เรียกได้ว่าเป็นภาพที่ชาวโซเชียลแห่แชร์หนักมาก หลังจากที่อาจารย์ท่านหนึ่งได้ออกมาแชร์รูปภาพกระดาษคำตอบของนักศึกษา โดยโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เอกพงษ์ สารน้อย โดยอาจารย์นั้นได้ระบุข้อความ “ตรวจข้อสอบกลับถูกคำตอบสะกดจิต” ลายมือสวยแต่อาจารย์ถอดรหัสไม่ออก 55+ แต่อ่านได้ครับและนักศึกษาก็ตอบได้ดี ซึ่งลายมือที่ว่านั้น เป็นการเขียนที่เป็นระเบียบเรียบร้อยมาก แต่กลับอ่านยากเพราะลักษณะของตัวอักษร หัวค่อนข้างโต และเบียดกัน ซึ่งเป็นการตอบคำถามว่า ความหมายของคำว่ารัฐ และ อธิบายความสำคัญของกฎหมายมหาชน ซึ่งหลายๆคนที่อ่าน อาจจะปวดตาตามอาจารย์ก็เป็นได้ วันนี้ ทีมข่าวไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) จะขออาสาทำการแปลคำตอบของนักศึกษารายนี้ให้ได้ทราบกันค่ะ
จงอธิบายความหมายของคำว่ารัฐ
รัฐ คือ รูปแบบของสังคมมนุษย์ที่สมบรูณ์กว่าในอดีตรัฐเป็นที่อยู่ร่วมกันของอำนาจและเสรีภาพระหว่างผู้ปกครอง กับผู้ใต้ปกครองซึ่งเป็นวิวัฒนาการของอารยธรรมตะวันตก
1.ความหมายอย่างกว้าง : อำนาจสาธารณะและการจัดระบบปกครองรัฐจึงเปรียบเสมือนเป็นโครงหรือเครื่องหุ้มห่อทางกฎหมายของปรากฏการณ์ทางสังคมวิทยา
2.ความหมายเฉพาะ : กลุ่มของมนุษย์ที่จัดตั้งอย่างมั่นคงโดยที่ภายในนั้นมีการผูกขาดอำนาจข่มขู่บังคับความมั่นคง เป็นผลมาจากการครอบครองเขตดินแดนและรัฐ แต่ผู้เดียวที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตดินแดนในระหว่างประชาชน ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้ประชาชนอยู่อย่างสันติแม้ว่าจะไม่สามารถทำให้อยู่อย่างชนิดปรองดองกันได้อย่างดีก็ตาม
- เปิดลีลา! ‘พิธา’ ตอบกระทู้สด นักศึกษาเกาหลี ประเด็น #แบนเกาหล
- คุณพ่อ หมอกฤตไท เพจสู้ดิวะ ขอส่งสารถึง นายกฯเศรษฐา ปม ฝุ่น PM 2.5
- เปิดประวัติ ‘จิตต์จรุง สิทธิพันธุ์’ คุณแม่ของ ‘ชัชชาติ’ ผู้ว่าฯ กทม.
จงอธิบายความสำคัญของกฎหมายมหาชน
“การพัฒนาทางด้านการเมือง” วัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการรักษาสิทธิเสรีของประชาชนการกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ของการใช้อำนาจรัฐ การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมิให้กระทำละเมิดต่อประชาชนและการแสวงหาอำนาจผลประโยชน์ในทางมิชอบ
“การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ” รัฐธรรมนูญมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนทางการเมืองเศรษฐกิจ ถ้ากฎกติกาของรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความชอบธรรมสามารถขับเคลื่อนการบริหารการปกครองประเทศไปด้วยความสงบเรียบร้อยสร้างความมั่นคงในด้านต่างๆ
“การพัฒนาด้านสังคม” รัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองทั้งกฎหมายมหาชนอื่นๆมีบทบาททำให้มีการกระจายอำนาจไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตน ทั้งตลอดจนในด้าน “การพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ” และ “การพัฒนาระบบศาลทั้งศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง”