เผยกลไก “เส้นใยแมงมุม” – ซินหัว รายงานว่า คณะนักวิจัยจีนเปิดเผยผ่านในวารสารเนเจอร์ คอมมูนิเคชันส์ ถึงกลไกลำดับขั้นของการผลิตเส้นใยที่เป็นโครงสร้างหลักของ “ใยแมงมุม” (dragline silk) ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเส้นใยเทียมที่ได้แรงบันดาลใจจากแมงมุม
เส้นใยหลักดังกล่าวมีคุณสมบัติเชิงกลที่ดีและมีศักยภาพการใช้งานเชิงชีวจักรกล แต่ใยแมงมุมธรรมชาติมีจำนวนจำกัด นักวิจัยหลายคนจึงอุทิศงานวิจัยเพื่อศึกษากระบวนการหลั่งและสังเคราะห์เส้นใยชนิดดังกล่าว เพื่อเสาะหาแนวทางการสังเคราะห์เทียม
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซีหนานของจีนนำเสนอจีโนมระดับโครโมโซมของ “แมงมุมโจโร” (Joro spider) ซึ่งมีลำตัวหลากสีสันและถักทอเส้นใยม้วนกลมสีทองขนาดใหญ่ โดยสามารถแปลรหัสออกมาเป็นโปรตีนได้ 37,607 ยีน
โดย “ต่อมแอมพูลาใหญ่” (major ampullate gland) ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของเส้นใยที่เป็นโครงสร้างหลัก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนปลาย ส่วนถุง และส่วนท่อยาว ซึ่งนักวิจัยพบการสังเคราะห์ทางชีวภาพแบบลำดับขั้นของสารหลายประเภท เช่น สไปโดรอิน (โปรตีนหลักในใยแมงมุม) กรดอินทรีย์ และไขมันในพื้นที่ 3 ส่วนดังกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ออสซี่ตะลึงแมงมุมยักษ์ เขี้ยวคมกัดทะลุเล็บ-พิษสงร้ายแรง
- สุดสะพรึง! ชายบริติชพบแมงมุมยักษ์ 8 นิ้ว ผู้เชี่ยวชาญเตือน-อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
- ฟอสซิลเผยความรัก แม่แมงมุมพยายามป้องลูก ในอำพันพม่า99ล้านปี