เฮลั่น! สพฐ.ปรับแนวทาง ‘ลดการบ้าน’ มุ่งเน้นให้เด็ก เรียนดี มีความสุข

Home » เฮลั่น! สพฐ.ปรับแนวทาง ‘ลดการบ้าน’ มุ่งเน้นให้เด็ก เรียนดี มีความสุข
ลดการบ้านปก

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประกาศ ‘ลดการบ้าน’ เพื่อลดภาระครู และมุ่งเน้นให้เด็ก เรียนดี มีความสุข

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศ “แนวทางการมอบหมายการบ้าน” ตามนโยบาย ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และ ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) โดยมีเอกสารประกาศว่า

ด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิตชอบ) ได้ประกาศนโยบาย การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 – 2568 ด้วยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัย ได้รับการพัฒนาในทุกมิติ โดยน้นให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จากทุกภาคตามคำกล่าว “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” และกำหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดและในกำกับ ของกระทรวงศึกษาธิการนำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย คือ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง

ในการนี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียน และผู้ปกครอง สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำแนวทาง “การลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้” สำหรับครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางในการมอบหมายการบ้านแก่ผู้เรียนให้มีความเหมาะสม และใช้การบ้าน เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้และประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อีกทางหนึ่ง

จึงเห็นควรแจ้งให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตเน้นย้ำให้สถานศึกษาในกำกับ ดำเนินการให้การมอบหมายการบ้าน แก่นักเรียนเป็นไปอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุด

นอกจากนั้นยังมีการประกาศแนวทางการปรับลดการบ้านอีกด้วย โดยมีหลักการ ดังนี้

1.ลดการบ้าน/ภาระงานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำนอกห้องเรียนหรือที่บ้าน โดยเน้นให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมให้เสร็จในห้องเรียน

2.มอบหมายการบ้านเฉพาะวิชาที่เป็นทักษะที่จำเป็น เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ โดยสามารถให้การบ้าน ให้เหมาะสมได้เท่าที่จำเป็น โดยเน้นการบ้านที่ส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น

3.บูรณาการการบ้านทั้งภายในรายวิชาเดียวกันและข้ามรายวิชา โดยให้เป็นชิ้นงาน/ภาระงานเดียว ตามความเหมาะสมธรรมชาติวิชา เพิ่มการเรียนรู้ปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนคิด ปฏิบัติผ่านสถานการณ์จริง ส่งเสริมกระบวนการคิดการแสวงหาความรู้ (Active Learning) ลดเวลาการสอนของครูในห้องเรียนให้น้อยลง โดยเพิ่มเวลาให้นักเรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

แนวปฏิบัติ “ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้”

1.มอบหมายการบ้านให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็นตามจุดเน้นการเรียนรู้ เพื่อให้การบ้านมีความสำคัญและฝึก หรือทบทวนอย่างมีเป้าหมาย รวมทั้งกำหนดแนวทางการตรวจสอบผลการเรียนรู้จากคุณลักษณะหรือ พฤติกรรม ของผู้เรียน เพื่อทดแทนการสอบด้วยแบบทดสอบอย่างเหมาะสม และตามความจำเป็น

2.ตรวจสอบปริมาณการบ้านของนักเรียนรายห้องเรียน เพื่อให้การมอบหมายการบ้านมีความเหมาะสมกับระยะเวลาที่ใช้ทำการบ้านของนักเรียนแต่ละวัย

3.บูรณาการเนื้อหาการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกันทั้งภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อทำให้เวลาเรียนในห้องเรียนลดลงร้อยละ 10 – 20 นักเรียนมีเวลาในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจมากขึ้น

4.วางแผนกำหนดช่วงเวลาให้การบ้าน และการสอบ เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงความทับซ้อน ทั้งด้านปริมาณและ ระยะเวลาที่ใช้ในการทำการบ้าน การสอบ ตลอดจนพิจารณาความเหมาะสมตามพัฒนาการของนักเรียนแต่ละช่วงวัย

5.ออกแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้มีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกันระหว่างช่วงเวลาที่นักเรียนเรียนรู้ที่โรงเรียนและบ้าน ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่เป็นแนวคิดหรือหลักการ จำเป็นต้องใช้การทำความเข้าใจและการอธิบายเพิ่ม ควรเป็นช่วงเวลาที่เด็กเรียนในห้องเรียน จากนั้นมอบหมายให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องที่บ้านการบ้านที่มอบหมายควรต่อเนื่องกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตัวเอง และมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

7.ลดจำนวนครั้งของการสอบระหว่างเรียน ประเมินเท่าที่จำเป็น โดยเน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงข้อสอบปลายภาค ให้เน้นข้อสอบที่วัดทักษะการคิดชั้นสูง ที่ประกอบด้วยสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์มีข้อคำถามที่ยั่วยุให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเขียนแสดงเหตุผล แนวคิด หรือหลักการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับชั้น

8.จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนศึกษาค้นคว้าที่ หลากหลาย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ส่งเสริมให้นักเรียนคัดสรรผลงานที่แสดงถึงพัฒนาการ และสมรรถนะของนักเรียน ใส่ลงในแพ้มสะสมผลงาน ตามจุดมุ่งหมาย ได้แก่ การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ โดยอาจดำเนินการในรูปแบบสื่อดิจิทัล เช่น วิดีทัศน์ ภาพถ่าย เพลง เป็นต้น

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ