แจ้งฤดูฝนปีนี้หนักแน่ เตรียมรับมือ อุทกภัย-วาตภัย เร่งช่วยปชช.ก่อนข่าวออน

Home » แจ้งฤดูฝนปีนี้หนักแน่ เตรียมรับมือ อุทกภัย-วาตภัย เร่งช่วยปชช.ก่อนข่าวออน


แจ้งฤดูฝนปีนี้หนักแน่ เตรียมรับมือ อุทกภัย-วาตภัย เร่งช่วยปชช.ก่อนข่าวออน

ตราด ผู้ว่าฯ ชำนาญวิทย์ แจ้งประชุมเตรียมรับมือ อุทกภัย วาตภัย ปีนี้ฝนตกชุกหนาแน่น จี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดเหตุต้องช่วยประชาชนโดยด่วน ก่อนสื่อนำเสนอข่าว

30 พฤษภาคม 2565 – ห้องพลอยแดง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดตราด นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม ปี 2565 โดบมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองท้องถิ่น ร่วมประชุม

นายชำนาญวิทย์ แจ้งในที่ประชุมว่า ด้วยกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ด่วนที่สุด แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัดว่ากรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย ปี 2565 ว่าฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ จะเริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม

โดยช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน จะเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทย บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่

โดยสัปดาห์ทีผ่านมา เกิดวาตภัยขึ้นที่ ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ ทำให้บ้านเรือนเสียหายไป 12 หลังคาเรือน ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะพบว่า จ.ตราด เริ่มมีฝนตกหนัก และมีลมพายุรุนแรง จึงต้องระวังเตรียมการป้องกัน และให้ความช่วยเหลือประชนที่อาจจะได้รับผลกระทบ

นายชำนาญวิทย์ กล่าวว่า เมื่อเกิดเหตุขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องดำเนินการรายงานและช่วยเหลือประชาชนโดยด่วน ก่อนที่นักข่าวจะรายงานข่าวออกมา ต้องทำงานแข่งขันกับนักข่าวด้วย ทุกหน่วยมีโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ทันที

ส่วนของข้อมูลที่เกิดอุทกภัย และวาตภัย ในรอบ 3 ปี นั้น ทาง ปภ.ตราด ขอให้จัดรายงานมาและวิเคราะห์สถานการณ์พื้นที่ที่เกิดซ้ำซาก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์และคำนวนจะสามารถแก้ไขได้ ซึ่งอำเภอที่เกิดซ้ำซากคือ อ.เมือง เช่นที่ ต.ชำราก ต.ตะกาง อ.เขาสมิง ที่ ต.สะตอ ต.ประณีต และ อ.บ่อไร่ ที่ ต.บ่อพลอย เป็นต้น

นายชำนาญวิทย์ ได้สั่งการอีกว่า ช่วงนี้จะต้องตรวจสอบคูคลองในพื้นที่ที่มีพื้นที่เสี่ยงและยังไม่ได้ขุดลอกจะต้องเร่งดำเนินการขุดลอกให้เร็ว จะได้ระบายน้ำได้เร็ว ส่วนการที่จะมีก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองสะตอ และอ่างเก็บน้ำคลองแอ่งนั้นยังใช้เวลาอีกหลายปี

จึงควรจะพิจารณาพื้นที่รับน้ำและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จึงต้องรับรู้สถานการณ์เหล่านี้ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำคิรีธารหากมีฝนตกลงมา 100 มม. หรือ 200 มม. และ 300 มม. แล้วจะเกิดผลกระทบอย่างไรจึงจะแก้ไขและป้องกันได้ และเมื่อเกิดผลกระทบจะต้องเข้าไปฟื้นฟูหลังสถานการณ์คลี่คลาย

ขณะที่ประตูน้ำเขาสมิง ต.เขาสมิง จ.ตราด ที่กั้นแม่น้ำเขาสมิง ได้ดำเนินการปล่อยน้ำในทุกบาน เพื่อระบายน้ำออกไปยังไปแม่น้ำตราด ออกทะเลอ่าวตราด เนื่องจากที่ผ่านมา ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเขาสมิงหน้าที่เทศบาล ต.เขาสมิง มีระดับลดลงอยู่ในระดับที่ปลอยภัย เนื่องจากปีที่ผ่านมา เกิดน้ำท่วมถึงพื้นที่เทศบาล มีบ้านเรือนกว่า 300 หลังคาเรือนได้รับผลกระทบ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ