โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยใกล้ตัวที่ควรระวัง อายุน้อยก็เป็นได้ ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ

Home » โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยใกล้ตัวที่ควรระวัง อายุน้อยก็เป็นได้ ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ
1-107

โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยใกล้ที่ตัวควรระวัง ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุที่เป็นได้ เช็คเลย! หากมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ต้องหยุด

โรคกระดูกและข้อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสถิติผู้ป่วย โรคกระดูกและข้อในคนไทย พ.ศ. 2553 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 6 ล้านคนโดยข้อที่เสื่อมมากที่สุด คือ ข้อเข่า

วันนี้ ไบร์ท ทูเดย์ (Bright Today) พาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคข้อเข่าเสื่อม ให้ทุกคนได้ระมัดระวังภัยจากโรคนี้ เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังต้องทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบ
ตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย เป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยเนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุด เป็น 1 ใน 10 โรคที่เป็นสาเหตุสำคัญ อันก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอาย อีกทั้งมีผลกระทบสูงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

  • รวมคลิป ออกกำลังกายตอนเช้า ไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ ทำง่าย ได้ผลชัวร์!
  • ร่างกายต้องการคอนเสิร์ต! เทศกาลดนตรีปลายปี65 โดดมันส์สนั่นเวที
  • แปลเนื้อเพลง Mind Games มิลลิ feat. แจ็คสัน หวัง จากค่าย88rising
ข้อเข่าเสื่อม4
ขอบคุณรูปภาพ : freepik

สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิด โรคข้อเข่าเสื่อม

  • เป็นผลจากความเสื่อม และการใช้เข่าที่ไม่ถูกต้องมานาน เช่น ออกกำลังกายผิดท่า ลักษณะท่านั่ง
  • ความอ้วน น้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน เช่น กระดูกบริเวณเข่าหัก, ข้อเข่าเคลื่อนหลุด, เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาด
  • โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
  • อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
  • เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า

อาการเริ่มแรกของ โรคข้อเข่าเสื่อม ที่เตือนให้รู้ว่าเข่ากำลังมีปัญหา

เจ็บปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นปวดแบบเมื่อยๆพอทน ปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือในรายที่เข่าได้รับบาดเจ็บ จะปวดแบบเฉียบพลันและปวดรุนแรง

  • เข่าบวม เข่าที่บวมทันทีภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ มักเกิดจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า บวมที่เกิดขึ้นช้าๆ มักเกิดจากมีความผิดปกติขององค์ประกอบภายในข้อเอง
  • เข่าอ่อนหรือเข่าสะดุดติด อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากมีบางสิ่งบางอย่างภายในข้อ ทำให้งอ หรือเหยียดเข่าในทันทีทันใดไม่ได้ เช่น เส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนที่ฉีกขาด หรือเศษกระดูกที่หยุดอยู่ในข้อ
  • เข่าฝืดหรือยึดติด อาจเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน นั่งนานๆ แล้วลุกขึ้น หรือเกิดขึ้นภายหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า
ข้อเข่าเสื่อม1
ขอบคุณรูปภาพ : freepik

วิธีป้องกันไม่ให้เกิด โรคข้อเข่าเสื่อม

  • ควบคุมไม่ให้อ้วนเกินไป โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
  • บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นให้แข็งแรง (วิธีการบริหารดูในการออกกำลังกาย)
  • ลดการใช้งานข้อนั้นในท่าที่ผิดจากธรรมชาติ เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ คุกเข่าและการนั่งขัดสมาธินานเกินไป เป็นต้น
  • ขณะที่มีอาการปวด ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาภาวะอักเสบของข้อ แล้วเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • อาการปวดเริ่มแรกสามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอล, การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบจะช่วยลดการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ ขณะที่มีอาการปวดอยู่ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินมาก ถ้าเดินควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดินและใส่สนับเข่าเพื่อช่วยให้ข้อเข่ากระชับ
  • ควรหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น เช่น การนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิและนั่งยองๆ ควรนั่งเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งเหยียดขาตรง อย่านั่งนานๆ ควรเปลี่ยนอริยาบถบ่อยๆ และควรใช้โถส้วมแบบนั่งแทนแบบนั่งยองๆ
  • ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกดกระแทกที่ข้อเข่าเวลาเดินหรือยืน
  • บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าอย่างสม่ำเสมอ
  • ถ้าอาการไม่ทุเลาควรปรึกษาแพทย์
3-97
ขอบคุณรูปภาพ : freepik
.jpg
ขอบคุณรูปภาพ : freepik

วิธีการรักษา โรคข้อเข่าอักเสบ

  1. การรักษาทั่วไป
  2. การรักษาโดยการใช้ยา
  3. การรักษาโดยการผ่าตัด
  4. การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า
  5. การใช้เลือดเป็นยา รักษาโรคเข่าเสื่อม และโรคเอ็น
  6. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

อย่างไรก็ตามเราควรปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อมเช่น การยกของหนัก การนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำเพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ เพื่อป้องกันการให้เกิด โรคข้อเข่าเสื่อม

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเอกชัย

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ