วันที่ 17 กันยายน 2567 เว็บไซต์ข่าว CNN ได้มีการรายงานว่า รัฐบาลซิมบับเว ได้อนุมัติแผนการฆ่าช้างประมาณ 200 ตัวเพื่อชำแหละเนื้อแจกจ่ายให้กันประชาชนเพื่อนำไปบริโภคกัน หลังจากซิมบับเวประสบภาวะอดอยากจากภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายรอบ 10 ปี
นายทินาเช ฟาราโว โฆษกองค์การอุทยานและสัตว์ป่าของ ซิมบับเว เล่าว่า ภัยแล้งทำให้ชาวซิมบับเวกว่าครึ่งประเทศกำลังเผชิญกับความหิวโหยอย่างรุนแรง (acute hunger) ทำให้รัฐบาลต้องออกแผนฉุกเฉินในการฆ่าช้าง 200 ตัว ขณะที่ปัจจุบัน ซิมบับเว เป็นประเทศที่มีช้างมากที่สุดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศบอตสวานา โดยมีอยู่ 84,000 ตัว ในขณะที่ผืนป่ารองรับได้ประมาณ 45,000 ตัว
- เกินไป! ร้านบุฟเฟ่ต์ ปัตตานี ลูกค้าต่อแถวเอาเนื้อสไลด์ แต่บางจนเห็นถาด
- ตราบาปชีวิต! ‘ลูกน้องไม่สบาย’ ถูกหัวหน้ากดดัน ให้มาทำงาน จนป่วยตาย
- นายกฯ เผย! ข่าวดี ลดค่าน้ำ-ค่าไฟ ให้ผู้ประสบภัยอุทกภัย 2 เดือน
ในส่วนทางด้านของนายซิเธอึมบิโซ โยนี รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมซิมบับเว กล่าวว่า เขาสนับสนุนแผนการฆ่าช้างแก้ปัญหาอดอยากของปนน เนื่องจาก ซิมบับเว มีช้างมากเกินความจำเป็น และมีมากกว่าที่ป่าจะรองรับได้ และออกมาสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอยู่บ่อย ๆ
โดยจะนำเนื้อช้างไปตากแห้งก่อน และแพคใส่ถุง พร้อมจัดส่งให้กับประชาชนในชุมชนต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ประเทศซิมบับเว และ ประเทศนามิเบีย เป็นสองประเทศจากประเทศทั่วแอฟริกาตอนใต้ที่ประสบภัยแล้งรุนแรง ที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้สภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติ ส่งผลให้ภูมิภาคนี้มีฝนตกน้อยมาก ทำให้เสี่ยงภัยแล้งตั้งแต่ต้นปี