กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนให้ระวังการเก็บเห็ดป่ามาปรุงอาหาร เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกลงมาหลายพื้นที่ ทำให้เห็ดหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งมักพบได้บริเวณพื้นที่สวน พื้นที่ป่าธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งเห็ดกินได้ และ เห็ดพิษ เมื่อเห็ดอยู่ในระยะดอกตูม จะมีความคล้ายคลึงกันมาก อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และนำเห็ดพิษมาปรุงประกอบอาหารได้ เห็ดที่ขึ้นในป่า มีลักษณะคล้ายกันจนบางครั้งไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นเห็ดที่กินได้หรือ เห็ดพิษ และเมื่อ กินเห็ดพิษ เข้าไป จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หากไม่แน่ใจหรือสงสัยว่าเป็นเห็ดพิษไม่ควรนำมาปรุงอาหาร
- “แม่หมอไอซ์แมรี่เจน” ทำนายดวงศาสตร์พม่า 7 วันเกิด เช็กเลย!
- “หมออาร์ต” ชี้ 6 ราศี การงาน การเงิน โชคลาภโดดเด่น
- “อาจารย์กิติคุณ” ชี้ 6 ปีนักษัตร ชีวิตที่ติดขัด จะกลับขมาไหลลื่น
ล่าสุด เพจ หมอแล็บแพนด้า ได้โพสต์ภาพพร้อมระบุว่า “อย่ากินเห็ดที่ไม่รู้จักนะครับ เข้ารพ.กันรัวๆ เลย ไปเผลอเก็บเห็ดพิษมากิน ตายได้เลยนะ ตอนนี้มีผู้ป่วยที่มารักษาอาการด้วยเห็ดพิษเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ล่าสุดก็มีผู้เสียชีวิตที่ จ.เลย เพราะช่วงหน้าฝนแบบนี้เห็ดจะออกเยอะมาก โดยเฉพาะเห็ดอ่อนที่ดอกมันยังตูมๆ หน้าตามันจะคล้ายๆ กันหมด ดูไม่ออกเลยว่าอันไหนเป็นเห็ดมีพิษหรือเห็ดไม่มีพิษ อย่างเห็ดไข่หงส์ ที่บางคนนึกว่าเห็ดเผาะ หรือเห็ดระโงกหิน ที่หน้าตาคล้ายกับเห็ดระโงกขาว
15 เห็ดมีพิษที่ห้ามกิน
- เห็ดระโงกเหลืองก้านต้น
- เห็ดกระโดงตีนตัน
- เห็ดคล้ายเห็ดโคน
- เห็ดข่า
- เห็ดขี้ควาย
- เห็ดตอมกล้วยแห้ง
- เห็นระโงกหิน
- เห็ดไข่
- เห็ดมันปูใหญ่
- เห็ดดอกกระถิน
- เห็ดแดงก้านแดง
- เห็ดเผาะ (มีราก)
- เห็ดขี้วัว
- เห็ดไข่หงษ์
- เห็ดโคนส้ม
เห็ดพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต
- เห็ดระโงกพิษ หรือบางที่เรียกว่าเห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก เห็ดไข่ตายซาก ซึ่งเห็ดชนิดนี้คล้ายคลึงกับเห็ดระโงกขาว ที่กินได้แต่มีลักษณะต่างกัน คือ เห็ดระโงกพิษ รอบขอบหมวกไม่มีรอยขีด ผิวก้านเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ถุงหุ้มโคนรูปถ้วยแนบติดกับโคนก้าน เมื่อผ่าก้านดูจะมีลักษณะตัน
- เห็ดถ่านเลือด มีลักษณะคล้ายกับเห็ดถ่านเล็กที่กินได้ ขนาดดอกจะเล็กกว่า และไม่มีน้ำยางสีแดงส้ม
- เห็ดเมือกไครเหลือง ที่ประชาชนมักสับสนกับเห็ดขิง ซึ่งชนิดที่เป็นพิษจะมีเมือกปกคลุมและมีสีดอกเข้มกว่า
- เห็ดหมวกจีน มีความคล้ายกับเห็ดโคนที่กินได้ เป็นต้น
วิธีที่ผิด!! ในการทดสอบความเป็นพิษของเห็ด ห้ามทำตาม!!
- นำมาล้างน้ำผสมเมล็ดข้าวสาร หากเมล็ดข้าวสารไม่เปลี่ยนสีถือว่าเป็นเห็ดที่กินได้ แต่ถ้าเมล็ดข้าวสารเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว หรือสีเหลือง จะเป็นเห็ดที่มีพิษกินไม่ได้
- ต้มเห็ดพิษกับข้าวหรือหอมแดงแล้วจะทำให้ข้าวเปลี่ยนสี
- จุ่มช้อนหรือตะเกียบเงินเครื่องเงินแล้วจะทำให้เงินเป็นสีดำ
***ทั้งนี้ วิธีการเหล่านี้เป็นความเชื่อ ไม่สามารถใช้ทดสอบความเป็นพิษของเห็ดได้ เห็ดบางชนิดโดยเฉพาะเห็ดระโงกพิษที่มีสารที่ทนต่อความร้อน แม้จะนำมาทำให้สุกแล้วก็ไม่สามารถทำลายพิษได้ หากพบ “เห็ด ไม่รู้จัก ไม่แน่ใจ ไม่เก็บ ไม่กิน” เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากรับประทานเห็ดพิษ
ให้รับประทานผงถ่านกัมมันต์เพื่อดูดซ้บพิษ ไม่แนะนำทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยการล้วงคอเพราะทำให้เสียเวลาและเกิดแผลในช่องคอได้ หรือให้ทานไข่ขาวอาจเกิดการติดเชื้อได้ ให้รีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการกินเห็ดพร้อมกับสุรา เพราะถ้าเกิดรับประทานเห็ดที่เป็นพิษเข้าไป ฤทธิ์จากแอลกอฮอล์จะทำให้พิษนั้นแพร่กระจ่ายในร่างกายไปอย่างรวดเร็ว
ที่มา กรมควบคุมโรค , หมอแล็บแพนด้า