ช็อกทั้งบ้าน ชายต้องตัดแขนขวา หมอชี้ “ข้อผิดพลาด” ตอนทำอาหาร เล็กน้อยแต่ร้ายแรง!
ตามการเล่าของครอบครัวของ “คุณจาง” อายุ 52 ปี ประมาณหนึ่งเดือนก่อน เขาซื้อปลามาทำอาหารและบังเอิญโดน “ก้างปลาทิ่ม” เข้าที่นิ้วมือขวาจนเลือดออก เนื่องจากแผลเล็กและเจ็บเพียงเล็กน้อย เขาจึงไม่ได้สนใจมากนัก แต่ในวันถัดมาอาการเจ็บแผลรุนแรงขึ้น และมือบวมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ครอบครัวจึงพาเขาไปโรงพยาบาล ขณะที่อาการของคุณจางแย่ลงอย่างรวดเร็ว ส่วนของผิวหนังที่นิ้วมือเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำแพทย์ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย Vibrio vulnificus ในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่แผลและเนื้อเยื่อที่เน่าเสีย และเนื่องจากอาการรุนแรง จึงต้องตัดนิ้วที่มีการเน่าทิ้งเพื่อทำการรักษา
แพทย์อธิบายว่า “ตอนที่เข้ารับการรักษา ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อที่แผล สถานการณ์การติดเชื้อมีความซับซ้อนจนส่งผลกระทบต่อการทำงานของหลายอวัยวะ เช่น ตับ ไต และมีอาการเลือดแข็งตัวผิดปกติ… สถานการณ์ของผู้ป่วยค่อนข้างวิกฤต ผู้ป่วยต้องตัดนิ้วที่เน่าเสียออก และได้รับการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบบวงกว้างรวมถึงการฟอกเลือดหลังจากผ่าตัดด้วย”
อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อของผู้ป่วยยังคงลุกลามไปที่แขนขวา แพทย์จึงต้องตัดแขนขวาเพื่อรักษาชีวิตของคุณจาง หลังจากการรักษาเป็นเวลา 10 วัน อาการวิกฤตของเขาผ่านไป แต่ยังต้องทำการฟอกเลือดต่อเนื่อง เนื่องจากการทำงานของไตยังไม่ฟื้นตัว
แพทย์ชี้สาเหตุของการติดเชื้อ
แพทย์กล่าวว่า อาจจะเป็นไปได้ว่าปลาที่ผู้ป่วยใช้ทำอาหารมีการติดเชื้อ เมื่อถูกก้างปลาทิ่มนิ้วมือจนเลือดออก แต่ผู้ป่วยไม่ได้ทำความสะอาดแผลอย่างถูกต้อง ความผิดพลาดนี้ทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านแผล และทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง
Vibrio vulnificus เป็นแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค มักพบในน้ำทะเลอุ่นตามชายฝั่ง และสามารถพบในสัตว์ทะเลบางชนิดที่อยู่ในน้ำที่มีมลพิษ เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายของคนได้เมื่อทานอาหารทะเลสดหรือที่ยังไม่สุกดี หรือผ่านทางแผลเปิดเมื่อสัมผัสกับสัตว์ทะเลหรือน้ำที่มีเชื้อ ดังเช่นกรณีของคุณจาง
แพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านแผล จะทำให้เกิดอาการเช่น แผลร้อนแดง บวม เจ็บ ผิวหนังบริเวณแผลมีการเปลี่ยนสี และมีหนองไหลออกจากแผล รวมถึงอาการทางระบบทางเดินอาหารเช่น ท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และไข้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจมีอาการติดเชื้อในกระแสเลือด, ช็อคจากการติดเชื้อ, การล้มเหลวของอวัยวะหลายส่วน และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
แพทย์แนะนำวิธีป้องกันการติดเชื้อเมื่อทำอาหารทะเล ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ 3 ข้อ ดังนี้
1. ควรสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อทำอาหาร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการบาดเจ็บ
2. ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำอาหารทะเล ควรล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำไหลหรือล้างด้วยสบู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วินาที หลังจากนั้นควรทำการฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์หรือไอโอดีน และปิดแผลให้มิดชิด
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเลสด หรืออาหารทะเลที่ยังไม่สุกดี เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
สุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญย้ำว่าเมื่อพบอาการผิดปกติในร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เชื่อถือได้เพื่อทำการตรวจสอบและหาสาเหตุของโรคอย่างทันท่วงที
- ชายวัย 53 ต้องตัดขาหลัง “อาบน้ำอุ่น” หมอชี้จุดพลาด ย้ำป่วยเบาหวานยิ่งต้องระวัง
- ป่วยสโตรกทั้งบ้าน ลูกอายุน้อยได้ความดันแถม เตือนอย่าใช้ “น้ำมันปรุงอาหาร” แบบนี้!!!