แม่ฟังแล้วจุกอก ลูก 4 ขวบ “ฝันร้าย” หลุดละเมอถึงครู ลุยเอาผิดถึง รร.อนุบาล!

Home » แม่ฟังแล้วจุกอก ลูก 4 ขวบ “ฝันร้าย” หลุดละเมอถึงครู ลุยเอาผิดถึง รร.อนุบาล!
แม่ฟังแล้วจุกอก ลูก 4 ขวบ “ฝันร้าย” หลุดละเมอถึงครู ลุยเอาผิดถึง รร.อนุบาล!

แม่เอะใจ ลูกชาย 4 ขวบ เพิ่งเข้าเรียนอนุบาล กลับบ้านมา “ละเมอ” บ่อยมาก ตั้งใจฟังจนจบแทบไม่เชื่อหู แจ้งเอาผิดครูทันที!

โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ ทักษะชีวิต และความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับเพื่อนและครูแก่เด็กๆ อย่างไรก็ตาม คุณครูบางคนขาดประสบการณ์และทักษะทางวิชาชีพ ทำให้เด็กตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาและสุขภาพกายของพวกเขา

คุณแม่จากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน เผยเรื่องราวที่น่าสะเทือนใจสำหรับผู้ปกครองทุกคน โดยเล่าว่าทุกๆ วันเธอจะยุ่งอยู่กับการทำงาน ดังนั้นการพาลูกชายวัย 4 ขวบไปโรงเรียนอนุบาล และดูแลเขาที่บ้านจึงกลายเป็นหน้าที่ของคุณย่า แต่ละวันดูจะผ่านไปอย่างปกติ กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เธอสังเกตได้ว่าลูกชายมักจะนอนละเมอ

ตอนแรกผู้เป็นแม่แค่คิดว่าลูกหลับฝันจึงไม่ได้สนใจ อย่างไรก็ตาม วันหนึ่งเมื่อเธอตั้งใจฟังดีๆ ก็ได้ยินลูกพูดชื่อครูคนหนึ่งอย่างชัดเจนว่า “ครู… อย่าตีหนู ” เสียงละเมอสั้นๆ นี้ทำให้เธอตื่นตระหนกทันที และสงสัยว่ามีอันตรายเกิดขึ้นที่โรงเรียนหรือไม่ เพราะครูคนดังกล่าวเป็นครูประจำชั้นของลูกชาย

เมื่อลูกตื่นขึ้นมาเธอจึงค่อยๆ สอบถามอย่างใจเย็น ในที่สุดเด็กชายวัยเพียง 4 ขวบก็พูดความรู้สึกออกมาตรงๆ ว่า “ครู… ทุบตีหนู ครูไม่ชอบหนู”

หลังจากนั้นผู้เป็นแม่ก็ปะติดปะต่อเรื่องราว และจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่ครูบ่นกับเธอด้วยว่าลูกของเธอไม่ค่อยเชื่อฟัง อย่างไรก็ตาม ตอนนั้นคิดเพียงว่าทุกอย่างอยู่ในระดับปกติของเด็กในวัยนี้ เธอไม่คาดคิดว่าความประมาทของเธอจะผลักดันสิ่งต่างๆดำเนินมาไกลและรุนแรงขนาดนี้

เมื่อเรื่องนี้กลายเป็นประเด็น คุณครูประจำชั้นกลับปฏิเสธที่จะยอมรับความผิดฐานทุบตีนักเรียน ยืนยันว่าเธอดูแลเด็กอย่างอ่อนโยนเสมอ และบอกด้วยว่าเด็กชายคนดังกล่าวไม่ค่อยเชื่อฟัง ทำให้เหตุการณ์นี้ยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน โดยโรงเรียนสัญญาว่าจะดำเนินการลงโทษอย่างเข้มงวด หากพบว่ามีความรุนแรงเกิดขึ้นจริง

ทั้งนี้ เด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนมักกลัวและไม่กล้าบอกพ่อแม่เกี่ยวกับปัญหาที่พบในโรงเรียน ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กถูกคุกคามจากผู้ใหญ่ผู้มีอิทธิพล ดังนั้น ผู้ปกครองจะต้องคอยสังเกตปัญหาที่บุตรหลานอาจกำลังเผชิญที่โรงเรียน และจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซงโดยทันที ทีสำคัญคือต้องเลือกใช้แนวทางแก้ไขที่เหมาะสมด้วย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ