แพทย์ไขความจริง แม่เฒ่าวัย 107 "เขางอก" กลางหน้าผาก อาจไม่ใช่สัญลักษณ์ "อายุยืน"

Home » แพทย์ไขความจริง แม่เฒ่าวัย 107 "เขางอก" กลางหน้าผาก อาจไม่ใช่สัญลักษณ์ "อายุยืน"
แพทย์ไขความจริง แม่เฒ่าวัย 107 "เขางอก" กลางหน้าผาก อาจไม่ใช่สัญลักษณ์ "อายุยืน"

ฮือฮา เขางอกบนหัวอาม่าวัย 107 ชี้เป็นสัญลักษณ์อายุยืน แต่แพทย์เฉลยความจริงน่ากังวล

กลายเป็นเรื่องฮือฮา หลังจากมีการเผยแพร่ภาพหญิงชราซึ่งมีเขางอกออกมาบนศีรษะ ชาวเน็ตต่างบอกว่าเป็น “สัญลักษณ์แห่งการมีอายุยืนยาว” อย่างไรก็ตาม อดีตศัลยแพทย์ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าเธอเป็นโรคผิวหนัง แนะนำครอบครัวพาไปตรวจที่โรงพยาบาล

ตามรายงานพบว่า คลิปวิดีโอของ “คุณยายเฉิน” หญิงชราวัย 107 ปี ที่อาศัยอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ซึ่งมีเขางอกอยู่บนศีรษะ ถูกเผยแพร่ลงโลกออนไลน์ และทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนในหมู่ชาวเน็ต ผู้โพสต์เล่าว่าคุณยายมีเขาบนศีรษะมาหลายปีแล้ว แต่ก็ไม่มีอาการเจ็บหรือคันใดๆ ดังนั้นหลายคนจึงยกย่องให้เป็น “สัญลักษณ์แห่งการมีอายุยืนยาว” อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช้กรณีแรกที่เกิดขึ้น และมีคำอธิบายของแพทย์ที่ควรรู้

โดย “ไป๋อี้ ชานเหมา” อดีตศัลยแพทย์ในมณฑลเจ้อเจียง ได้ออกมาโพสต์ถึงกรณีดังกล่าวลงบน Weibo โดยให้ข้อมูลว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่งอกบนศีรษะของหญิงชราคือโรคผิวหนังที่เรียกว่า เนื้องอกออกมาจากผิวหนังคล้ายเขาสัตว์ มีขนาดและรูปร่างต่างกันในแต่ละคน โดยส่วนมากมักจะเกิดในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี และที่น่ากลัวคือมันมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ จึงแนะนำให้ครอบครัวพาหญิงชราไปตรวจที่แผนกโรคผิวหนังของโรงพยาบาล และผู้เชี่ยวชาญจะประเมินว่าจำเป็นต้องผ่าตัดออกหรือไม่

เช่นเดียวกับล่าสุดที่ทางด้าน “หยวน หยงโหมว” รองหัวหน้าแพทย์ของโรงพยาบาลป้องกันและรักษาผิวหนังอู่ฮั่น กล่าวว่า เขาบนศีรษะของคุณยายเฉินเป็นโรคทางผิวหนัง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพัฒนาบนพื้นฐานของโรคผิวหนังอื่นๆ รวมถึงหูดและสิวที่เกิดจากเชื้อแปปิโลมา หรือเอชพีวี (HPV)  ในมนุษย์ หรือเซลล์มะเร็งสความัส ฯลฯ ซึ่งสัมพันธ์กับแสงแดดบ่อยๆ ก็มีแนวโน้มที่จะมีเขาที่ผิวหนังมากขึ้น โดยมักปรากฏบนใบหน้า ศีรษะ คอ แขน และหลังมือ แต่ส่วนอื่นของร่างกายก็สามารถปรากฎได้เช่นกัน

ทั้งนี้ คุณหมอยังแนะนำด้วยว่า ควรป้องกันตัวเองจากแสงแดด และหากพบอาการที่ผิดปกติควรไปโรงพยาบาลทันที เพื่อตรวจสอบลักษณะของโรค หากผลการตรวจไม่รุนแรงสามารถผ่าตัดนำเขาออกได้ แต่หากเป็นเนื้อร้ายต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม ส่วนจะงอกขึ้นมาใหม่หลังถอนออกหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและความลึก

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ