การที่ประเทศไทยอุณหภูมิขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องนั้น เสี่ยงที่จะทำให้เกิด โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมร้อน มากที่สุด เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิความร้อนสูงมาก โดยเฉพาะที่มากกว่า 40 องศาเซลเซียส จนทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ จะมีอาการ คือ ตัวร้อน วิงเวียน ปวดมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ภาวะขาดน้ำ เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นแรง เป็นลม เรียกง่ายๆ ว่า ฮีทสโตรก นั้นเอง และอีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยต้องพยายามหลีกเลี่ยงคือการสวมเสื้อผ้าสีเข้ม เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการดูดซับเเสงที่ไม่เท่ากัน โดยสีเข้มนั้นจะดูดซับเเสงได้ดีเกือบทั้งหมด มากกว่าเสื้อผ้าสีอ่อน
- “โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก“ ภัยร้ายช่วงหน้าร้อน
- โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด
- กรมควบคุมโรค แนะกลุ่มเสี่ยง-ทำงานกลางแจ้ง ป้องกัน “ฮีทสโตรก” เลี่ยงสวมเสื้อผ้าสีเข้ม พักผ่อนในที่ร่ม ดื่มน้ำสะอาดและเกลือแร่
ทาง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกแนะนำ วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือ โรคลมร้อน สำหรับคนที่ทำงานกลางแจ้ง ควรเลี่ยงการสวมชุดที่มีสีเข้ม ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ เข้าพักในที่ร่มเป็นระยะ และหากสูญเสียเหงื่อมาก ควรดื่มเครื่องดื่มประเภทเกลือแร่ เน้นย้ำโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด เป็นต้น อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมถึง เด็กและหญิงตั้งครรภ์ ต้องระมัดระวังเช่นกัน
วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรก
ในเมื่อเราอยู่ในประเทศเขตร้องจึงต้องเรียนรู้อาการและ วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรก เพื่อจะช่วยเหลือผู้คนได้อย่างทันท่วงที ซึ่งอาการและวิธีการป้องกันนั้น ไม่ซับซ้อนสามารถทำได้ง่ายๆ ในไม่กี่ขั้นตอน
- อาการของโรคลมแดด
- ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
- ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
- หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
- ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
- อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน
- การป้องกันโรคลมแดด
- ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายอากาศได้ดี
- ใช้ครีมกันแดด SPF 15 และไม่ควรทาครีมกันแดดหนาจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด หรือ การเล่นกีฬาในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
- งดเครื่องดื่มแอลกฮอล์
- ถ้าหากพบเห็นผู้มีอาการ โรคลมร้อน สามารถเข้าไปช่วยปฐมพยาบาลเบื้อต้นได้ดังนี้
- รีบนำเข้าที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน
- ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบ
- ใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด
- หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
สามารถติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่ถูกต้องของ กระทรวงสาธารณสุข ได้บนเว็บไซต์ สสส (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)