
แบบนี้ก็ได้เหรอ! เพจกฎหมายยกกรณี นายจ้าง ให้ปรับปรุงการทำงาน ให้เขียนใบลาออก ชี้ งานดีจะฉีกทิ้ง ศาลพิพากษา ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565 ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก กฎหมายแรงงาน หยิบยกกรณีของลูกจ้าง และ นายจ้าง โดยระบุว่า นายจ้างแจ้งว่าให้ปรับปรุงการทำงาน และให้เขียนใบลาออกเอาไว้ โดยนายจ้างให้เหตุผลว่า “ถ้าปรับปรุงผลงานดีแล้ว เป็นที่พอใจแล้วจะฉีกใบลาออกทิ้ง” ซึ่งลูกจ้างก็หลงเชื่อตามที่นายจ้างแจ้งให้เขียนใบลาออก
- โรคจิตไหม? หนุ่มขอแมวจรไปเลี้ยง ก่อนทักมาบอกว่าน้องตายเพราะกินทรายแมว!
- สาเหตุที่โกง! ตาของฟลุ๊ครับเปิดบัญชีม้า เผย หลานถูกโกงก่อนเลยทำเช่นนี้
- เพจสายไหมต้องรอด ลั่นคดี รับเปิดบัญชีม้า เอี่ยว เฮียก. เว็บพนันรายใหญ่
ซึ่งทางด้านลูกจ้างเองไม่ได้มีประสงค์ หรือเจตนาที่จะลาออก ตามที่ได้เขียนใบลาออกเอาไว้ เนื่องจากเข้าใจผิดว่านายจ้างมีเจตนาทำให้ลูกจ้างปรับปรุงผลงานตามที่แจ้งจริง

เรื่องนี้ ศาลพิพากษาว่า พฤติการณ์ของนายจ้างถือว่าเป็นการเลิกจ้างลูกจ้าง เนื่องจากนายจ้างเห็นว่าลูกจ้างเงินเดือนสูงกว่าลูกจ้างคนอื่นในระดับเดียวกัน ไม่มีเหตุที่ลูกจ้างจะลาออกไปทำงานใหม่ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว และปัจจุบัน (วันที่ศาลพิพากษา) ลูกจ้างก็ยังไม่มีงานใหม่ทำ และไม่มีความประสงค์จะลาออก
– นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย ค่าชดเชย พร้อมดอกเบี้ย –
ข้อสังเกต
๑) คดีนี้จะถือว่าลูกจ้างเจตนาที่จะลาออกอันทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เพราะ “เจตนา” ที่แท้จริง ลูกจ้างไม่มีเจตนาที่จะลาออก เจตนาที่แท้จริงของลูกจ้างคือเข้าใจว่านายจ้างต้องการให้ปรับปรุงการทำงาน
๒) การที่นายจ้างหยิบเอาหนังสือลาออก ซึ่งเป็นเอกสารที่ไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงมาใช้ โดยลูกจ้างต่อสู้คดีให้ศาลเห็นถึงจำนวนเงินเดือนที่สูง รวมถึงเหตุอื่น ๆ ประกอบว่าไม่มีเหตุอะไรที่ลูกจ้างจะลาออก ย่อมใช้ประกอบเจตนาของลูกจ้างได้ และศาลก็รับฟังว่าลูกจ้างไม่มีเจตนาที่จะลาออกจริง
๓) เมื่อสิ่งที่นายจ้างอ้างว่าเป็นการลาออก ไม่ใช่การลาออกเสียแล้ว การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานย่อมเป็นการเลิกจ้าง และคดีนี้ลูกจ้างก็จัดเต็มฟ้องทุกข้อหา ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างแทนการบอกกลาวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และเรียกดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวด้วย
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY