ใจปล้ำ! บริษัทแม่ “ยูนิโคล่” เตรียมขึ้นค่าจ้างพนักงานสูงถึง 40% สู้วิกฤติเงินเฟ้อ

Home » ใจปล้ำ! บริษัทแม่ “ยูนิโคล่” เตรียมขึ้นค่าจ้างพนักงานสูงถึง 40% สู้วิกฤติเงินเฟ้อ


ใจปล้ำ! บริษัทแม่ “ยูนิโคล่” เตรียมขึ้นค่าจ้างพนักงานสูงถึง 40% สู้วิกฤติเงินเฟ้อ

ใจปล้ำ! บริษัทแม่ “ยูนิโคล่” เตรียมขึ้นค่าจ้างพนักงานสูงถึง 40% สู้วิกฤติเงินเฟ้อ

บีบีซี รายงานว่า ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing) บริษัทด้านแฟชั่นยักษ์ใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น เจ้าของ “ยูนิโคล่” ประกาศว่า จะเพิ่มค่าจ้างพนักงานประจำที่สำนักงานใหญ่และร้านค้าของบรษัทในญี่ปุ่นสูงถึง 40% ตั้งแต่เดือนมี.ค.เป็นต้นไป

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ขึ้นค่าแรง เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาราคาสินค้าที่สูงขึ้น เนื่องจากวิกฤตเงินเฟ้อในญี่ปุ่นพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี

ทางด้านบริษัทยูนิโคล่ กล่าวว่า การขึ้นค่าจ้างพนักงานครั้งนี้ เพื่อให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานสำหรับความทะเยอทะยานและความสามารถของพวกเขา รวมถึงเพิ่มศักยภาพในการเติบโตของบริษัท รวมถึงความสามารถในการแข่งขันตามมาตรฐานระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่น ที่ระดับค่าตอบแทนยังต่ำอยู่ บริษัทกำลังเพิ่มค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม

A man walks past advertising at the entrance of a Uniqlo store operated by Japan’s Fast Retailing in Tokyo on January 11, 2023. (Photo by Philip FONG / AFP)

ภายใต้นโยบายใหม่ เงินเดือนของผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยล่าสุดจะเพิ่มขึ้นจาก 255,000 เยนหรือราว 65,000 บาท เป็น 300,000 เยนหรือราว 76,000 บาทโดยเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 18 ขณะเดียวกัน เงินเดือนตำแหน่งผู้จัดการร้านใหม่ในปีแรกหรือปีที่สอง จะได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 35 เป็น 390,000 เยน หรือราว 99,000 บาท ส่วนพนักงานที่ได้รับค่าจ้างรายชั่วโมงหรือพนักงานพาร์ทไทม์ได้รับการขึ้นเงินเดือนในเดือนกันยายนปีที่แล้ว

การประกาศนี้มีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจาก นายคิชิดะเรียกร้องให้บริษัทต่าง ๆ เร่งติดตามการปรับขึ้นค่าจ้าง “มีสัญญาณเตือนภัยถึงภาวะเงินฝืดจะเกิดขึ้นหากการเติบโตของค่าจ้างยังคงเท่าเดิม ขณะที่ราคาสินค้าต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง” นายล่าช้ากว่าการปรับขึ้นราคา” นายคิชิดะกล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของญี่ปุ่นอ้างอิงจากตัวเลขที่เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน พบว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นหดตัวอย่างกะทันหันเป็นครั้งแรกในรอบปี เนื่องจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลดลงร้อยละ 1.2 ต่อปี ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานหลักของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 3.7% ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์น้ำมันในตะวันออกกลางเมื่อปี 2524

ทั้งนี้ นายทาดาชิ ยาไน ผู้บริหารระดับสูงของฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกในแวดวงธุรกิจญี่ปุ่น โดยในปี 2552 นายยาไน ได้ย้ายฐานผลิตสินค้าของบริษัทจากจีนไปยังกัมพูชาเพื่อลดต้นทุน ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวถือว่าได้รับความประสบความสำเร็จให้กับบริษัท รวมถึงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นายยาไนวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปลายปีที่แล้วเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ซึ่งเขายังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปพื้นฐานทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เพื่อช่วยปกป้องประชาชนจากผลกระทบของราคาสินค้าที่สูงขึ้น

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ