เปิดโทษ "คดีพรากผู้เยาว์" กฎหมายชี้ แม้เด็กไม่เกิน 18 ปีเต็มใจ ก็เจอคุกเหมือนกัน

Home » เปิดโทษ "คดีพรากผู้เยาว์" กฎหมายชี้ แม้เด็กไม่เกิน 18 ปีเต็มใจ ก็เจอคุกเหมือนกัน
เปิดโทษ "คดีพรากผู้เยาว์" กฎหมายชี้ แม้เด็กไม่เกิน 18 ปีเต็มใจ ก็เจอคุกเหมือนกัน

เป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ สำหรับกรณีของ “ครูไพบูลย์ แสงเดือน” ถูกศาลอุทธรณ์ตัดสินจำคุก 8 ปี ในคดีพรากผู้เยาว์ อดีตภรรยา เอ๋ มิรา ทำให้โซเชียลพูดถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก รวมไปถึงการหยิบยกข้อกฎหมาย “พรากผู้เยาว์” ขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง 

  • “ครูไพบูลย์ แสงเดือน” ศาลอุทธรณ์ตัดสินจำคุก 8 ปี คดีพรากผู้เยาว์ ไม่รอลงอาญา

Sanook สรุปข้อกฎหมายว่าด้วยการพรากผู้เยาว์ ที่อาจไม่สำคัญสำหรับใครหลายคน แต่รู้เอาไว้ก็ไม่เสียหายอะไร

“พรากผู้เยาว์” คืออะไร

พรากผู้เยาว์ คือ การพาหรือแยกเด็กหรือผู้เยาว์ ออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดาไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดา

การพรากผู้เยาว์ถือเป็น “ความผิดทางอาญา” ซึ่งมักจะเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยความผิดฐานพรากผู้เยาว์ที่ขึ้นสู่ชั้นศาลเป็นจำนวนมาก มักเป็นคดีพรากร่วมกับข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา, พาไปเพื่อการอนาจาร, หรือพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย

ความผิดฐานพรากผู้เยาว์

ความผิดฐานพรากผู้เยาว์นั้น ถือเป็นความผิดที่ผู้กระทำได้กระทำต่อเสรีภาพของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นความผิดอาญา ไม่สามารถยอมความได้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้เป็นผู้ฟ้องหรือร้องทุกข์เอาผิดด้วยตัวเอง แต่เข้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถจับตัวผู้กระทำให้มารับโทษได้ ทั้งนี้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 – 319 ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม ความผิดฐานพรากผู้เยาว์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี
  2. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี โดยผู้เยาว์ไม่ได้ให้ความยินยอม
  3. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี โดยผู้เยาว์ได้ให้ความยินยอม

ผู้เยาว์เต็มใจ ก็เจอคุกเหมือนกัน

ในกรณีที่ผู้เยาว์อายุมากกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ยินยอมหรือเต็มใจไปด้วย บุคคลที่คิดจะพรากผู้เยาว์ก็ยังถือว่ามีความผิดและได้รับโทษติดคุกสูงสุด 10 ปี ปรับ 200,000 บาท

ตรงกับกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรค 1 ว่าด้วยการพรากผู้เยาว์มาเพื่อการอนาจาร หรือเพื่อหากำไร ถือเป็นการพรากมาโดยไม่มีเหตุอันควร ผู้กระทำมีความผิดฐาน “พรากผู้เยาว์” ระวางโทษตั้งแต่ 2 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 ถึง 200,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม:

  • “เอ๋ มิรา” เคลื่อนไหวแล้ว! หลังศาลตัดสินจำคุก “ครูไพบูลย์” 8 ปี คดีพรากผู้เยาว์

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ