ใส่หูฟังนานๆ ต้องระวัง! “เชื้อราในหู” แหล่งเจริญเติบโตของเชื้อโรคชั้นดี

Home » ใส่หูฟังนานๆ ต้องระวัง! “เชื้อราในหู” แหล่งเจริญเติบโตของเชื้อโรคชั้นดี

เชื้อราในหู หูฟัง-min

โรคเชื้อราในหู เป็นได้ง่ายใกล้ตัวกว่าที่คิด! ด้วยอาการที่ร้อนชื้นในปัจจุบัน อาจจะทำให้ หูฟัง เป็นแหล่งเพาะเชื้อชั้นดี!

เป็นข่าวที่น่าตกใจ เมื่ออ่านจบแล้วให้ความรู้สึกว่าภัยอยู่ใกล้ตัวนิดเดียว เมื่อแพทย์ชาวไต้หวัน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงผลการศึกษาล่าสุด พบว่าสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้บางพื้นที่เหมาะแก่การเป็นที่เติบโตของเชื้อรา โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ชอบสวมหูฟังทั้งวัน และอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ต้องระวังอย่างยิ่ง! เพราะมีความเสี่ยงสูงในการติด เชื้อราในหู โดยผู้ที่มีความเสี่ยงสูง คือกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกายไปด้วย ฟังเพลงจากการใส่หูฟังไปด้วย เป็นต้น โดยแพทย์รายนี้แนะนำว่า พยายามอย่าใส่หูฟังคาไว้เป็นเวลานาน ๆ เพราะหากมีความเชื้อ จะเอื้อต่อการเติบโตของเชื้อราในหูได้

  • ไขข้อสงสัย! “อะโวคาโด” เป็นผัก หรือ ผลไม้ ?
  • โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท นั่งนานท่าเดิม อัตรายกว่าที่คิด!
  • ดวงตาเหนื่อยล้า ใช้สายตาหนักเป็นเวลานาน ชาวออฟฟิตต้องระวัง!

โรคเชื้อราในหู

เชื้อราในหู ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อราในกลุ่มแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) และกลุ่มแคนดิดา (Candida) โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการต่อไปนี้ อาการปวด คัน ระคายเคืองในหู หูบวมแดง หูอื้อ มีของเหลวสีขาว สีเหลือง สีดำ สีเทา หรือสีเขียวไหลออกมาจากรูหู หรือมีปัญหาในการได้ยิน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราในหู

  • อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนและอบอุ่น เนื่องจากเชื้อราในช่องหูจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่ออยู่ท่ามกลางอุณหภูมิอุ่นและชื้น
  • เล่นกีฬาทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำหรือโต้คลื่น โดยเฉพาะในน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค
  • เกิดการบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุบริเวณหู
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นโรคผิวหนังอักเสบ มีปัญหาผิวหนังเรื้อรังอื่น ๆ หรือโรคเบาหวาน
  • ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เพิ่มมากขึ้น

การรักษาการติดเชื้อราในหู

ผู้ป่วยอาจใช้ระยะเวลาในการรักษาตั้งแต่ไม่กี่วันหรืออาจนานต่อเนื่องหลายปี โดยเริ่มแรกแพทย์จะทำความสะอาดหูของผู้ป่วยอย่างละเอียดและดูดของเหลวภายในหูออก จากนั้นจะจ่ายยาที่เหมาะกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งอาจมีรูปแบบยาและปริมาณการใช้ยาต่างกันไปตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น

  • ยาหยอดหู
  • ยาชนิดรับประทาน
  • ยาชนิดทา
เชื้อราในหู

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ