เผยภาพ “กาแล็กซีทำอันตรกิริยา” – ซินหัว รายงานจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (นาซา) เปิดเผยว่า “กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล” บันทึกภาพใหม่ของกาแล็กซีที่ทำ “อันตรกิริยาต่อกัน” (Interacting galaxies) และมีความสว่างมากเป็นพิเศษ รู้จักในชื่อ “เอเอ็ม 1214-255” (AM 1214-255)
นาซาเผยว่ากาแล็กซีเหล่านี้ประกอบด้วย “นิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์” (AGN) คือมีบริเวณใจกลางกาแล็กซีที่สว่างมากเป็นพิเศษ โดยความสว่างขั้นสุดเกิดจากการที่สสารหมุนวนเข้าสู่หลุมดำมวลยิ่งยวดใจกลางกาแล็กซี
กล้องฮับเบิลได้เฝ้าสังเกตการณ์กาแล็กซีที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ใจกลางดังกล่าวมากที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจนิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์
มีเป้าหมายรวบรวมชุดข้อมูลเกี่ยวกับนิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อส่งมอบข้อมูลให้คณะนักดาราศาสตร์ค้นคว้าวิจัยด้านฟิสิกส์นิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์ หลุมดำ โครงสร้างกาแล็กซีโฮสต์ (host galaxy) และอื่นๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ฮือฮา! พบเกลียวสีน้ำเงินประหลาดคล้าย “กาแล็กซี” บนท้องฟ้าในฮาวาย (คลิป)
- เผย “แสงวาบรังสีเอกซ์” มีต้นกำเนิดจาก “แมกนีตาร์” ในกาแล็กซีทางช้างเผือก
- นักดาราศาสตร์พบกาแล็กซี “ถั่วลันเตา-บลูเบอร์รี-องุ่น” นอกทางช้างเผือก