แพลงก์ตอนบลูมเกิดจากอะไร? หรือเป็นคำเตือนมนุษย์ทำลายธรรมชาติ รอวันถูกเอาคืน

Home » แพลงก์ตอนบลูมเกิดจากอะไร? หรือเป็นคำเตือนมนุษย์ทำลายธรรมชาติ รอวันถูกเอาคืน
แพลงก์ตอนบลูมเกิดจากอะไร? หรือเป็นคำเตือนมนุษย์ทำลายธรรมชาติ รอวันถูกเอาคืน

แพลงก์ตอนบลูม (Plankton Bloom) ที่ทำให้น้ำทะเลกลายเป็นสีเขียว ที่มักพบเห็นได้ในพื้นที่ชายฝั่ง ไม่เพียงแต่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ตามปกติเท่านั้น แต่การที่เกิดบ่อยครั้งขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา อาจเป็นสัญญาณจากธรรมชาติว่าโลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง ที่อาจนำมาสู่ภัยต่อมนุษย์ก็ได้ แล้วปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง

แพลงก์ตอนบลูม มีสาเหตุจากอะไร

แพลงก์ตอนบลูม เกิดมาจากหลายปัจจัย ดังนี้

  • สารอาหารในทะเลเข้มข้น
    แพลงก์ตอนพืช (ไฟโตแพลงก์ตอน) เป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้นก็ต้องการสารอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสส ดังนั้นเมื่อมีสารอาหารเหล่านี้อยู่ในน้ำทะเลเป็นปริมาณมาก แพลงก์ตอนพืชจะขยายพันธุ์ได้เร็ว ทำให้เกิดมีจำนวนมหาศาลจนเข้มข้นกลายเป็นสีเขียวหรือสีต่างๆ ตามชนิดของแพลงก์ตอนพืชเหล่านั้น
  • แสงแดดจัด
    นอกจากสารอาหาร แพลงก์ตอนพืชยังต้องการแสงแดดเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (ไฟโตซินเธไซซ์) ดังนั้นการเกิดขึ้นเป็นปริมาณมหาศาล (การบลูม) ก็จะเกิดขึ้นได้ในบริเวณน้ำตื้น ที่มีแสงส่องถึง ได้มากกว่าบริเวณน้ำลึก
  • อากาศร้อน
    แพลงก์ตอนพืชยังชอบอากาศที่อบอุ่นมากกว่าบริเวณอื่นที่อากาศเย็น จึงไม่แปลกใจเลยที่จะพบปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมในเดือนที่มีอากาศร้อน
  • การไหลของกระแสน้ำ
    สิ่งนี้ยังช่วยให้สารอาหารต่างๆ ในท้องทะเลเข้ากับแสงแดดในกระแสน้ำ ซึ่งยิ่งส่งผลให้แพลงก์ตอนพืชเติบโตเร็ว แต่น้ำนิ่งก็เกิดแพลงก์ตอนบลูมได้ ถ้าหากมีสารอาหารเพียงพอ
  • สภาพอากาศที่เอื้ออำนวย
    พายุก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เกิดแพลงก์ตอนบลูม เพราะช่วยปั่นกระแสน้ำและน้ำสารอาหารขึ้นมาสู่ผิวน้ำ
  • น้ำมือมนุษย์
    แม้ทะเลจะกว้างใหญ่ แต่มนุษย์อย่างเราก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ได้ด้วยการปล่อยสารอาหารลงสู่ทะเล เช่น
    • น้ำปนเปื้อนปุ๋ย
    • น้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
    • น้ำฝนตามท่อที่ชะล้างดินและสารอาหารหลังฝนตกหนัก

น้ำทะเลเขียวจากปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม ที่ชายหาดบนเกาะล้าน เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2566Sanook Regionalน้ำทะเลเขียวจากปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม ที่ชายหาดบนเกาะล้าน เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2566

ผลเสียของแพลงก์ตอนบลูม

แม้การเกิดขึ้นอย่างมหาศาลของแพลงก์ตอนพืชทุกชนิดจะไม่ได้เป็นอันตราย แต่บางชนิดถ้าหากเกิดการบลูมแล้วก็จะผลิตสารพิษออกมาทำร้ายทั้งมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม และอาจส่งผลกระทบได้ดังนี้

  • ผสเสียต่อสุขภาพมนุษย์
    สารพิษที่แพลงก์ตอนบลูมออกมาอาจทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้น้ำเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง ปัญหาทางเดินหายใจ และอาจทำให้ผู้ที่สัมผัสกับน้ำในบริเวณดังกล่าวเสียชีวิตได้
  • ผลเสียต่อสุขภาพสัตว์
    สารพิษจากแพลงก์ตอนบลูม ทำให้ปลา สัตว์น้ำที่มีแปลก และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ตายได้
  • ผลเสียต่อระบบนิเวศ
    หากมนุษย์และสัตว์น้ำตาก็อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร และอาจทำลายระบบนิเวศใต้ท้องทะเลในที่สุด

นอกจากผลเสียต่อสุขภาพคน สัตว์ และระบบนิเวศแล้ว การที่เกิดแพลงก์ตอนบลูมถี่ขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็ชี้ได้ว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลกำลังเพิ่มขึ้นและสภาพอากาศกำลังปั่นป่วนจากภาวะโลกร้อน การเกิดแพลงก์ตอนบลูมก็ชี้ได้ว่าธรรมชาติกำลังเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาคการเกษตร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์

น้ำทะเลชายหาดเกาะล้าน เมืองพัทยา จ.ชลบุรี กลายเป็นสีเขียว เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2566 จากปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมSanook Regionalน้ำทะเลชายหาดเกาะล้าน เมืองพัทยา จ.ชลบุรี กลายเป็นสีเขียว เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2566 จากปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมแนวทางควบคุมแพลงก์ตอนบลูม

อย่างไรก็ตาม แพลงก์ตอนบลูมก็มีวิธีการป้องกันหรือควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นถี่เกินไปหลายวิธี เช่น

  • ลดการปล่อยสารอาหารลงสู่ทะเล
    วิธีนี้ทำได้โดยการลดการใช้ปุ๋ยหรือพื้นที่เกษตร บำบัดน้ำเสียให้ถูกต้อง และการจัดการน้ำฝนที่ตกลงมา
  • ให้ความรู้ต่อสาธารณชน
    ทุกคนควรตระหนักรู้ถึงอันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากแพลงก์ตอนบลูม และวิธีการปกป้องตัวเองและครอบครัว
  • เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ
    การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ทราบว่ามีปัญหาใดที่จะเกิดขึ้นได้ เพื่อจะได้ลงมือป้องกันไม่ให้เกิดแพลงก์ตอนบลูม
  • วิจัยเพื่อหาเทคโนโลยีใหม่
    ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการควบคุมผลเสียจากแพลงก์ตอนบลูม เช่น การใช้แบคทีเรียในการลดสารพิษจากแพลงก์ตอนสายพันธุ์อันตราย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ