เพศศึกษา ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องน่าอายอีกต่อไป ยิ่งในยุคสมัยนี้ เด็กมีพัฒนาการที่รวดเร็ว สื่อและสิ่งยั่วยุมากมาย พ่อแม่ควรปลูกฝังให้ลูกรู้จักเพศของตนเองตั้งแต่ยังเด็ก รวมถึงให้ลูกได้ถาม – ตอบ ในสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับเพศ โดยไม่โดนดุ แล้วพ่อแม่ ควรเริ่มสอนจากเรื่องไหนก่อนดีหละ? ไปดูกันคะ
- เพศศึกษา101 Anal sex 5 ข้อต้องรู้ก่อนมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
- เพศศึกษา101 เจลหล่อลื่น ช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์จริงหรือไม่?
- เพศศึกษา101 โรคอันตราย! ภาวะช่องคลอดหดเกร็ง เกิดจากอะไร?
เพศศึกษา คืออะไร
เพศศึกษา ไม่ใช่การสอนเรื่องเพศสัมพันธ์ แต่เป็นการให้ความรู้และสอนให้รู้จักบทบาท และคุณค่าความเป็นชายและหญิงในสังคม เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิตและสังคม เพื่อให้บุคคลมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ถูกต้องเรื่องเพศ ตลอดจนการปรับตัวตามพัฒนาการชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ซึ่งในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ผู้หญิงหรือผู้ชายที่จะต้องทำความเข้าใจในเพศศึกษา แต่ยังมีกลุ่ม LGBTQ+ หลากหลายเพศ ก็จะเป็นจะต้องทำความเข้าใจเรื่องเพศด้วยเช่นกัน
ควรสอนเพศศึกษาตั้งแต่เมื่อไหร่
ควรเริ่มสอนและอบรมเพศศึกษาตั้งแต่ยังเด็กเริ่มรู้ความ ถ้าเริ่มในวัยรุ่นถือว่าช้าเกินไป เพราะค่านิยมได้ถูกปลูกฝังไปเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าคุณครูคนแรกที่สอนเพศศึกษาให้กับเด็ก คือ พ่อ แม่ ต่อมาคือหมอเด็ก และเมื่อถึงวัยเรียน ก็คือคุณครู แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เด็กมักจะเรียนรู้จากเพื่อนและสื่อต่างๆ ดังนั้น หากได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เด็กจะมีภูมิคุ้มกันให้กับสิ่งยั่วยุภายนอกได้เป็นอย่างดี สิ่งใดเหมาะสม ไม่เหมาะสมจะสามารถรู้ได้ในระดับหนึ่ง
- เด็กวัยอนุบาล 3 – 5 ปี
- เด็กวัยประถมต้น 6 – 8 ปี
- เด็กวัยประถมปลาย 9 – 11 ปี
- เด็กวัยมัธยมต้น 12 – 14 ปี
- เด็กวัยมัธยมปลาย 15 – 17 ปี
ต้องสอนอะไร?
ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณะสุขมี 7 ด้าน คือ
- พัฒนาการทางเพศ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศตามวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
- สุขอนามัยทางเพศ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจและความสามารถดูแลสุขภาพอนามัยทางเพศได้ตามวัย เช่น การดูแลรักษาอวัยวะในระบบสืบพันธ์ อนามัยการเจริญพันธ์ ความเข้าใจต่างๆในเรื่องเพศ
- พฤติกรรมทางเพศ หมายถึง การแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับเพศและวัย
- สัมพันธภาพ หมายถึง การสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลในสังคม การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศเดียวกันและต่างเพศ การเลือกคู่ การเตรียมตัวก่อนสมรส และการสร้างครอบครัว
- ทักษะส่วนบุคคล หมายถึง ความสามารถในการจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษาะการปฏิเสธ ทักษะการขอความช่วยเหลือ ทักษาะการจัดการกับอารมณ์ ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเพศ
- สังคมและวัฒนธรรม หมายถึง ค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย การปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉาะจากสื่อที่ยั่วยุต่างๆ
- บทบาททางเพศ หมายถึง การสร้างเอกลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ความเสมอภาคทางเพศและบทบาททางเพศที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมอย่างสมดุล
ที่มา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)