ไขข้อสงสัย! กล่องดำบนเครื่องบิน มีความสำคัญยังไง ใช้งานตอนไหน ?

Home » ไขข้อสงสัย! กล่องดำบนเครื่องบิน มีความสำคัญยังไง ใช้งานตอนไหน ?

กล่องดำ-min

กล่องดำ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลการบินที่สำคัญที่สุด ทำไมจึงต้องมีในเครื่องบินทุกลำ แล้วมันใช้งานยังไง? ไปดูกันค่ะ

สืบเนื่องจากในปีนี้มีเหตุการณ์ เครื่องบินตก อยู่บ่อยครั้ง โดย 1 ในเหตุการณ์นั้น มีเครื่องบินที่ไม่มีกล่องดำ ทำให้ไม่ทราบถึงสาเหตุ หรือเหตุกาณ์จังหวะตอนเครื่องบินตก เลยทำให้หลายๆคนสงสัยว่า กล่องดำ ที่ว่า มีความสำคัญอย่างไรกับเครื่องบิน มีวิธีการทำงานอย่างไร วันนี้ ไบรท์ทีวี (BrightTV) จะมาไขข้อสงสัยค่ะ

  • ด่วน! เครื่องบินเล็กตก ใกล้วัดเขาดิน บางปะกง ยังไม่พบผู้รอดชีวิต
  • นายตัวดี! หนุ่ม เปิดประตูฉุกเฉิน เดินชิลออกปีกเครื่องบิน ทำเดือดร้อนยกลำ
  • ไปรษณีย์ไทย เปิดคาเฟ่แห่งแรก! แวะส่งของ – จิบกาแฟ – นั่งทำงานได้

กล่องดำ Black Box คืออะไร ?

กล่องดำ หรือ Black box  คืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลการบินที่สำคัญ มีส่วนช่วยในการจำลองเหตุการณ์ก่อนเกิดอุบัติเหตุ และนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่อไป ไม่ว่าเครื่องบินจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ต้องมีกล่องดำ ตามกฎการบินขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ โดย กล่องดำถูกคิดค้นขึ้นโดย เดวิด วอร์เรน นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย

ตัวกล่องดำ จะมีสีส้มชัดเจน สาเหตุที่กล่องดำไม่เป็นสีดำตามชื่อแต่กลับเป็นสีส้ม ก็เพราะว่าเป็นสีที่สะดุดตา ง่ายต่อการค้นหา มักติดตั้งอยู่บริเวณด้านหางท้ายเครื่อง เพราะเป็นบริเวณที่มีโอกาสรับความเสียหายน้อยกว่าส่วนอื่น

ZSjEr OLeQ-600

กล่องดำ มี 2 ชนิด

  • เครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน  (Cockpit Voice Recorder) 
    Cockpit Voice Recorder หรือ CVR จะบันทึกเสียงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห้องนักบินเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดของนักบิน เสียงเครื่องยนต์ เสียงสัญญาณเตือน เสียงการเคลื่อนไหวของฐานล้อ เสียงการกดหรือปลดสวิตช์ต่าง ๆ เสียงการโต้ตอบการจราจรทางอากาศ การแจ้งข่าวสภาพอากาศ โดยรับเสียงจากไมโครโฟนของนักบิน และไมโครโฟนที่ติดตั้งไว้ในแผงอุปกรณ์ด้านบนระหว่างนักบิน
  • เครื่องบันทึกข้อมูลการบิน (Flight Data Recorder)
    จะบันทึกสภาวะต่าง ๆ ในระหว่างปฏิบัติการบิน เช่น ท่าทาง, ความสูง, ความเร็ว, ทิศทาง, การทำงานรวมถึงสถานะเครื่องยนต์และระบบต่างๆในเครื่องบิน, พิกัดตำแหน่งที่เครื่องบินเดินทาง และเวลา เป็นต้น โดยข้อมูลที่ได้จาก FDR มีประโยชน์ต่อการสอบสวนมาก เนื่องจากช่วยให้สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวของการบิน เพื่อมองเห็นท่าทางเครื่องบินก่อนเกิดอุบัติเหตุ หรือสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
ตำแหน่งกล่องดำบนเครื่องบิน

ดังนั้นกล่องดำจึงถูกออกแบบให้ทนทาน กล่องห่อหุ้มด้วยสเตนเลสสตีลหรือไทเทเนียมที่ทนทานต่อการกัดกร่อนสองชั้น และต้องผ่านการทดสอบ ก่อนใช้งานจริง เช่น

  • ยิงอุปกรณ์นี้ให้กระทบเป้าอะลูมิเนียมเพื่อให้เกิดแรงกระแทก 3,400G (คำนวณตามแรงโน้มถ่วงของโลก = 1G)
  • ทดสอบความทนต่อการเจาะ โดยปล่อยก้อนน้ำหนักขนาด 500 ปอนด์ (227 กิโลกรัม) ที่มีเข็มเหล็กขนาด 0.25 นิ้ว อยู่ด้านล่าง ให้กระทบลงบน CSMUซึ่งเป็นตัวเก็บข้อมูลของกล่องดำ จากความสูง 10 ฟุต (3 เมตร)
  • ทดสอบด้วยแรงกด 5,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 5 นาที ทุก ๆ ด้านของ CSMU
  • เผาด้วยความร้อน 2,000 °F (1,100 °C) นาน 1 ชั่วโมง
  • แช่ในน้ำเค็มนาน 24 ชั่วโมง (กรณีเครื่องบินตกทะเล)
  • แช่น้ำนาน 30 วัน
  • ทดสอบความทนทานต่อของเหลวอื่น ๆ เช่น เชื้อเพลิงเครื่องบิน น้ำมันหล่อลื่น สารเคมีดับเพลิง

เพื่อให้มั่นใจว่าหากเกิดเหตุการณ์เครื่องบินตก หรือเครื่องบินระเบิด กล่องดำจะยังอยู่

กล่องดำยับ

และนี่คือความสำคัญของกล่องดำ ที่เครื่องบินทุกเครื่องจำเป็นต้องมี ถึงแม้จะเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด แต่อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การที่มีกล่องทำติดเครื่องบินไว้ เป็นสิ่งที่ถูต้องที่สุดแล้วค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ