หมู-ผัก-ไข่ ปราจีนบุรี ได้ฤกษ์ ขึ้นราคา บ่นอุบหลังน้ำมันแพง ด้าน พ่อค้าแม่ค้า โอดแบกรับภาระมาก ๆ ลูกค้าซื้อน้อยลง วอนติดป้ายราคาให้ชัดเจน
เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 3 พ.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี เกี่ยวกับสถานการณ์ราคาจำหน่ายอาหาร ว่า จากการสำรวจตลาดพบที่ ตลาดหน้าค่ายจักรพงษ์ ต.ดงพระราม อ.เมืองปราจีนบุรี พ่อค้าได้ขึ้นป้ายราคา พบราคาเนื้อสุกรแตะราคาสูงกว่า 200 บาทขึ้นรอไว้แล้วล่วงหน้า โดยต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าน้ำมันแพง
สำหรับราคาเนื้อแดง-สะโพก ราคา 200 บาท/กก., ไหล่ 200 บาท/กก., สันใน 250 บาท/กก., สันนอก 250 บาท/กก., สามชั้น 250 บาท/กก., เนื้อหมูบด 180 บาท/กก., ราคาขายซี่โครง กก.ละ 150 บาท, ราคาคอหมู กก.ละ 200 บาท/กก., ราคาขายไข่ไก่เบอร์ 2 ในห้างพบ ราคาแผงละ 119 บาท
ส่วนที่ ร้านสายพิณ เขียงหมูตลาดหน้าค่ายจักรพงษ์ หมูเนื้อแดงสะโพก ราคา กก.ละ 180 บาท, หมูสามชั้น กก.ละ 200 กว่าบาท, หมูบดปนมัน กก.ละ 130 บาท, หมูบดปนเนื้อ กก.ละ 150 บาท, กระดูกอ่อน กก.ละ 200 บาท/กก.
ด้าน นายประมวล เจ้าของร้านขายหมูอีกราย เปิดเผยว่า ราคาขายเนื้อหมูสันนอก สามชั้น ราคา กก.ละ 200 บาท, สะโพกขายส่ง 180 บาท/กก., ขายปลีก 190 บาท/กก., กระดูกอ่อน 180 บาท/กก. และคอสั้น 150 บาท/กก. ซึ่งมีคนซื้อแต่ซื้อจำนวนเนื้อจำกัดและลดลงจากเดิม
นางสมหมาย อายุ 61 ปี แม่ค้าเขียงหมู กล่าวว่า ราคาหน้าฟาร์ม 102 บาท/กก.หมูเนื้อ, แดงสันนอก, สามชั้น ราคา 200 บาท/กก., เนื้อสะโพก กระดูกอ่อน 180 บาท/กก., กระดูกเล้ง 60 บาท/กก., หมูติดมัน 160 บาท/กก. และหมูบดติดมัน 140 บาท/กก. ซึ่งขายวันละ 1-2 ตัว พบว่าจำนวนคนซื้อลดลงกว่าครึ่ง จากซื้อ 1 กิโลกรัมเหลือครึ่งกิโลกรัม บอกว่ายังไม่ขึ้นราคา คนไม่มีจะซื้อกันอยู่แล้ว คนเงียบ
ด้าน นางเดือน แม่ค้าขายไข่ไก่ กล่าวว่า ไข่เบอร์ 0 ราคา 140 บาท/แผง, เบอร์ 1 ราคา 120 บาท/แผง ซึ่งราคาแพงขึ้นจากเดิมมากว่า 1 สัปดาห์แล้ว
นางบุญเรือน อายุ 65 ปี แม่ค้าจำหน่ายผัก กล่าวว่า ตนรับผักมาขาย บางส่วนปลูกขายเองก็มีราคาแพงขายไม่ได้ พบผู้ซื้อ ๆ น้อยลง หรือพากันประหยัดการซื้อกันมากขึ้น ทั้งนี้ รับผักจากพ่อค้าคนกลางมาจำหน่ายร่วมกับผลผลิตของตัวเองบางอย่างที่ไม่มี อาทิ ราคาผักแพงขึ้นมาก โดยเฉพาะจำพวก ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ มาจำหน่าย ถุงละ 10 กิโลกรัม ราคา 250 บาท,
นางบุญเรือน กล่าวต่อว่า ถั่วฝักยาวมัดละ 5 กิโลกรัม ราคา 300 บาทต้องแบ่งขายราคาเพื่อส่งทุนคืนราคาขายแค่เพียงกิโลกรัมละ 60 บาท เพราะขายไม่ได้กลัวฝ่อ-เน่า ส่วนแฟงมาจากสวนปลูกเองขายไม่ออก ราคาขายเอง เพียงกก.ละ 28 บาท แต่ขายไม่ได้ ไม่มีคนซื้อผลผลิต และตนยังทำสวนผลไม้ผสมผสาน ปลูกทุเรียน, ปลูกกระท้อน สวนครัวอื่น ๆ กำลังให้ผลผลิต
นางบุญเรือน กล่าวอีกว่า แต่จะขายได้กำไรมากน้อยหรือไม่ยังไม่รู้เพราะราคาน้ำมันแพง ค่าไฟสูบน้ำรดต้นไม้แพง ค่าจ้างห่อกระท้อนแพงและขาดแคลนคนงานรับจ้าง โดยราคาค่าจ้างแรงงาน คนห่อกระท้อนคิดราคา 100ลูก ราคา 100-150 บาท พร้อมต้นทุน ราคาปุ๋ยแพงมาก ๆ ต้นทุนสูง ลูกละ 1,600-1,800 บาท/ลูก เกษตรกรชาวสวนต้องแบกรับรับภาระมาก ๆ
ส่วนในเขตพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี พ่อค้าแม่ค้าขายเนื้อหมูในราคาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจแบบนี้ราคาน้ำมันขึ้นต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น คิดว่าของทุกอย่างมีโอกาสขึ้นได้ทั้งหมด รวมทั้งเกิดจากปัจจัยภายนอกเราไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคา แต่ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ติดป้ายราคาสินค้าแล้วก็ขายให้ตรงตามราคาที่ติดป้ายไว้ มีการสำรวจตลาด ออกทุกวันตอนเย็น