อุ่นอาหารในไมโครเวฟ ต้องปิดหรือเปิดฝากล่องอาหาร เฉลยแล้วร้องเอ๊าาาา หลายคนทำผิดมาตลอด
ในปัจจุบันนี้เมื่อพูดถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว สิ่งที่แทบทุกครอบครัวต้องมีคงหนีไม่พ้น “ไมโครเวฟ” อย่างแน่นอน หน้าที่หลักคือการอุ่นอาหารและเครื่องดื่ม อาหารบางจานไม่จำเป็นต้องปรุงบนเตาด้วยซ้ำ เพียงแค่นำใส่ในไมโครเวฟก็ยดขึ้นเสิร์ฟบนโต๊ะอาหารของครอบครัวได้เลย
ด้วยการใช้งานข้างต้น เตาไมโครเวฟจึงช่วยประหยัดเวลาและแรงในการปรุงอาหาร อย่างไรก็ตาม หลังจากใช้ไมโครเวฟมาเป็นเวลานาน ผู้ใช้หลายคนยังคงมีข้อกังวลอยู่ประการหนึ่งคือ “เวลาใส่อาหารในไมโครเวฟ ควรปิดหรือเปิดฝาชามอาหาร?”
- เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญให้คำตอบได้!
คำตอบสำหรับคำถามที่ถูกกล่าวถึงข้างต้นคือ “คุณควรปิดฝากล่องและชามอาหาร” ก่อนนำเข้าอุ่นร้อนในไมโครเวฟ สิ่งนี้ได้รับการยืนยันผ่านบทความในเว็บไซต์ Tasting Table ของสหรัฐอเมริกา โดยมีเหตุผลหลายประการด้วยกัน แต่สิ่งแรกที่สังเกตง่ายที่สุดย่อมเกี่ยวข้องกับสุขอนามัย ช่วยรักษาความสะอาดภายในเครื่อง และจำกัดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่จำเป็น
ผู้เขียนบทความระบุว่า “คงไม่มีใครชอบการเปิดไมโครเวฟและพบว่าเต็มไปด้วยเศษซากอาหารที่กระจัดกระจายอยู่ เพราะส่วนผสมบางอย่างเมื่อโดนความร้อนอาจระเบิดข้างในไมโครเวฟได้ ดังนั้น ฝาปิดจึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ”
เหตุผลที่สองที่ผู้เชี่ยวชาญอธิบาย ความจำเป็นของการปิดกล่องอาหารและชามเมื่อนำเข้าไมโครเวฟ สัมพันธ์กับคุณภาพของจานนั้น จากข้อมูลจาก Today อาหารที่ไม่ถูกผิดฝาครอบเมื่ออุ่นด้วยไมโครเวฟ อาจส่งผลต่อความคงตัว ความลื่นไหล ความชื้น และทำให้อาหารแห้ง รวมถึงการกระจายความร้อนภายในจานอาหารด้วย
“สิ่งที่สังเกตง่ายที่สุดเมื่อแปรรูปอาหารในไมโครเวฟโดยไม่มีฝาปิดหรือห่ออาหาร อาหารจะสูญเสียความชุ่มฉ่ำและแห้งได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การปิดฝาก็จะช่วยให้อาหารทั้งจานอุ่นได้ทั่วถึงและมีรสชาติดีขึ้น ” ผู้เขียนบทความในTodayกล่าวเสริม
ดังนั้น สรุปได้ว่า… เมื่อต้องการอุ่นอาหารในไมโครเวฟ ผู้ใช้ควรปิดกล่องอาหารและชามไว้จะดีกว่า ทั้งนี้ หากเป็นฝาพลาสติกหรือพลาสติกห่ออาหาร อย่าลืมต้องตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อดูว่าสามารถใช้ในไมโครเวฟที่อุณหภูมิสูงได้หรือไม่ ที่สำคัญคือ ไม่ควรนำโฟมหรือกล่องพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเข้าไมโครเวฟเด็ดขาด!!!
- ฝาประตูไมโครเวฟ หลังใช้งานแล้วควร “ปิด” หรือ “เปิด” เรื่องนี้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด!
- รู้หรือไม่? มีวิธีแยก “น้ำแข็ง” ก้อนไหนทำมาจากน้ำต้ม-น้ำกรอง ดูด้วยตาเปล่าก็รู้ทันที!