หลายคนยังไม่ทราบว่าไกด์ร่วมโต๊ะอาหารกับนักท่องเที่ยวได้ไหม มารยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์ มีอะไรบ้าง
คำตอบจาก คู่มืออบรมมัคคุเทศก์ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งนอกจากระบุรายละเอียดถึงด้านวิชาชีพที่ต้องมีความรู้ความสามารถในการบรรยายให้ข้อมูลอย่างถูกต้องสถานที่นั้น ๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวแล้ว ยังระบุถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพรวมถึง มารยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์ ไว้อย่างละเอียด ดังนี้
มารยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์
มารยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์ก็ หมายถึง คุณสมบัติอันตีดีงามที่มัคคุเทศก์ก็ควรประพฤติและปฏิบัติดังนี้
1. สิ่งที่มัคคุเทศก์ก็พึงปฏิบัติ ได้แก่
- รักษากิริยามารยาทที่ดีของคนไทย หรือผสมผสานระหว่างมารยาทไทยกับต่างประเทศ แต่เน้นเอกลักษณ์ของไทย เพื่อให้นักท่องเที่ยวประทับใจ
- รู้จักการขอโทษ ขอบคุณ พูดจาสุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน
- มีความยิ้มแย้มแจ่มใส รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ดูว่านักท่องเที่ยวพร้อมจะรับฟังหรือยัง ก่อนการอธิบาย
- ให้ความสนใจ ดูแลเด็ก คนชรา คนพิการอย่างใกล้ชิด พูดกับทั้งกลุ่มไม่อธิบายเฉพาะกับนักท่องเที่ยวบางคนเท่านั้น
- ควรตามใจให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสถ่ายรูปบ้าง
- ควรพูดเรื่องตลกบ้าง แต่ถ้าไม่สนุก และไม่แน่ใจก็ไม่ควรพูด
- ควรมีสันทนาการในช่วงการเดินทาง เช่น ร้องเพลง แต่ไม่ควรร้องมากหรือบ่อยเกินไป ควรให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมด้วย และไม่ปล่อยให้เงียบตลอดเวลา
- ควรจำชื่อนักท่องเที่ยวแต่ละคนให้ได้ เป็นวิธีสร้างความประทับใจที่ดีที่สุด
2. สิ่งที่มัคคุเทศก์ก็ไม่พึงปฏิบัติ
- ไม่ตะโกน หรือตบมือเรียกนักท่องเที่ยวให้มาหาด้วยอาการไม่สุภาพ
- ไม่พูดจาดุดัน เมื่อนักท่องเที่ยวมาช้า
- ไม่ทำตัวเป็นครู และอย่าโกรธเมื่อไม่มีใครซักถาม
- ไม่เยาะเย้ยคนที่ถามคำถามง่ายๆ
- ไม่ดื่มหรือรับประทานอาหารร่วมโต๊ะกับนักท่องเที่ยว
- ไม่ควรถ่ายรูปตัวเองมากเกินไป
- ไม่แต่งตัวหรูกว่านักท่องเที่ยว หรือมอชอเกินไป
- ไม่ทำตัวเสมอกับนักท่องเที่ยว และไม่ยกตนข่มท่าน
- ไม่สนิทสนมกับนักท่องเที่ยวจนเกินสมควร โดย เฉพาะในด้านชู้สาว
- ไม่เล่าเรื่องส่อเสียดนักท่องเที่ยวในกลุ่มที่มีนักท่องเที่ยวหลายๆ ชาติรวมกัน
- ไม่วิจารณ์เรื่องการเมือง ศาสนา วัฒนธรรม
- ไม่สร้างเรื่อง หรือแต่งเรื่องขึ้นเอง เพื่อตอบคำถามนักท่องเที่ยว ถ้าไม่ทราบควรขอโทษ และไปค้นคว้ามาตอบในภายหลัง