เผยชีวิตเด็กชาย ต้องถูก ‘กักตัว’ ตลอดชีวิต จากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

Home » เผยชีวิตเด็กชาย ต้องถูก ‘กักตัว’ ตลอดชีวิต จากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง


เผยชีวิตเด็กชาย ต้องถูก ‘กักตัว’ ตลอดชีวิต จากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ปัจจุบัน ในยุคของโรคระบาดครั้งใหญ่ โควิด-19 ทำให้ทุกคนคงรู้จักและคุ้นชินกับคำว่า ‘กักตัว’ (Quarantine) เป็นอย่างดี มาตรการทั่วโลกออกมายืนยันให้เรากักตัวเป็นระยะเวลา 7 – 14 วัน นั่นก็ทำให้รู้สึกอึดอัดจนทนไม่ไหว แล้วถ้ามีเด็กคนหนึ่งต้องกักตัวตลอดชีวิตของเขาล่ะ จะเป็นอย่างไร

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2514 ราว 51 ปีก่อน เด็กชายคนหนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นในอเมริกา และถูกวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคที่ชื่อว่า “ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหลายอย่างรวมกันแบบรุนแรง (Severe Combined Immunodeficiency)” หรือ “SCID” เด็กคนนั้นชื่อ “เดวิด เวตเตอร์ (David Vetter)”

เมื่อเวตเตอร์เกิด แพทย์ต้องแยกตัวเขาและนำเข้าตู้อบเพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรค พอเริ่มโตขึ้น พ่อแม่ของเวตเตอร์ก็ให้เวตเตอร์อยู่ในฟองอากาศพลาสติก ซึ่งมีเพียงช่องที่ให้พ่อกับแม่ส่งอาหารเข้าไป และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เท่านั้น ถึงจะเติบโตมาอย่างไม่ปกติ เวตเตอร์ก็โตมาอย่างมีความสุข พ่อแม่รัและดูแลเขาเป็นอย่างดี

เวตเตอร์ เมื่ออายุ 1 ขวบ

พ่อแม่ของเวตเตอร์ก็ไม่ได้หยุดในการตามหาวิธีรักษาให้เขา อะไรก็ตามที่สามารถทำให้ลูกออกไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เนื่องจากเวตเตอร์ไม่มีระบบภูมิคุ้มกันเลย เท่ากับว่าเขาป่วยง่ายกว่าคนทั่วไปหลายเท่า ไข้หวัดธรรมดาก็สามารถทำให้เขาตายได้ การที่เวตเตอร์จะออกไปข้างนอก เจอสังคม เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากเขาไม่สามารถจะสัมผัสกับเชื้อโรคได้เลย ต่างจากคนปกติที่มีภูมิคุ้มกัน

นาซ่า (NASA) ซึ่งเป็นองค์กรทางอวกาศชื่อดังและหลายคนรู้จักกันดี จึงยื่นมือเข้ามาช่วยโดยการทำชุดที่คล้ายกับนักบินอวกาศ ทำให้เวตเตอร์สามารถออกไปข้างนอกได้โดยไม่ต้องเสี่ยงกับเชื้อโรค
และทำให้สื่อมวลชนสนใจในตัวของเวตเตอร์ และทำให้เวตเตอร์โด่งดัง ผ่านไปได้สองปี นาซ่าก็ได้ส่งฟองอากาศพิเศษที่ทำให้เวตเตอร์เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น สบายขึ้น หากแต่ยังปลอดภัย และในขณะเดียวกัน ด้วยความที่เวตเตอร์โด่งดัง ทำให้แพทย์จำนวนมากสนใจและอยากจะรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับโรคที่เวตเตอร์เป็น

แพทย์จำนวนมากจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ลงความเห็นว่า หากได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก อาจจะทำให้เวตเตอร์มีอาการดีขึ้น ทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดี และเกิดภูมิคุ้มกัน จากนั้นในปี พ.ศ.2527 เวตเตอร์ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่เมื่อผ่านไปได้สี่เดือน เวตเตอร์ก็เสียชีวิตจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และเรื่องราวของเวตเตอร์ ก็ยังเป็นที่จดจำในฐานะของเด็กชายที่ต้องแยกตัวออกจากสังคม กักตัวตลอดชีวิตของเขา

เวตเตอร์และแม่

 

ที่มา: Timeless History

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ