แม้ว่าการระบาดของ โควิด-19 จะผ่านไปแล้ว แต่ยังคงมีผู้ป่วยจากเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่กลายพันธุ์ออกเป็นหลายสายพันธุ์ แต่อาการป่วยนั้น มีความรุนแรงลดน้อยลงไปจากเดิมมาก แต่ยังไงก็ตาม การที่ไม่ติดเชื้อเลย หรือไม่ติดเชื้อซ้ำย่อมเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
ล่าสุดผลงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Atherosclerosis, Thrombosis และ Vascular Biology เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยอาศัยเวชระเบียนจากคนไข้ประมาณ 1 ใน 4 ของคน 1 ล้านคนที่ลงทะเบียนในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า UK Biobank พบว่า คนไข้ที่มีผลตรวจ โควิด-19 เป็นบวกในช่วงปี 2020 มีความเสี่ยงที่จะมีอาการหัวใจวาย หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเสียชีวิตได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ติดเชื้อ โควิด-19 ในช่วงเวลานั้นถึง 2 เท่า
โดยข้อมูลชี้ว่ามีคนไข้ที่มีผลตรวจ โควิด-19 เป็นบวกในช่วงปี 2020 จำนวนกว่า 11,000 คน ในจำนวนนี้มีคนไข้เกือบ 3,000 คนที่ต้องนอนโรงพยาบาล โดยนักวิจัยได้เปรียบเทียบคนกลุ่มนี้กับประชาชนกว่า 222,000 คนในฐานข้อมูลเดียวกันที่ไม่เคยติดเชื้อ โควิด-19 ในช่วงเวลาดังกล่าวเลย
ผลสรุปว่าในช่วงระยะเวลา 3 ปีหลังการติดเชื้อ คนไข้ที่ติดโควิดในช่วงปี 2020 มีความเสี่ยงที่จะมีอาการหัวใจวาย หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเสียชีวิตได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ติดเชื้อ โควิด-19 ในช่วงเวลานั้นถึง 2 เท่า นอกจากนี้ในคนป่วยที่ต้องแอดมิทเข้าโรงพยาบาล และมีอาการป่วยรุนแรง ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจมากขึ้นตามไปด้วย หรือคิดเป็นมากกว่า 3 เท่าของผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่ได้เข้าโรงพยาบาล โดยดูเหมือนว่าโรค โควิด-19 จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับหัวใจ พอ ๆ กับโรคเบาหวานหรือโรคหลอดเลือดส่วนปลายหรือ PAD อีกด้วย
ก่อนหน้านี้ผลจากการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งชี้ว่า มีชาวอเมริกันมากถึงกว่า 3.5 ล้านคนที่ต้องเข้ารับการรักษาอาการ โควิด ในโรงพยาบาลในระหว่างช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2020 และเมษายนปี 2021
- โควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง ล่าสุด! พบผู้ติดเชื้อ 287 ราย เสียชีวิต 3 ราย
- เปิดข้อมูลโควิด-19 โอมิครอน ‘XEC’ สายพันธุ์ย่อยใหม่ หวั่นระบาดครั้งใหญ่
- ไทยเครียด! ยอด ‘โควิด-19’ พุ่งฉุดไม่อยู่ ป่วย 3.2 พัน เสียชีวิตแล้ว 16 ราย
ดร. สแตนลีย์ ฮาเซน ผู้เขียนงานวิจัย และเป็นประธานภาควิชา หัวใจและหลอดเลือดและวิทยาศาสตร์การเผาผลาญในร่างกายแห่ง คลิฟแลนด์ คลินิก กล่าวว่า “ไม่มีสัญญาณที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว” ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในการค้นพบที่น่าสนใจและน่าประหลาดใจ
ในขณะที่ทางด้านของ ดร.แพทริเซีย เบสต์ แพทย์ทางด้านโรคหัวใจจาก มาโยคลินิก ในเมืองโรเชสเตอร์ รัฐมินนิโซตา ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยกล่าวว่าการค้นพบนี้น่าทึ่งและดูเหมือนจะเป็นความแตกต่างที่ไม่เหมือนใครของโรค โควิด-19 เพราะบางครั้งการติดเชื้อบางอย่างอาจจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจได้บ้าง เช่น การเป็นไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งโรคติดเชื้อทั้งแบคทีเรียหรือไวรัส ที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ทั้งสิ้น แต่เมื่อหายป่วยจากโรคนั้นแล้ว ภาวะเสี่ยงนั้นก็จะหายไปด้วย ดังนั้นโรคโควิดอาจจะส่งผลกระทบหนักหนากว่าที่คิดไว้ โดยแม้แต่ทีมนักวิจัยที่เผยงานวิจัยเรื่องนี้ก็ยังไม่มีคำตอบว่าทำไมโควิดถึงมีผลกระทบระยะยาวต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดเช่นนี้
ผลวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าเชื้อโควิดสามารถติดเชื้อในเซลล์ที่เรียงตามผนังหลอดเลือด นอกจากนี้ ยังพบไวรัสในแผ่นโลหะเหนียวซึ่งก่อตัวในหลอดเลือดแดง ซึ่งสามารถแตกออก และทำให้หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้
ซึ่งทางด้านของ ดร. ฮูมาน อัลลายี ศาสตราจารย์ด้านชีวเคมีและอณูพันธุศาสตร์ที่ศูนย์การแพทย์ Keck School แห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียระบุว่า อาจมีบางสิ่งที่โควิดไปทำกับผนังหลอดเลือดแดงและระบบหลอดเลือดจนทำให้อวัยวะดังกล่าวได้รับความเสียหายถาวรและยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
ดร. อัลลายี กล่าวว่า โควิดอาจทำให้การสะสมของไขมันในหลอดเลือดภายในผนังหลอดเลือดไม่เสถียร และอาจทำให้มีแนวโน้มที่จะแตกออกและก่อให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่ายขึ้น
นักวิจัยกล่าวว่า พวกเขาทราบดีว่าผู้ที่มีกรุ๊ปเลือดอื่นที่ไม่ใช่ O เช่น A, B หรือ AB มี ความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด สูงกว่า กรุ๊ปเลือดยังดูเหมือนจะมีบทบาทในความเสี่ยงที่จะติดโควิดด้วย คนที่มีเลือดกรุ๊ป O ดูเหมือนว่าจะได้รับการปกป้องในระดับหนึ่งเช่นกัน
จากการศึกษาล่าสุด พบว่าผู้ที่มีเลือดกรุ๊ป O ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากติด โควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง ไม่สูงเท่ากับ ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ป A, B หรือ AB แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะปลอดภัย พวกเขายังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่า แต่กรุ๊ปเลือดของพวกเขาเป็นเพียงตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่ต้องพิจารณา
นักวิจัยเชื่อว่ายีนที่เข้ารหัสหมู่เลือดอาจมีบทบาทในการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองหลังจากติดโควิด แต่ยังไม่แน่ใจว่ามีบทบาทอย่างไร
ผลการศึกษาครั้งนี้ยังมีข่าวดีด้วย ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแต่รับประทาน แอสไพริน ขนาดต่ำก็ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าความเสี่ยงดังกล่าวสามารถบรรเทาลงได้ เฮเซนกล่าว
ข้อมูลจาก ไทยรัฐ, CNN, Keck school