เรื่องนี้ควรรู้! เติมน้ำมันผิดประเภท ต้องทำอย่างไร?

Home » เรื่องนี้ควรรู้! เติมน้ำมันผิดประเภท ต้องทำอย่างไร?

เติมน้ำมันผิด-min (1)

ตั้งสติ! วันนี้ ไบรท์ทูเดย์ (BrightTV) จะมาแชร์สิ่งที่ควรทำ เมื่อรู้ว่า เติมน้ำมันผิดประเภท เพื่อป้องกันความเสียหายของเครื่องยนต์

เติมน้ำมันผิดประเภท ต้องทำอย่างไร? เนื่องจากในปัจจุบันน้ำมันเชื้อเพลิงมีหลายประเภท ชื่อเรียกก็ค่อนข้างที่จะคล้ายกันอีกด้วย หากเติมผิดชีวิตเปลี่ยนเลยนะคะ เพราะการเติมน้ำมันผิดประเภทจะทำให้เครื่องยนต์พังเสียหายได้ และในกรณีที่พนักงานเป็นคนเติมให้ผิด จะทำอย่างไร? เราไปดูกันค่ะ

  • ข่าวดีคนรักสัตว์! รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ อนุญาติให้พาสัตว์เลี้ยงขึ้นขบวนได้
  • จีนบุก! เปิดปั้มน้ำมันในไทย ชื่อ Sinopec Susco เตรียมขยาย 100 สาขา
  • ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า ตอนฝนตก เป็นอันตรายหรือไม่?

เมื่อเติมน้ำมันผิด ต้องทำอย่างไร?

รู้ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์

  1. ปิดสวิตช์กุญแจห้ามสตาร์ทรถยนต์โดยเด็ดขาด เพราะน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมผิดจะถูกปั๊มดูดเข้าไปในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงทันที
  2. แจ้งพนักงานปั๊มให้ติดต่อช่างมาดูดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมผิดออกจากถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้หมด
  3. เติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้องลงไปในถังให้พอสตาร์ทติด เช่น 5-10 ลิตร
  4. บิดสวิตช์กุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์จนเครื่องยนต์ติดแล้วปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานที่รอบเดินเบา ประมาณ 850+/-50 รอบต่อนาที (ดูเข็มวัดรองบนหน้าปัด-แบบดิจิตอล) และห้ามเร่งรอบเครื่องยนต์โดยเด็ดขาด
  5. สังเกตดูว่ามีไฟเตือนต่างๆ โชว์บนหน้าปัดหรือไม่ (ถ้าปกติจะไม่มีรูปอะไรโชว์เลย)
  6. เปิดสวิตช์อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มภาระของเครื่องยนต์ให้มากขึ้น เช่น แอร์ไฟแสงสว่างทั้งหมดหรือหมุนพวงมาลัยซ้ายสุด-ขวาสุด และให้สังเกตอาการของเครื่องยนต์ เช่น สั่นสะเทือนหรือมีแนวโน้มจะดับหรือไม่
  7. เลื่อนคันเกียร์ไปตำแหน่งขับเคลื่อน “D” หรือเหยียบคลัตช์เข้าเกียร์ 1 สำหรับเกียร์ธรรมดา พร้อมเหยียบคันเร่งให้รถเคลื่อนที่
  8. ขับรถที่ความเร็วรอบต่ำไปสักระยะหนึ่งรอจนกว่าเครื่องยนต์ทำงานปกติแล้วจึงเพิ่มความเร็วรอบของเครื่องยนต์และรถยนต์ได้อย่างปกติ

รู้หลังสตาร์ทเครื่องยนต์

  1. ให้ปิดสวิตช์กุญแจดับเครื่องยนต์ทันที
  2. แจ้งพนักงานปั๊มให้ติดต่อช่างมาดูดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมผิดออกจากถังทั้งหมด
  3. ถอดและเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงลูกใหม่
  4. ถอดหัวฉีด (ดีเซลหรือเบนซิน) และหัวเทียน (เบนซิน) ล้างทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
  5. ถอดปั๊มหัวฉีดเครื่องยนต์ดีเซลส่งไปร้านเทสปั๊มหัวฉีดดีเซล (เครื่องยนต์เบนซินไม่มี)
  6. ถอดฝาสูบเครื่องยนต์ เช็กความบิดเบี้ยว (ฝาโก่ง) ก้านวาล์ไอดี-ก้านวาล์วไอเสียคดหรือไม่ (อาจจะต้องเปลี่ยนฝาสูบและก้านวาล์วทั้งไอดีและไอเสีย)
  7. หลังจากจัดการข้อ 4-6 เรียบร้อยแล้วให้ประกอบเข้ากับเครื่องยนต์แล้วเติมน้ำมันเชื้อเพลิงใส่ในถังประมาณ 5-10 ลิตร
  8. เติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้องลงไปในถังให้พอสตาร์ทติด เช่น 5 -10 ลิตร
  9. บิดสวิตช์กุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์จนเครื่องยนต์ติดแล้วปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานที่รอบเดินเบา ประมาณ 850+/-50 รอบต่อนาที (ดูเข็มวัดรองบนหน้าปัด-แบบดิจิตอล) และห้ามเร่งรอบเครื่องยนต์โดยเด็ดขาด
  10. สังเกตดูว่ามีไฟเตือนต่างๆ โชว์บนหน้าปัดหรือไม่ (ถ้าปกติจะไม่มีรูปอะไรโชว์เลย)
  11. เปิดสวิตช์อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มภาระของเครื่องยนต์ให้มากขึ้น เช่น แอร์ไฟแสงสว่างทั้งหมดหรือหมุนพวงมาลัยซ้ายสุด-ขวาสุด และให้สังเกตอาการของเครื่องยนต์ เช่น สั่นสะเทือนหรือมีแนวโน้มจะดับหรือไม่
  12. เลื่อนคันเกียร์ไปตำแหน่งขับเคลื่อน “D” หรือเหยียบคลัตช์เข้าเกียร์ 1 สำหรับเกียร์ธรรมดา พร้อมเหยียบคันเร่งให้รถเคลื่อนที่
  13. ขับรถที่ความเร็วรอบต่ำไปสักระยะหนึ่งรอจนกว่าเครื่องยนต์ทำงานปกติแล้วจึงเพิ่มความเร็วรอบของเครื่องยนต์และรถยนต์ได้อย่างปกติ
เติมน้ำมันผิด

สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันความผิดพลาด

  • แจ้งความลงบันทึกประจำวัน ( จำเป็นมากหากทางปั้มแสดงท่าทีปฏิเสธจะไม่รับผิดชอบ )
  • ถ่ายรูปรถที่จอดอยู่กับหัวจ่ายน้ำมันไว้เป็นหลักฐาน
  • ถ่ายรูปบัตรพนักงานเติมน้ำมัน+บัตรประจำตัวประชาชนไว้เป็นหลักฐาน
  • ถ่ายรูปใบอนุญาตปั้มหรือชื่อสาขาปั้มนั้นๆไว้เป็นหลักฐาน
  • โทรแจ้งประกันภัยรถยนต์ (หากมี) เมื่อเจ้าหน้าที่ประกันภัยมาถึง แจ้งดำเนินการเอาผิดและดำเนินการขั้นตอนประกันเพื่อเคลมค่าเสียหายกับทางปั้มนั้นๆ
  • เมื่อรถถึงศูนย์ ให้เจ้าหน้าที่เช็คระบบให้ละเอียด ประเมินความเสียหาย ศูนย์จะแจ้งกลับไปยังประกันภัยรถยนต์เอง ( ใช้เวลา 4-5 วัน ) แต่หากท่านต้องใช้รถด่วน ทางศูนย์จะใช้เวลา 1 วัน ในการล้างถังและเช็คระบบ จากนั้นทางศูนย์รถจะออกใบเรียกเก็บค่าเสียหายให้ไปเก็บกับปั้มคู่กรณี
  • หลังจากนำรถออกจากศูนย์รถ ให้หมั่นสังเกตการทำงานของรถ หากเกิดอะไรผิดปกติ นำกลับเข้าศูนย์ทันที โดยยังอยู่ในความรับผิดชอบของปั้มคู่กรณี ( ระยะเวลาใบเคลม 1 ปี )

กรณีเครื่องยนต์ดีเซลเติมน้ำมันเบนซิน

1. มีควันดำออกมาจากท่อไอเสียมากกว่าปกติเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ สะดุด และเครื่องยนต์ดับได้ในที่สุด
2. มีปัญหาในการสตาร์ทเครื่องใหม่ ไม่สามารถสตาร์ทรถยนต์ได้
3. หัวฉีดเกิดการฉีดน้ำมันเข้าห้องเผาไหม้แล้วเกิดการลุกไหม้เร็วจนเกินไปทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
และดับทันที
4. อุปกรณ์ของระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเสียหาย เช่น ไส้กรองน้ำมันดีเซล ปั๊มหัวฉีดแรงดันสูง และหัวฉีดดีเซล

กรณีเครื่องยนต์เบนซินเติมน้ำมันดีเซล

  1. จะทำให้หัวฉีดอุดตัน (น้ำมันดีเซลมีค่าความหนืดมากกว่าเบนซิน) หัวฉีดฉีดไม่เป็นฝอยละออง จึงทำให้หัวเทียนจุดประกายไฟแล้วเผาไหม้ได้ยากทำให้เครื่องยนต์ดับ
  2. ไส้กรองเบนซินอุดตัน หัวฉีดฉีดไม่เป็นฝอยละอองและเขี้ยวหัวเทียนมีคราบเขม่าจับมาก
  3. เครื่องยนต์จะมีเสียงดังขณะที่คุณกำลังเร่งความเร็ว อัตราการเร่งเครื่องยนต์ช้ากว่าปกติ และไม่สามารถทำความเร็วได้ดี
  4. ระบบแสดงไฟเตือนเครื่องยนต์ปรากฎขึ้น และส่งผลให้เครื่องยนต์ดับได้ในที่สุดไม่สามารถสตาร์ทรถใหม่ได้

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดการเติมน้ำมันผิดประเภท

  • ตั้งสติ! ในการบอกน้องๆ ผู้คุมหัวจ่ายว่าเราต้องการน้ำมันชนิดใด ประเภทใด ชื่ออะไร เอาให้ชัด! ด้วยความที่ชื่อน้ำมันเชื้อเพลิงในปัจจุบันคล้ายคลึงกันอย่างที่บอกไปข้างต้น อย่าลืมจำชื่อน้ำมันเชื้อเพลิงที่คุณจะเติมให้แม่นยำ และบอกน้องๆ ผู้คุมหัวจ่ายอย่างชัดเจนด้วยนะครับ
  • เช็กให้ชัวร์! ด้วยการหันกลับไปสังเกตน้องๆ ผู้คุมหัวจ่ายสักนิดว่าคว้าหัวจ่ายน้ำมันถูกประเภทหรือไม่
  • ตรวจสอบดูใบเสร็จเพื่อเช็กรายละเอียดการเติมน้ำมันให้เรียบร้อย หากเกิดปัญหาในการเติมน้ำมันจะได้มีหลักฐานไปยืนยันในการแก้ไข

ถึงแม้เหตุการณ์การเติมน้ำมันผิดประเภท อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ก็ไม่ควรละเลย หรือชะล่าใจ บางครั้งด้วยความเคยชิน หรือเกิดอาการเผลอ อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นได้

เติมน้ำมันผิดประเภท

ที่มา ปตท. , Pacharagkorn Nilgaew

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ