ใน ‘จดหมายปรีดี’ เขียนอะไร? ทำไมต้องเปิดอ่านปี 2024 ที่ฝรั่งเศส

Home » ใน ‘จดหมายปรีดี’ เขียนอะไร? ทำไมต้องเปิดอ่านปี 2024 ที่ฝรั่งเศส
จดหมายปรีดี-ปก-min

ใน ‘จดหมายปรีดี’ เขียนอะไร? ทำไมต้องเปิดอ่านปี 2024 ที่ฝรั่งเศส – หลังวานนี้ “จรัล-จรรยา” เปิดจดหมายผิดซอง รอลุ้น 5 ม.ค.

จากกรณี นายจรัล ดิษฐาอภิชัย พร้อมกับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ นักสิทธิมนุษยชน ที่อยู่ระหว่างการลี้ภัยในต่างประเทศ ร่วมกับผู้ลี้ภัยทางการเมือง ที่วานนี้ (2 มกราคม 2567) เดินทางไปที่หอจดหมายเหตุกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส เพื่อขอเอกสาร ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี

ท่ามกลางความสนใจของประชาชนในขณะนี้ ซึ่งได้มีการไลฟ์สดผ่านทางโลกออนไลน์ แต่ก็ได้ผิดหวังไปตามๆกัน เนื่องจาก จรรยา ได้มีการโพสต์ข้อความอีกครั้งว่า

จดหมายปรีดี

เอกสาร 13 หน้าแรก เป็นเอกสารทางการทูตกับท่าที่การขอลี้ภัยมาอยู่ฝรั่งเศส มีเอกสาร top secret ที่ผู้มีอำนาจไทย สอบถามฝรั่งเศส ผ่านทางอังกฤษ ว่าปรีดีมาอยู่ที่ฝรั่งเศสแล้วหรือไม่ เอกสารลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2508 การพยายามยับยั้งไม่ให้ปรีดีมาฝรั่งเศส และการที่ฝรั่งเศสพยายามให้ปรีดีเดินทางมาเงียบๆ ที่สวิสฯ ก่อนมาฝรั่งเศส เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการเมืองกับเผด็จการและผู้มีอำนาจไทยในตอนนั้นจริงจังมาก กว่าที่ปรีดีจะเดินทางมาฝรั่งเศสได้ก็เหนื่อยเอาเรื่อง

จดหมาย-ปรีดี (5)-min
ที่มา : Jaran Ditapichai

เอกสารผิดแฟ้ม

จดหมายปรีดี เนื่องจากจรรยาไม่ได้เป็นคนรับเอกสาร เลยไม่ได้เช็คว่าเอกสารที่เจ้าหน้าที่หยิบมาให้เป็นเอกสารชุดที่เปิดเผยแล้ว ไม่ใช่ชุดล่าสุดที่พวกเรากำลังรอคอย ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกหลังจากเราเช็คเมื่อกี้ว่า ชุดล่าสุดยังไม่เผยแพร่วันนี้ แต่จะเผยแพร่ในวันที่ 5 ม.ค. ต้องขอโทษด้วยที่เข้าใจผิดพลาดคิดว่าเอกสารที่ได้รับเป็นชุดที่เปิดเผยในปีนี้ แต่เอกสารที่เราได้ดูและเผยแพร่ไปก็เป็นเอกสารที่พวกเราไม่เคยดูมาก่อนเหมือนกัน ก็ได้เห็นการเมืองปรีดี -ฝรั่งเศส แม้ว่านักวิชาการได้เผยแพร่ไปแล้ว วันที่ 5 มค เรามาลุ้นกันใหม่ว่าจะมีการเลื่อนอีกหรือไม่ มีเรื่องให้ต้องลุ้นต่ออีกแล้ว

จดหมาย-ปรีดี (1)-min
ที่มา : Junya Yimprasert

ทำไม จดหมายปรีดี ถึงน่าสนใจ?

จดหมายปรีดี หรือ Dossier de Pridi Panomyong คือจดหมายของ “ปรีดี พนมยงค์” อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย ที่เขาได้มอบไว้ให้กับรัฐบางฝรั่งเศส และถูกเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศ (Centre des Archives diplomatiques du ministère des Affaires étrangères) โดยมีเวลาปิดผนึกยาวนานถึง 60 ปี และมีกำหนดการเปิดให้สาธารณชนเข้าถึงได้ ในปี 2024

จดหมายปรีดี ไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในหมวดเอกสารนักการทูตหรือจดหมายเหตุส่วนตัว แต่เป็นเอกสารที่เขียนและรวบรวมโดยสถานทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย และส่งกลับมาที่กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสในปารีส เมื่อปี 1977 ซึ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับจดหมายเหตุในขณะนั้น

จดหมาย-ปรีดี (2)-min
ที่มา : Jaran Ditapichai
จดหมาย-ปรีดี (4)-min
ที่มา : Jaran Ditapichai
  • อึ้ง! สัตวแพทย์หญิง ดื่มไซยาไนด์ ดับพร้อมลูก เผย เป็นลอตเดียวกับ ‘แอม’
  • ชัยธวัช ผิดหวัง! ‘พรบ.งบประมาณ 67’ ไม่ตรงปก ผ่าน 3 เดือนยังเหมือนเดิม
  • เปิดห้องนอน! นายกฯเศรษฐา บนตึกไทยคู่ฟ้า หลังมีฤกษ์ดี ย้ายเข้า 7 ม.ค.

ซึ่งหลายคนก็ต่างคาดเดากันไปต่างๆนาๆ ว่า จดหมายปรีดี จะถูกพูดถึงเรื่องอะไรบาง อาทิ  การร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475, เรื่องราวความขัดแย้งในคณะราษฎร, การก่อตั้งขบวนการเสรีไทย, กรณีสวรรคตของรัชการที่ 8 และความพยายามของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ต้องการคืนดีกับปรีดี เป็นต้น ส่วนใหญ่ก็ถูกมุ่งไปที่เหตุการณ์สำคัญที่อาจเกี่ยวข้องทำให้ ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัย!!

ประวัติ ปรีดี พนมยงค์

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ น.ร. ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. อ.ป.ร. ๑ GCMG หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทย ผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)

ปรีดี-พนมยงค์-min

ปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ณ เรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า เมืองกรุงเก่า ในครอบครัวชาวนา เป็นบุตรของเสียงและลูกจันทน์ พนมยงค์

บรรพบุรุษของปรีดีตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้วัดพนมยงค์มาช้านาน บรรพบุรุษข้างบิดานั้นสืบเชื้อสายมาจากพระนมในสมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อ “ประยงค์” พระนมประยงค์เป็นผู้สร้างวัดในที่สวนของตัวเอง วัดนั้นได้ชื่อตามผู้สร้างว่า วัดพระนมยงค์ หรือ วัดพนมยงค์ ล่วงมาจนมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ทายาทจึงได้ใช้นามสกุลว่า “พนมยงค์”

ที่มา : Jaran Ditapichai , Junya Yimprasert , วิกิพีเดีย



แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ