โควิด ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ยันชัด สวมหน้ากาก-เว้นระยะห่างสู้โอมิครอนได้

Home » โควิด ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ยันชัด สวมหน้ากาก-เว้นระยะห่างสู้โอมิครอนได้


โควิด ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ยันชัด สวมหน้ากาก-เว้นระยะห่างสู้โอมิครอนได้

โควิด ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ยันชัด สวมหน้ากาก-เว้นระยะห่างสู้โอมิครอนได้

โควิด – วันที่ 3 ก.พ. อาซาฮีชินบุนรายงานว่า โมเดลจำลองด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์จากประเทศญี่ปุ่นให้ผลยืนยันชัดเจนว่าการสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างทางสังคมนั้นสามารถช่วยลดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19 ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โมเดลจำลองดังกล่าวเป็นผลงานจากสถาบันวิจัยริเค็น โดยอาศัยข้อมูลจากสถานการณ์การระบาดจริงในญี่ปุ่น กำหนดความสามารถในการระบาดของชนิดกลายพันธุ์โอมิครอนมากกว่าเดลต้าเป็น 1.5 เท่า รันบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ฟูกาคุ

สถานการณ์แรกเป็นบุคคลที่ติดเชื้อชนิดโอมิครอนและไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยขณะสนทนากับอีกคึนหนึ่งเป็นเวลา 15 นาที ที่ระยะห่าง 1 เมตร เฉลี่ยแล้วมีโอกาสแพร่เชื้อสูงถึงร้อยละ 60 โดยเฉลี่ย แต่สถานการณ์ส่วนใหญ่นั้นมีโอกาสมากกว่าร้อยละ 90 แต่หากเป็นสถานการณ์เดียวกันแต่เป็นเชื้อชนิดเดลต้า พบว่าความเสี่ยงเฉลี่ยลดลงมาเหลือร้อยละ 50-80

โควิด

ร้านอาหารในญี่ปุ่นสาธิตนวัตกรรมผนังกั้นส่วนบุคคล (รอยเตอร์)

เมื่อคณะนักวิจัยใช้ค่าเดิมทั้งหมดแต่เพิ่มระยะห่างเป็น 2 เมตร (ไม่สวมแมส) ตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนด พบว่าโอกาสติดลดลงเหลือร้อยละ 20-60 สำหรับชนิดโอมิครอน

ที่น่าสนใจคือเมื่อคณะนักวิจัยเปลี่ยนเงื่อนไขแบบจำลอง โดยให้บุคคลสวมหน้ากากอนามัย แม้จะเป็นหน้ากากผ้าธรรมดาทั่วไป พบว่าโอกาสติดชนิดโอมิครอนสูงสุดนั้นลดเหลือเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ถึงจะยืนสนทนากันที่ระยะเพียง 50 เซนติเมตร

ทว่า โอกาสจะเพิ่มเป็นร้อยละ 30 เพื่อสนทนาที่ระยะ 25 ซม. แต่หากเพิ่มระยะห่างเป็น 1 เมตร พบว่าโอกาสติดชรนิดโอมิครอนนั้นแทบเป็นศูนย์

นอกจากนี้ แบบจำลองยังรวมถึงสถานการณ์ที่ผู้ใช้บริการร้านอาหารจำนวน 16 คน นั่งรับประทานอาหารภายในร้าน พบว่าหากเป็นพื้นที่ปิดและมีหนึ่งใน 16 คนติดเชื้อนั้น คนที่เหลือจะมีโอกาสติดเชื้อได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมงขึ้นไป หากมีระบบพัดลมระบายอากาศแบบทั่วไป

หากทางร้านมีระบบเครื่องปรับอากาศ หรือระบบท่อลมระบายอากาศจะช่วยลดโอกาสติดลงได้ครึ่งหนึ่ง และหากใช้แผงกั้นระหว่างบุคคลจะยิ่งทำให้โอกาสติดลดลงเหลือ 1 ใน 3

ข้อมูลดังกล่าวเผยให้เห็นว่าแม้เชื้อจะสามารถถูกดูดเข้าสู่เครื่องปรับอากาศและท่อลมระบายอากาศได้ก็จริง แต่ระบบเหล่านี้มีความสามารถในการช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้

ศาสตราจารย์มาโคโตะ ทสึโบคุระ ผู้นำคณะนักวิจัย กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องกลับไปสู่พื้นฐานการป้องกันที่สำคัญอย่างการสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างทางสังคม ขณะที่รัฐจำเป็นต้องมีมาตรการสกัดกั้นที่มากกว่านี้ในญี่ปุ่น หากต้องการให้ปริมาณการติดลดลงกว่านี้

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ