วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 มีรายงานการแจ้งข่าวประชาชน จาก นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขภายใต้ “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือ “บัตรทอง” รัฐบาลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมุ่งดำเนินการเพื่อประโยชน์บริการรักษาพยาบาลและสาธารณสุขที่จำเป็นให้กับประชาชนผู้มีสิทธิอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน แต่โอกาสที่จะเกิดภาวะไม่พึงประสงค์จากการรับบริการย่อมเกิดขึ้นได้ จึงต้องมีมาตรการรองรับเพื่อสร้างความมั่นใจต่อการเข้ารับบริการและเป็นการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ป่วยหากเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ขึ้น ขณะเดียวกันยังช่วยลดความขัดแย้งและการฟ้องร้องระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการในระบบสุขภาพได้
รายละเอียด อัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือ
นายคารม กล่าวว่า รัฐบาล โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำหนดประเภทความเสียหายและอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือ เบื้องต้นเป็น 3 กรณี คือ
1.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท
2.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการ เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท
3.กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีระยะเวลา ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย
- โฆษกฯ แจง ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และ เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใช่มติ ครม.
- one night stand ต้องดู สาวป่วย HIV เที่ยวผับ แพร่เชื่อให้ชายมา 7 เดือน
- เปิดคำพูดสุดซึ้งในงานแต่ง หมอกฤตไท จากเพจ สู้ดิวะ ทำเอาบ่อน้ำตาแตก
ขั้นต้อนวิธีขอรับเงินช่วยเหลือ
ผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินชดเชยได้ที่ หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมถึง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ในจังหวัดที่เกิดเหตุ) หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13 หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5) “ศูนย์สิทธิบัตรทอง” และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมที่ สายด่วน สปสช. โทร 1330
บัตรทอง คืออะไร แล้วมีสิทธิอะไรบ้าง
“บัตรทอง” มีอีกชื่อหนึ่งว่า “บัตรสวัสดิการถ้วนหน้า” คือ บัตรที่ทางสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติออกให้ คนไทยทุกคนได้ใช้ในการรักษาพยาบาลพื้นฐานต่าง ๆ ยกเว้นว่าจะมี “สิทธิประกันสังคม” หรือ “บัตรข้าราชการ” อื่น ๆ โดย สิทธิในการรักษา จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านบริการสาธารณสุข อาทิเช่น
- บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
- การตรวจวินิจฉัยโรค
- การตรวจและรับฝากครรภ์
- การบำบัดและการบริการทางการแพทย์
- ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์
- การทำคลอด
- การกินอยู่ในหน่วยบริการ
- การบริบาลทารกแรกเกิด
- บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย
- บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
- บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
- บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
- การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
- การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุและการประสบภัยจากรถยนต์
- การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY