5 ก.ย. 2565 พ.ร.บ.จราจรทางบกฉบับใหม่ที่ 13 หรือ กฎหมายจราจรใหม่ 2565 เป็นวันแรกของการบังคับใช้ พ.ร.บ.จราจรทางบก โดยราชกิจจานุเบกษาระบุเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายและการจัดระเบียบการจราจรทางบกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์แก่ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยและสวัสดิภาพของประชาชน ซึ่งผู้ขับขี่ใช้รถใช้ถนนต้องใส่ใจและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรทางบกฉบับใหม่นี้อย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนมีโทษหนัก ทั้งจำ ทั้งปรับซึ่งมากกว่ากฎหมายฉบับเดิมหลายเท่า
- สงสัย! ลุงวี ขอทานหลังโก่ง รายได้เป็นแสน พิการจริงหรือเป็นนักยิมนาสติก
- ต้นทุนเป็นเหตุ!! All Cafe ประกาศชัด ขึ้นราคาเครื่องดื่ม 5บาททุกรายการ
- กลับไปนอน! เด็กน้อยวิ่งกลางถนนขอ แตรสามช่า พลเมืองดีเตือนระวังรถชน
กฎหมายจราจรใหม่ 2565
- อัตราโทษปรับที่เป็นปัจจัยต่อการเกิดอุบัติเหตุ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการสูญเสียของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทาง
- ขับรถเร็วเกินกำหนด ปรับไม่เกิน 4,000 บาท โทษเดิม ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 4,000 บาท โทษเดิม ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท โทษเดิม ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท โทษเดิม ปรับไม่เกิน 500 บาท
- ไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท โทษเดิม ปรับไม่เกิน 500 บาท
- ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท โทษเดิม ปรับไม่เกิน 500 บาท
- ขับขี่โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ที่นั่งนิรภัยหรือเบาะนั่งในรถยนต์สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 ขวบ
สำหรับที่นั่งนิรภัยนี้ ยังไม่เริ่มบังคับใช้ในวันที่ 5 กันยายน แต่จะบังคับใช้เมื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดทำประกาศและลงประกาศให้ทราบในราชกิจจานุเบกษา
สำหรับเรื่องที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี หรือคาร์ซีท สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับ กรมการขนส่งทางบก สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนนประชุมเพื่อกำหนดมาตรฐาน/ลดอัตราภาษีของที่นั่งนิรภัย และวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่ไม่สามารถใช้ที่นั่งนิรภัยได้ เพื่อจัดทำประกาศเรื่องการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กให้แล้วเสร็จภายใน 4 ธันวาคม 2565 เรื่องที่นั่งนิรภัยนี้ยังไม่เริ่มบังคับใช้ในวันที่ 5 กันยายน 2565 แต่จะบังคับใช้เมื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำประกาศและลงประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษา ต่อไป อย่างไรก็ตามการออกประกาศนั้นผ่านการรับฟังความเห็นอย่างรอบด้าน และต้องทำอย่างรอบคอบ
- การรัดเข็มขัดนิรภัย
- รถที่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถตู้
- รถกระบะ ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยในที่นั่งตอนหน้า กรณีเป็นรถกระบะสองตอน (4ประตู) ผู้โดยสารตอนหลัง ต้องรัดเข็มขัดนิรภัย ด้วย
หากฝ่าฝืนไม่รัดเข็มขัดดังกล่าวข้างต้นต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
สำหรับการนั่งบริเวณแคป หรือนั่งท้ายกระบะ สามารถนั่งได้โดยไม่ต้องรัดเข็มขัดนิรภัย แต่ต้องนั่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในลักษณะที่ปลอดภัย และผู้ขับขี่ต้องขับขี่ด้วยความเร็วตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด
** ประกาศกำหนดดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 4 ธันวาคม 2565 **
- เพิ่มโทษ แว้น ซิ่ง แข่งรถในทาง กฎหมายจราจรใหม่
“ความผิดฐานพยายามแข่งรถ” กำหนดเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ร่วมกลุ่มหรือมั่วสุมในทางหรือสาธารณสถานใกล้ทาง พร้อมด้วยรถตั้งแต่ 5 คันขึ้นไป หากมีเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- นัดหมายเพื่อแข่งรถกันมาก่อน
- รถที่รวมกลุ่มมีการดัดแปลง/ปรับแต่งรถที่มีสภาพไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
- มีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดอันแสดงให้เห็นว่าจะทำการแข่งรถในทาง
ถือว่า “พยายามแข่งรถในทาง” ต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง (การแข่งรถในทาง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
“เพิ่มโทษสำหรับผู้จัด ชักชวน” และกำหนดโทษใหม่สำหรับผู้โฆษณา ประกาศ ชักชวน ให้มีการแข่งรถ โดยอัตราโทษเดิม จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพิ่มเป็นโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 10,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“กำหนดโทษใหม่สำหรับร้านรับแต่งรถ” เมื่อรถนั้นถูกนำไปใช้แข่งรถในทาง ต้องรับโทษในฐานะผู้สนับสนุน คือ ต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง (การแข่งรถในทางระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- เมาแล้วขับ
เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน ลดการเกิดความสูญเสียจากอุบัติเหตุเนื่องจาก “เมาแล้วขับ” กฎหมายใหม่เพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ
- กระทำผิดครั้งแรกจะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000.-บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- หากทำผิดซ้ำภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กระทำความผิดครั้งแรก เพิ่มอัตราโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000 – 100,000.-บาท
ทั้งนี้ ศาลจะลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ (มาตรา 160 ตรี/1 และมาตรา 160 ตรี/3)
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY