภาพ Oarfish ในเวอร์ชั่นสุดน่ารัก ให้คุณพ่อคุณแม่อธิบายกับน้องๆ
อนึ่ง ไม่ต้องตื่นเต้นตกใจ แม้บางทีเราอาจได้ยินว่าเป็นปลาแผ่นดินไหว แต่เป็นการว่ายเข้ามาที่ฝั่ง ไม่ใช่จับมา
แม้ว่ายมาฝั่งก็ไม่ใช่ทุกครั้ง อันที่จริง ผมเชื่อว่าเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า จึงไม่ต้องตื่นตระหนกกัน สตูลยังเที่ยวได้ครับ