ไขข้อสงสัย กฎหมาย "ฟ้องชู้" หลังศาลวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นเรื่องแย่อย่างที่คนด่า

Home » ไขข้อสงสัย กฎหมาย "ฟ้องชู้" หลังศาลวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นเรื่องแย่อย่างที่คนด่า

หลังจากเมื่อวานนี้ (19 มิ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง (กฎหมายฟ้องชู้) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม และกำหนดคำบังคับให้คำวินิจฉัยมีผลเมื่อพ้น 360 วัน นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ว่าการฟ้องชู้จะถูกยกเลิกหรือไม่ และหลายคนยังไม่เข้าใจว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไรกันแน่

ในเรื่องนี้ ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ อัดคลิปไขข้อสงสัย ประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กรณีกฎหมาย ฟ้องชู้ ที่ไปเกี่ยวพัน เกี่ยงโยงกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยทนายเดชาระบุว่า

หลังศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไปเมื่อวานนี้ว่า กฎหมายฟ้องชู้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะบังคับใชกับประชาชนโดยไม่เท่าเทียมกัน สามีไปฟ้องชู้เพศใดก็ได้ เรียกค่าทดแทนได้ แต่หากภรรยาจะไปฟ้องชู้ ฟ้องได้แค่ “ผู้หญิง” ที่มาเป็นชู้เท่านั้น เพศอื่นฟ้องไม่ได้ ซศาลรัฐธรรมนูญจึงลงมติว่า กฎหมายฟ้องชู้ มาตรา 1523 วรรค 2 จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ต่อมาในวันเดียวกัน ที่รัฐสภา สว.มีการโหวตผ่านร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม “สมรสเท่าเทียม” เมื่อกฎหมายผ่านในสภาแล้ว ทำให้หลังจากนี้ในกฎหมายจะไม่มีคำว่า สามี-ภรรยา จะมีแค่คำว่า คู่สมรส การฟ้องชู้จึงสามารถฟ้องใครก็ได้ เพศใดก็ได้ ไม่ว่าคู่สมรสจะเป็นเพศใดก็ตาม ก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนได้หมด และไม่ต้องมีการแสดงตนเปิดเผย ต่อให้แอบไปเป็นชู้ในที่ลับก็ฟ้องได้ สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การฟ้องชู้ทำได้ง่ายกว่าเดิม

  • “หนิง ปณิตา” เปิดสูตรเมียหลวง 13 ข้อ วิธีเก็บหลักฐานฟ้องชู้ แบบแน่นๆ ไม่ให้หลุด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ