เริ่มแล้วงาน "อว.แฟร์" โชว์พลังวิทยาศาสต์และเทคโนโลยี 11 – 13 กรกฏาคม ที่ ม.บูรพา

Home » เริ่มแล้วงาน "อว.แฟร์" โชว์พลังวิทยาศาสต์และเทคโนโลยี 11 – 13 กรกฏาคม ที่ ม.บูรพา
เริ่มแล้วงาน "อว.แฟร์" โชว์พลังวิทยาศาสต์และเทคโนโลยี 11 – 13 กรกฏาคม ที่ ม.บูรพา

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าจัดงานต่อครั้งที่ 4 “อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค” ภาคกลาง ภาคตะวันออก ระหว่างวันที่  11 – 13 กรกฎาคม 2567 ณ ณ หอประชุมธำรง บัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ชูไฮไลท์ 6 โซนกิจกรรม ตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมโชว์ศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม**

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   ( อว.)  มอบหมายให้ นางสาววราภรณ์ รุ่งตระการ ที่ปรึกษาด้านระบบบริหาร การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค” ภาคกลาง ภาคตะวันออก ระหว่างวันที่  11 – 13 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมธำรง บัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยเป็นการต่อยอดความสำเร็จจาก อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ

และภาคใต้ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 – 22 มิถุนายน, วันที่ 27 – 29 มิถุนายน และ วันที่ 4 – 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจนวัตกรรม หรือสตาร์ทอัพไทย ให้เติบโตและแข่งขันได้ในระดับโลก ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมมากมายที่ตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งออกเป็น 6 โซนหลัก ได้แก่

 

1. โซน Inspiration by Science ปลุกจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก เพลิดเพลินไปกับการเรียนรู้ และสนุกไปกับวิทยาศาสตร์ พร้อมสัมผัสประสบการณ์สุดล้ำน่าตื่นเต้นไปกับ AR / VR และโดม Immersive Art ระเบิดจินตนาการสุดสนุกสนาน Financial Boardgame เกมเสริมทักษะทางการเงิน สำหรับเด็กอายุ 8 ปีขึ้นไป

โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้แบบ Learning by Playing และเกมหุ่นยนต์วิ่งทะลุกระดาน (Trader Hunter) เรียนรู้เรื่องพื้นฐานการลงทุนในหุ้นสามัญ ความสำคัญของการกระจายความเสี่ยง กลไกที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้น เป็นต้น

2. โซน Science for Lifelong Learning  พบกับบูธ Up skill Re skill และ New skill สำหรับอนาคต  อาทิ  

“วิทยาศาสตรบัณฑิต (ปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ)”

Skill Transcript เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นิสิตเห็นภาพรวมทักษะที่ได้พัฒนา เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับอาชีพในอนาคต และสามารถวางแผนพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันยังช่วยให้สถาบันการศึกษาสามารถปรับปรุงหลักสูตรให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างแท้จริง

การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราด้วยระบบคลังปัญญาดิจิทัลที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อรองรับหลักสูตรฐานสมรรถนะและการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลพลิกผัน

“เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของผลงานและการต่อยอดเทคโนโลยี แป้งอัดแข็งที่มีแป้งเท้ายายม่อมเป็นส่วนประกอบและกรรมวิธีการผลิต”

 

เครื่องสำอางจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสมุนไพรไทย” เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของผลงานและการต่อยอดเทคโนโลยีนวัตกรรมการสกัดสาระสำคัญในสมุนไพรท้องถิ่นเพื่อใช้ในการตั้งตำรับหรือออกแบบนวัตกรรม

ที่สามารถนำมาต่อยอดในการดำเนินธุรกิจเครื่องสำอางทั้งด้านการดูแลผิวพรรณและการตกแต่งใบหน้า เช่น กันแดดรูปแบบแท่ง เซรั่มแฮโทนิค และลิปสติกเปลี่ยนสีตามค่า pH เป็นต้น

 

“แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิต BUU Lifelong Learning” มหาวิทยาลัยมีระบบแพลตฟอร์มที่ครบวงจร รองรับทั้งหลักสูตรที่ใช้จัดการเรียนการสอนเดิมอยู่แล้ว รายวิชา หลักสูตรระยะสั้น MOOCs ได้ มีความพร้อมที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบคลังหน่วยกิตของกระทรวง อว. รายวิชา BUU MOOCS แบ่งออกเป็นกลุ่มวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จำนวน 31 รายวิชา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 8 รายวิชา และด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพจำนวน 9 รายวิชา

“หลักสูตร sandbox” คือแนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้:

  1. ความยืดหยุ่นในการออกแบบหลักสูตร: สถาบันการศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
  2. การบูรณาการระหว่างสาขาวิชา: เปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ข้ามศาสตร์และสาขาวิชาได้มากขึ้น
  3. ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม: ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนในการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน
  4. การเรียนรู้แบบ Project-based และ Experiential Learning: เน้นการเรียนรู้ผ่านโครงงานและประสบการณ์จริง
  5. ความคล่องตัวในการปรับปรุงหลักสูตร: สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาและรูปแบบการเรียนการสอนได้รวดเร็วตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด

แนวคิดนี้มีจุดประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

 

 โซน Startup Launchpad พบกับ นิทรรศการแสดงสินค้านวัตกรรมจากผู้ประกอบการรุ่นใหม่สาย deep tech อัพเดทเทคโนโลยีฝีมือคนไทย และกิจกรรมการประกวดแข่งขันไอเดียธุรกิจนวัตกรรมล้ำสมัย

โซน Science for Exponential Growth ได้รวบรวมบริการและกลไกสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีให้เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยแพลทฟอร์มอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และกลไกสนับสนุนของกระทรวง อว

5.โซน Science for All Well-being จะมีการแสดงสินค้าและบริการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น บริการโดรนเพื่อการเกษตรและการพัฒนาธุรกิจ สินค้านวัตกรรมรองเท้าเพื่อสุขภาพ และสินค้านวัตกรรมดักจับฝุ่น

6.โซน Science for Future Thailand  รวมเอาเทคโนโลยีสุดล้ำ ผลงานวิจัยที่พร้อมต่อยอดเป็นนวัตกรรมล้ำค่าในอนาคต การเสวนาด้าน AI และเทคโนโลยีในอนาคต

“ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงาน “อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค” ภาคใต้  โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระหว่าง วันที่ 11 – 13 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมธำรง บัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ