แม่อุ้มลูก 1 ขวบ วิ่งเข้าห้องฉุกเฉิน! รู้สาเหตุแทบทรุด หมอเรียก "ปีศาจร้ายตัวที่ 2"

Home » แม่อุ้มลูก 1 ขวบ วิ่งเข้าห้องฉุกเฉิน! รู้สาเหตุแทบทรุด หมอเรียก "ปีศาจร้ายตัวที่ 2"
แม่อุ้มลูก 1 ขวบ วิ่งเข้าห้องฉุกเฉิน! รู้สาเหตุแทบทรุด หมอเรียก "ปีศาจร้ายตัวที่ 2"

ลูกชายวัย 1 ขวบ อาเจียนไม่หยุด! หมอพบจุดขาวน่ากลัว 10 จุดในท้อง ทะลุลำไส้ แม่ผวา ไม่กล้าให้ลูกเล่นอีก

เว็บไซต์ ETtoday รายงานว่า แม่คนหนึ่งรีบอุ้มลูกชายวัยเพียง 1 ขวบกว่าๆ มายังห้องฉุกเฉินเด็กด้วยความร้อนใจ เพราะลูกมีอาการเบื่ออาหาร 2 วัน อาเจียน ท้องอืด แม้จะพาไปคลินิกและรับยามาแล้ว แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น ยิ่งเห็นลูกไม่ร้อง ไม่งอแง และดูซึมเศร้าก็ยิ่งน่ากังวล

แพทย์จึงรีบจัดตรวจเอ็กซ์เรย์ช่องท้องทันที และพบว่า บัคกี้บอล หรือ ลูกปัดแม่เหล็ก โดยบัคกี้บอลทั้ง 10 เม็ดได้ติดกันเป็นพวง จนทะลุลำไส้และเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

ดร.อู๋ชางเถิง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญห้องฉุกเฉินเด็ก จากโรงพยาบาลฉางเกิงหลินโข่ว ของไต้หวัน ได้โพสต์ในเพจว่า เขาเรียกบัคกี้บอล ว่าเป็น “ปีศาจร้ายตัวที่ 2” ซึ่งแม้จะรองจาก “ปีศาจร้ายตัวใหญ่” อย่างถ่านกระดุม แต่ก็อันตรายไม่แพ้กัน

เขาย้อนนึกถึงเหตุการณ์เมื่อหลายปีก่อน ในช่วงเย็นวันหนึ่ง มีแม่คนหนึ่งวิ่งเข้าห้องฉุกเฉินด้วยท่าทางตื่นตระหนก พลางร้องว่า “หมอ ช่วยลูกฉันด้วย!” ลูกน้อยวัยเพียง 1 ขวบกว่าในอ้อมแขนดูเงียบสนิท ไม่ร้องไม่อาละวาด แต่เมื่อเข้าตรวจคัดกรองฉุกเฉินพบว่าเด็กมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงและความดันโลหิตต่ำ

หลังจากที่ทีมแพทย์ช่วยกันควบคุมสัญญาณชีพของเด็กให้คงที่แล้ว ได้ทำการตรวจเอกซเรย์ช่องท้อง และพบว่า “เป็นบัคกี้บอลอีกแล้ว! จำนวนถึง 10 เม็ด!”

การกลืนบัคกี้บอลทำให้ลำไส้ของเด็กทะลุและเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ดร.อู๋ชางเถิง ตกใจมาก และจึงรีบติดต่อศัลยแพทย์เด็กให้พาเด็กชายเข้าห้องผ่าตัดด่วนเพื่อเอาบัคกี้บอลทั้ง 10 เม็ดออก เมื่อแม่เห็นบัคกี้บอลที่เอาออกมา ก็ยังคงตกใจไม่หายและบอกว่า “ต่อไปนี้จะไม่กล้าให้ลูกเล่นของแบบนี้อีกแล้ว”

ดร.อู๋ชางเถิง อธิบายว่า บัคกี้บอลมักดูเหมือน “ลูกอมเม็ดเล็กๆ” ทำให้เด็กหลายคนเผลอกลืนเข้าไปเพราะความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงที่ไม่สามารถย้อนคืนได้ เขาเตือนว่าแม้ลูกบอลแม่เหล็กจะเล็ก แต่มีแรงแม่เหล็กสูงมาก

หากกลืนเข้าไปเพียงเม็ดเดียวอาจขับออกเองได้ตามธรรมชาติ แต่หากกลืนเกิน 2 เม็ดขึ้นไป ลูกบอลเหล่านี้จะดึงดูดกันเองในลำไส้ ระหว่างการเคลื่อนที่ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกบอลติดกันเป็นกลุ่มหรือพวง และด้วยแรงดูดที่รุนแรงนี้ อาจไปขวางการไหลเวียนของเลือดจนผนังลำไส้เกิดเนื้อตาย และนำไปสู่การทะลุของลำไส้

ทั้งนี้ เขายังเตือนว่า ตั้งแต่เด็กเผลอกลืนลูกบอลแม่เหล็กจนถึงขั้นที่ลำไส้เนื้อตายหรือลำไส้ทะลุ จะมีระยะเวลาหนึ่งที่เริ่มแรกไม่มีอาการชัดเจน หากเด็กไม่สามารถบอกเองได้ ผู้ดูแลมักจะตรวจไม่พบอาการผิดปกติ ซึ่งเมื่อเด็กเริ่มมีอาการปวดท้องหรืออาเจียน ความเสียหายก็อาจรุนแรงไปแล้ว จึงขอเตือนผู้ปกครองให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ