ใครเคยเป็น? หญิงกินอื่มๆ ปวดท้อง ลามไปปวดหลัง หมอตรวจเจอ "นิ่วอุดตัน" ข้างในส่วนนี้!

Home » ใครเคยเป็น? หญิงกินอื่มๆ ปวดท้อง ลามไปปวดหลัง หมอตรวจเจอ "นิ่วอุดตัน" ข้างในส่วนนี้!
ใครเคยเป็น? หญิงกินอื่มๆ ปวดท้อง ลามไปปวดหลัง หมอตรวจเจอ "นิ่วอุดตัน" ข้างในส่วนนี้!

หลังกินข้าวอิ่ม หญิงปวดท้องแปลบๆ นอนพักไม่หาย แถมลามไปปวดหลัง หมอตรวจเจอ “นิ่วอุดตัน” ส่วนนี้ เตือนกลุ่มคนที่ควรระวัง!

สำนักข่าว CTWANT จากไต้หวัน รายงานกรณีหญิงอายุ 56 ปี ชอบกินหม้อไฟรสเผ็ดและของทอด วันหนึ่งหลังจากนัดทานอาหารกับเพื่อนๆ และกลับถึงบ้าน จู่ๆ ก็รู้สึกเจ็บแปลบที่ช่องท้องส่วนบนขวา คิดว่าสักพักอาการจะดีขึ้น แต่อาการกลับเริ่มลามไปปวดตุบๆ ที่ช่องท้องส่วนบนขวา ไปถึงหลัง และค่อยๆ ขยายไปถึงไหล่ขวาด้วย ทำให้ต้องรีบไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล

ผลตรวจพบว่า นิ่วไปอุดตันถุงน้ำดีทำให้เกิดถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน เธอไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำตามคำแนะนำของแพทย์ เข้ารับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะก่อน จากนั้นจึงกำหนดผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง เพื่อลดโอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกในอนาคต

โดยการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้องจะช่วยให้มีแผลเพียงเล็กๆ ในช่องท้องประมาณ 1-2 ซม. เท่านั้น อาการปวดบาดแผลหลังผ่าตัดไม่รุนแรง แผลมีขนาดเล็ก และโอกาสติดเชื้อมีน้อย มีข้อดีคืออยู่โรงพยาบาลระยะสั้น ฟื้นตัวเร็ว และภาระผู้ป่วยน้อยลง

นิ่วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ผู้หญิง คนอ้วน และอาจไม่สามารถสังเกตอาการได้

ดร.เหมา ซื่อห่าว แพทย์ประจำแผนกศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอาจู กล่าวว่า นิ่วเป็นโรคระบบย่อยอาหารที่พบบ่อย ก่อตัวเป็นของแข็งในถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดี ตามสถิติพบว่ากลุ่มเสี่ยงมากที่สุด ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้หญิง โรคอ้วน ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม โรคนิ่วอาจไม่แสดงอาการเสมอไป ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งว่าเพียงพอที่จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้หรือไม่ ดังนั้น หลายคนจึงอาจไม่รู้ตัวในช่วงเวลาปกติ ในขณะที่อาการปวดเกร็งซ้ำๆ อย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันได้

คุณหมออธิบายว่า เมื่อถุงน้ำดีหดตัว นิ่วจะปิดกั้นทางออกของถุงน้ำดี ไม่สามารถขับน้ำดีออกได้อย่างราบรื่น ทำให้เกิดอาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาการปวดหดตัวหรือจุกเสียดทางเดินน้ำดีรุนแรง บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หากเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันได้

มีตัวเลือกการรักษามากมายสำหรับการผ่าตัดนิ่วแต่ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะกลับสู่ภาวะปกติภายใน 6 เดือนหลังการผ่าตัด และในอนาคตจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ท้องเสียและไม่สบายทางเดินอาหาร นอกจากนี้ แนะนำให้รับประทานอาหารเบาๆ เป็นหลัก และรับประทานใยอาหารให้มากขึ้น เพื่อช่วยย่อยอาหารและลดภาระของถุงน้ำดี 

  • ด.ช. 9 ขวบ มีนิ่วในท้อง 56 ก้อน หมอเผยต้นเหตุทำแม่ทรุด ที่แท้คือสิ่งที่ให้ลูกกินทุกวัน
  • เปิดสูตร “ซุป” ศาสตราจารย์ญี่ปุ่น เคล็ดลับไม่ป่วยเลย 27 ปี วัตถุดิบทุกอย่างมีขายในไทย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ