วันที่ 30 กันยายน 2567 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 – 28 กันยายน 2567
เบื้องต้น พบมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 287 ราย เฉลี่ยวันละ 41 ราย ขณะที่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ (รายสัปดาห์) 3 ราย มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 161 ราย และผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ 56 ราย
ขณะนี้ ผู้ป่วยสะสม 39,063 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567) และ เสียชีวิตสะสม 207 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567)
ประเทศไทยประกาศให้ โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น แต่สถานการณ์การระบาดยังไม่ได้หายไป ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 ข้อมูลที่รายงานในระบบพบว่ายอดผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้น ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2567 ยังคงมีอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
- นายกฯ นัดประชุม ก.ตร. เลือก ผบ.ตร.คนที่15 คาดเสนอชื่อ ‘บิ๊กต่าย’ 7 ต.ค.
- ทนายความ แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์ ปัดสื่อ ไม่ได้หนีไปไหน ยัน ไม่กลัวถ้าโดนสอบ
- หนุ่มเซ็ง! ซื้อตั๋วรถไฟ หวังกลับบ้าน แต่โดนไล่ที่กลางทาง ด้วยเหตุผลสุดงง
ดังนั้นมาตรการทางสาธารณสุข การใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และหมั่นล้างมือ ยังคงเป็นมาตรการที่ช่วยลดการแพร่เชื้อ และลดโอกาสการรับเชื้อโรคไวรัสทางเดินหายใจทุกชนิด
ต่สำหรับอาการโควิดล่าสุด ปี 2024 มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดย นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ให้ข้อมูลถึงอาการโควิดหลังสงกรานต์ ว่าปัจจุบันไทยยังเป็นสายพันธุ์ JN.1 และรูปแบบของอาการโควิดเปลี่ยนไป เป็นการบ่งชี้ว่าความรุนแรงน้อยลง จากเดิมจะมีอาการทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด กลายเป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก แทนมากกว่า โดยผู้ที่ติดเชื้อในประเทศมีอาการเด่น ดังนี้
- เจ็บคอมากๆ
- มีไข้ต่ำ
- มีน้ำมูก
- คัดจมูกเล็กน้อย
- จมูกได้กลิ่นไม่ค่อยไอเหมือนเดิมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยโควิดที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศจะมีอาการไข้ มีอาการไอมากกว่า แต่ไม่ค่อยเจ็บคอมากเท่าการติดเชื้อในประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นเพราะติดเชื้อคนละสายพันธุ์