เพจดังเทียบชัด ยารักษาหูด กับ ยานอนหลับ ชี้ ปกติแล้วเก็บแยกกัน

Home » เพจดังเทียบชัด ยารักษาหูด กับ ยานอนหลับ ชี้ ปกติแล้วเก็บแยกกัน

ยารักษาหูด

ยารักษาหูด กับ ยานอนหลับ หลังเกิดเรื่องจ่ายยาผิดจนเด็ก 1 ขวบ “โคม่า” เพจดังเทียบให้ดูแบบชัดๆ แม้ขวดคล้ายกัน แต่ปกติแล้วเก็บแยกกัน

ววันที่ 9 ธันวาคม 2566 จากกรณีที่คุณแม่รายหนึ่งเข้าร้องขอความช่วยเหลือจากเพจ เป็นหนึ่ง หลังจากลูกน้อยวัย 1 ขวบ 4 เดือน ล้มหัวฟาดพื้น เกรงว่าจะได้รับการกระทบกระเทือนสมองจึงพาไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยทางบุคลากรของโรงพยาบาลได้จ่ายยานอนหลับเพื่อเข้าเครื่องสแกน แต่กลับพบว่ายาที่จ่ายให้เด็กกินนั้นเป็น ยารักษาหูด ทำให้เด็กตกอยู่ในอาการโคม่า ซึ่งทางโรงพยาบาลพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และได้ชี้แจงว่า สาเหตุที่จ่ายยาผิดนั้น เกิดจากขวดยาทั้ง 2 ชนิดมีความคล้ายกัน

ยารักษาหูด1

ล่าสุด เพจดังอย่าง Drama-addict ได้มีการน้ำขวดยาทั้ง 2 ชนิดมาเปรียบเทียบให้ดู พร้อมอธิบายว่า ขวดที่ใส่ยาก็มีความคล้ายกัน และจะเห็นว่าขวดยาในข่าว ป้ายชื่อยามันก็เปื้อนไปบางส่วนจนเห็นชื่อยาไม่ครบ มองเผินๆอาจดูผิดได้ แต่ประเด็นคือ ปรกติแล้ว ยาสองตัวนี้ เวลาจัดเก็บในตู้แช่ยา มันอยู่กันคนละโซนกันเลย ปรกติยาใช้ภายนอก กับยากินในตู้แช่จะเก็บแยกกันชัดเจน และตามข่าวพบว่า ตอนที่พยาบาลได้รับมา คืออยู่ไซริงค์ที่เตรียมมาจากห้องยาแล้ว ดังนั้นปัญหาน่าจะมาจากตรงห้องยานั่นแหละ

  • ค่าแรงขั้นต่ำ ปรับขึ้นใหม่ 2567 พื้นที่จังหวัดไหน ได้เท่าไร เช็กเลย
  • ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ นายก เศรษฐา ขึ้นน้อยเกินไป ชี้ ไม่สบายใจอย่างมาก
  • สรุปให้ คดีเจ้าของร้านทองยิงโจรดับ โดนตั้งข้อหายายามฆ่า คดีสิ้นสุดแล้ว

แต่นอกจากห้องยาแล้ว ตามแถลงข่าวคือ พอทางวอร์ดได้ยาในไซริงค์ไป ปรกติเนี่ย เวลาเตรียมยาลงไซริงค์เพื่อเตรียมให้พยาบาลนำไปให้คนไข้ ก็ต้องมีการแปะฉลาก บอกว่ายาอะไร ให้คนไข้คนไหน แต่ในแถลงบอกว่า ไม่มีฉลากที่ว่าแปะอยู่บนไซริงค์ เห็นว่า เพราะฉลากอาจจะเล็กเกินจนแปะไซริงค์ไม่อยู่จนหลุดไป ซึ่งปรกติ ถ้าเป็นแบบนั้น คือไม่มีฉลากแปะบนไซริงค์ ทางพยาบาลก็ต้องมีการโทรไปเช็คกับเภสัชอีกที แต่กรณีนี้มีการรีเช็คมั้ย หรือจ่ายยาให้เด็กเลย ในแถลงบอกว่า กำลังสอบเภสัชคนที่จัดยา หากมีความผิดจริง ก็จะไล่ออก

ยานอนหลับ

โดยส่วนตัวคิดว่า ถ้าเป็นแบบที่แถลงมาจริงๆ ปัญหาน่าจะมากกว่าระดับบุคคล เพราะปรกติ รพ จะมีระบบป้องกันความผิดพลาดในระดับบุคคลไว้ ให้แต่ละ จนท ช่วยกันเช็คข้อผิดพลาดซึ่งกันและกัน แต่อันนี้คือทะลุมาแม่งทุกเซฟตี้เลย ถ้าระดับบุคคล พลาดคนเดียว มันจะไม่เกิดเหตุแบบนี้เลย แต่เมื่อเกิดแล้วมันต้องตรวจสอบหาสาเหตุกันแบบทั้งระบบเลยครับแบบนี้ ซึ่งทางญาติของน้องเขาตั้งข้อสังเกตว่า คนที่จ่ายยา เป็นเภสัชจริงหรือไม่ เพราะตอนไปรับยา คนที่จ่ายให้ ไม่ได้ใส่กาวน์ และปริมาณยาในไซริงค์ ก็ไม่ตรงกับที่หมอจ่าย และไม่มีการแปะฉลากยาในไซริงค์ตั้งแต่ตอนที่ญาติไปรับจากห้องยาแล้ว

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ