สืบเนื่องจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.การคลัง นำคณะตั้งโต๊ะแถลง “ปรับหนี้นอกระบบ” และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ คืนศักดิ์ศรี สร้างความมั่นคงให้กับคนไทยทุกคน
โดยวันนี้ (1 ธ.ค. 66) ได้เปิดให้ ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ โดยลูกหนี้สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ หรือโทรไปที่ศูนย์ดำรงธรรม หรือ ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในอำเภอต่างๆ หรือ ตามสำนักงานเขตทุกแห่งใน กทม.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส.
ธ.ก.ส.พร้อมดำเนินนโยบายดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้เกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ผ่านโครงการ หนี้นอกบอก ธ.ก.ส. พร้อมเสริมองค์ความรู้และศักยภาพในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและยืนได้อย่างมั่นคง
เงื่อนไขการเข้าร่วม
- หนี้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
- เป็นผู้ที่มีความสามารถสร้างรายได้ทางการเกษตรและหรือรายได้จากทางอื่นเพียงพอต่อการชำระหนี้
- กรณีลูกค้าที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กำหนดให้มีทายาทหรือ บุคคลในครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน เป็นลูกหนี้ร่วม
- หลังจากลงทะเบียนแล้วธนาคารจะติดต่อกลับตามช่องทางการติดต่อที่ได้ให้ไว้
ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ที่นี่ https://informaldebt.baac.tech
- ‘ทักษิณ’ นอนรพ. ครบ 100 วัน ‘อุ๊งอิ๊ง’ ไม่ทราบ ได้รับพระราชทานอภัยโทษ
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนธันวาคม 2566 ส่งท้ายปี ใช้อะไรได้บ้าง
- นายกฯ ถึงกลับ รับไม่ได้! ขึ้นค่าไฟเป็น 4.68 บาท ลดได้แค่ 4 เดือน
เอกสารที่จำเป็น
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน / ที่อยู่ที่ติดต่อได้
- เบอร์โทรศัพท์
- ภาระหนี้นอกระบบทั้งหมด
การเตรียมวงเงินสินเชื่อเบื้องต้นกว่า 1,000 ล้านบาท ภายใต้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา “หนี้สินนอกระบบ” ด้วยสินเชื่อเพื่อ ชำระหนี้สินนอกระบบ วงเงินสูงสุด ไม่เกิน500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR + 3 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.975) ระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน10 ปี พิเศษไม่เกิน 12 ปี
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สป.กษ.) สนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน เพื่อสงวนรักษาที่ดินจากการจำนอง ขายฝาก หรือใช้ที่ดินเป็นประกันหนี้และพัฒนาอาชีพ วงเงินสูงสุด 2.5 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี หากผู้กู้ชำระหนี้ดีอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี อัตราดอกเบี้ยจะลดเหลือร้อยละ 4 ร้อยละ 3 และร้อยละ 2 ต่อปีตามลำดับ ระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 20 ปี